หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับ SDGs
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับ SDGs
ภาพจากการประกวดภาพถ่าย “ส่งเสริมยุทธศาสตร์ชาติ ด้วยพลังภาพถ่ายที่สร้างสรรค์”
สารคดีเทิดพระเกียรติชุด "สืบสาน รักษา และต่อยอด ตามรอยบาทพระราชา"
ศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและความมั่นคง กองบัญชาการกองทัพไทย จัดทำสารคดีเทิดพระเกียรติชุด “สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามรอยบาทพระราชา”
ตอน หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงตามรอยเท้าพ่อ
ตอน “ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง รร.ต.ช.ด.ค็อกนิสไทยฯ”
ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาก็มีปรากฏอยู่ในการประยุกต์ใช้ SEP ในภาคเกษตร คือ เกษตรทฤษฎีใหม่ ในระยะที่ 3 หลังจากชุมชนมีความเข้มแข็งแล้วจึงขยายความร่วมมือมายังองค์กรภายนอกชุมชน ซึ่งในส่วนนี้ SDGs จะมีความชัดเจนกว่า SEP ในแง่ที่ว่า SDGs ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับเป้าหมายด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อย่างชัดเจนในรายละเอียดของเป้าหมาย (Goals) 17 ประการ และเป้าประสงค์ (Targets) 169 ประการ
นอกจากนี้ SEP ยังช่วยเสริม SDGs ให้เข้มแข็งมากยิ่งขึ้นไปอีกเพราะ SEP ให้หลักการในการดำเนินการเพื่อการบรรลุ SDGs ด้วย โดย SEP ให้หลักในการดำเนินการเอาไว้ว่า
(1) การดำเนินการใด ๆ เพื่อบรรลุ SDGs ต้องอาศัยองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง และคำนึงมิให้มีผลกระทบทางลบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (เงื่อนไขความรู้ และคุณธรรม)
(2) การดำเนินการต้องพิจารณาทางเลือกต่าง ๆ ให้รอบด้าน เห็นเหตุ เห็นผลผลิต ผลลัพธ์และผลกระทบของแต่ละทางเลือก (หลักความมีเหตุผล)
(3) การดำเนินการควรใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพให้พอดีกับการบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ ไม่เกิดของเหลือ เน้นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในครัวเรือนหรือในชุมชนอยู่ก่อนที่จะขยายไปพึ่งพาภายนอก (หลักความพอประมาณ)
(4) การดำเนินการควรเตรียมการเพื่อรองรับกับความเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นได้ (หลักภูมิคุ้มกัน)
(5) การดำเนินการจะบรรลุผลได้หากเริ่มจากการระเบิดจากข้างใน เริ่มจากท้องถิ่นซึ่งในการเริ่มดำเนินการจากท้องถิ่นได้นั้นจะต้องไม่ละเลยมิติวัฒนธรรมท้องถิ่นที่จะช่วยเชื่อมโยงคนในท้องถิ่นกับการพัฒนาได้
ยิ่งไปกว่านั้น SEP ยังช่วยกำหนดเป้าหมายสูงสุดของการพัฒนาที่ยั่งยืนไว้ด้วย คือ การพัฒนาที่สุดท้ายต้องมุ่ง “ความสุข” และ “ประโยชน์สุข” ของสังคม ซึ่งหลักคิดนี้จะช่วยให้การพัฒนาที่เกิดขึ้นมิได้เกิดขึ้นแบบเพียงแค่ให้มี แต่เกิดขึ้นเพื่อให้เกิดความสุขและประโยชน์สุขของสังคมด้วย
ที่มา: SDG Move
ร่วมกันสร้างวิถีพอเพียง
ผลการจัดงานก้าวพอดี (A Bright Leap Forward) Open House การนำใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่สนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
มีผู้เข้าร่วมงาน ประมาณ 1,500 ราย ประกอบด้วย สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติคณะกรรมการมูลนิธิพัฒนาไท คณะอนุกรรมการส่งเสริมความเข้าใจและประเมินผลการพัฒนาที่ยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คณะอนุกรรมการอำนวยการธนาคารสมอง ผู้บริหาร สศช. ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ชุมชนท้องถิ่น/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วุฒิอาสาธนาคารสมอง สถาบันการศึกษาทั้ง โรงเรียน มหาวิทยาลัย ผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ นักเรียน นิสิต/นักศึกษา ประชาชนทั่วไปที่สนใจ เจ้าหน้าที่ สศช. และ มพท. โดยประธานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและ…
ความสำเร็จในการดำเนินงานของบริษัท ประชารัฐรักสามัคคีเชียงใหม่ จำกัด มีดังนี้
1) ชุมชนมีทุนที่มีศักยภาพ ผู้นำชุมชนเข้มแข็ง ประชาชนมีความมุ่งมั่นตั้งใจ มีความสามัคคี ทำงานแบบมีส่วนร่วม
2) มีภาคีเครือข่ายการดำเนินงานที่หลากหลาย ทั้งภายใน และภายนอกชุมชน…
เรื่องเล่าจากพื้นที่
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) บ้านสี่แยกสวนป่า ตำบลวังหิน อำเภอบางขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นหน่วยงานสาธารณสุขที่มุ่งสร้างเสริมสุขภาพมากกว่าการซ่อมแซมสุขภาพ ด้วยการสร้างความรู้ความเข้าใจและให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพของคนในชุมชนในทุกมิติอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งกระตุ้นให้ชาวบ้านตระหนักว่า “ไม่มีใครจะดูแลเราได้ดี เท่ากับตัวเราดูแลตัวเอง” การใช้ชีวิตของประชาชนในปัจจุบัน ทำให้ผู้คนส่วนใหญ่…
พื้นที่ที่ราบหุบเขาใน ต.แม่สลองใน อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ห่างจากชายแดนประเทศสาธรณรัฐเมียนมาร์เพียงแค่ 6 กิโลเมตร มีหมู่บ้านเล็กๆ ของชนเผ่าอาข่าและลาหู่ที่อพยพเข้ามาอาศัยเมื่อปี พ.ศ. 2474 หรือ 88 ปีที่แล้ว คือ บ้านโป่งไฮและบ้านนาโต่ ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร ปลูกชาและพืชไร่ ไม่มีที่ดินเป็นของตัวเอง มีฐานะยากจน ไม่สามารถสื่อสารภาษาไทยได้ ภาครัฐจึงได้จัดตั้งโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบำรุงที่ 112 ที่หมู่บ้านโป่งไฮ และโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านนาโต่ เพื่อทำงานด้านการข่าว และติดต่อประสานงานกับชุมชน…
จากนโยบายสู่การปฏิบัติ

การบรรยายเรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดย น.ส.จินางค์กูร โรจนนันต์ รองเลขาธิการ สศช. ณ สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2563