
เป้าหมายที่ 1 ยุติความยากจนทุกรูปแบบในทุกที่

เป้าหมายที่ 1 ยุติความยากจนทุกรูปแบบในทุกที่
ภาพจากการประกวดภาพถ่าย “ส่งเสริมยุทธศาสตร์ชาติ ด้วยพลังภาพถ่ายที่สร้างสรรค์”
การขจัดความยากจนในทุกรูปแบบยังคงเป็นความท้าทายสำคัญของประชากรโลก แม้จำนวนผู้ที่เผชิญภาวะความยากจนขั้นรุนแรงจะลดลงกว่ากึ่งหนึ่งระหว่างปี 2533 – 2558 แต่ก็ยังมีประชากรอีกกว่า 736 ล้านคนทั่วโลก ในปี 2558 ยังดำรงชีพด้วยเงินน้อยกว่า 1.90 ดอลลาร์ต่อวัน หลายคนยังขาดการเข้าถึงอาหาร น้ำดื่มที่สะอาดและสุขอนามัยที่เพียงพอ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วในประเทศ เช่น จีนและอินเดีย ได้ช่วยยกระดับประชากรออกจากความยากจน แต่ความเติบโตทางเศรษฐกิจก็ยังไม่มีความสม่ำเสมอเท่าใดนัก ประชากรผู้หญิงมีสัดส่วนที่อยู่ในความ ยากจนมากกว่าผู้ชาย เนื่องความไม่เท่าเทียมกันในเรื่องค่าแรง การศึกษา และทรัพย์สิน เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) มุ่งขจัดความยากจน ในทุกรูปแบบ ภายในปี 2573 ซึ่งเป้าหมายที่ 1 เกี่ยวข้องกับการกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่อาศัยอยู่ในสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงในการเข้าถึง
ทรัพยากรและการบริการขั้นพื้นฐาน รวมถึงช่วยเหลือชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งและภัยพิบัติที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ
ที่มา: สหประชาชาติ
เป้าหมายย่อย 1.1
เป้าหมายย่อย 1.1
ภายในปี พ.ศ. 2573 ขจัดความยากจนขั้นรุนแรงของประชาชนในทุกพื้นที่ให้หมดไป ซึ่งปัจจุบันความยากจนวัดจากคนที่มีค่าใช้จ่ายดำรงชีพรายวันต่ำกว่า $1.90 ต่อวัน
สัดส่วนของประชากรที่มีรายได้ต่ำกว่า เส้นความยากจนสากลจำแนกตาม เพศ อายุ สถานะการจ้างงาน และ ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ (ชุมชนเมือง/ชนบท)
เป้าหมายย่อย 1.2
เป้าหมายย่อย 1.2
ภายในปี พ.ศ. 2573 ลดสัดส่วน ชาย หญิง และเด็ก ในทุกช่วงวัย ที่อยู่ภายใต้ความยากจนในทุกมิติ ตามนิยามของแต่ละประเทศ ให้ลดลงอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง
สัดส่วนของประชากรที่อยู่ต่ำกว่าเส้น ความยากจนของประเทศ จำแนกตามเพศ และอายุ
ตัวชี้วัดเทียบเคียง
สัดส่วนคนจนเมื่อวัดด้านรายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค จำแนกตามเพศ และอายุ (0-14 ปี 15-59 ปี และ 60 ปีขึ้นไป)
ปี | ทั่วประเทศ |
---|---|
ปี 2556 | 10.34 |
ปี 2557 | 10.53 |
ปี 2558 | 7.21 |
ปี 2559 | 8.61 |
ปี 2560 | 7.87 |
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ปี | ในเขตเทศบาล | นอกเขตเทศบาล | ทั่วประเทศ |
---|---|---|---|
ปี 2556 | 7.70 | 13.99 | 10.34 |
ปี 2557 | 7.12 | 13.76 | 10.53 |
ปี 2558 | 5.49 | 8.91 | 7.21 |
ปี 2559 | 6.63 | 10.65 | 8.61 |
ปี 2560 | 6.05 | 9.82 | 7.87 |
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เพศ | ชาย | หญิง |
---|---|---|
ปี 2556 | 11.60 | 10.35 |
ปี 2557 | 10.99 | 10.12 |
ปี 2558 | 7.59 | 6.87 |
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
อายุ | 0-14 | 15-59 | 60+ |
---|---|---|---|
ปี 2556 | 14.73 | 9.17 | 13.65 |
ปี 2557 | 14.43 | 8.53 | 13.94 |
ปี 2558 | 10.15 | 6.03 | 8.48 |
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
การศึกษาสูงสุด | ไม่เคยเรียน | ก่อนประถมศึกษา | ประถมศึกษา | มัธยมต้น | มัธยมปลาย | อนุปริญญา | ปริญญาตรี | ปริญญาโท | ปริญญาเอก | การศึกษาอื่นๆ | ไม่ทราบ |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ปี 2556 | 28.64 | 14.25 | 14.11 | 8.89 | 4.39 | 1.52 | 0.52 | 0.00 | 0 | 41.83 | 0.00 |
ปี 2557 | 27.62 | 16.28 | 13.75 | 8.58 | 4.87 | 1.45 | 0.49 | 0.00 | 0 | 30.58 | 1.15 |
ปี 2558 | 20.20 | 12.05 | 9.35 | 5.95 | 2.79 | 0.92 | 0.39 | 0.05 | 0 | 8.13 | 22.53 |
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สถานภาพเศรษฐกิจสังคมของครัวเรือน | ผู้ถือครองทำการเกษตร | เป็นเจ้าของที่ดิน | เช่าที่ดิน | ผู้ทำประมง_ป่าไม้_ล่าสัตว์_และบริการเกษตร | ผู้ประกอบธุรกิจ_การค้า_อุตสาหกรรม_และบริการ | ผู้ปฏิบัติงานวิชาชีพ_นักวิชาการ_และนักบริหาร | คนงานเกษตร | คนงานทั่วไป | เสมียน พนักงาน พนักงานขายและให้บริการ | ผู้ปฏิบัติงานในกระบวนการผลิตและก่อสร้าง | ผู้ไม่ได้ปฏิบัติงานเชิงเศรษฐกิจ |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ปี 2554 | 18.74 | 17.86 | 23.36 | 39.68 | 7.47 | 1.73 | 30.44 | 26.42 | 10.01 | 15.59 | 17.11 |
ปี 2556 | 19.82 | 19.73 | 20.22 | 35.06 | 4.97 | 0.91 | 26.67 | 17.84 | 7.78 | 8.66 | 13.53 |
ปี 2558 | 11.35 | 10.32 | 16.97 | 26.34 | 4.14 | 0.93 | 20.15 | 14.55 | 3.46 | 7.35 | 9.57 |
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สัดส่วนของผู้ชาย ผู้หญิงและเด็กในทุกช่วงวัยที่ยากจนในทุกมิติ ตามนิยามของแต่ละประเทศ
เป้าหมายย่อย 1.3
เป้าหมายย่อย 1.3
ดำเนินการให้ทุกคนมีระบบและมาตรการการคุ้มครองทางสังคมระดับประเทศที่เหมาะสม ซึ่งรวมถึงฐาน การคุ้มครองทางสังคม (floors) โดยให้ครอบคลุมกลุ่มประชากรยากจน และกลุ่มเปราะบางให้มากพอ ภายในปี พ.ศ. 2573
สัดส่วนของประชากรที่ได้รับความคุ้มครองตามระบบและมาตรการการคุ้มครองทางสังคม จำแนกตามเพศ และแบ่งเป็น เด็ก ผู้ว่างงาน ผู้สูงอายุ ผู้พิการ หญิงตั้งครรภ์ เด็กเกิดใหม่ ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากการทำงาน ผู้ที่ยากจนและเปราะบาง
เป้าหมายย่อย 1.4
เป้าหมายย่อย 1.4
ภายในปี พ.ศ. 2573 สร้างหลักประกันว่าชายและหญิงทุกคน โดยเฉพาะผู้ที่ยากจนและเปราะบาง มีสิทธิเท่าเทียมกันในทรัพยากรทางเศรษฐกิจ รวมถึงการเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐาน การเป็นเจ้าของและมีสิทธิในที่ดินและทรัพย์สินในรูปแบบอื่น มรดก ทรัพยากรธรรมชาติ เทคโนโลยีใหม่ที่เหมาะสม และบริการทางการเงิน ซึ่งรวมถึงระบบการเงินระดับฐานราก (microfinance)
สัดส่วนของประชากรอาศัยในครัวเรือน ที่เข้าถึงบริการขั้นพื้นฐาน
สัดส่วนของประชากรผู้ใหญ่ที่มีสิทธิครอบครองที่ดินอย่างมั่นคง โดย (ก) มีเอกสารสิทธิ์ในที่ดินตามกฎหมาย และ (ข) ทราบว่าสิทธิครอบครองที่ดินของตนมีความมั่นคง จาแนกตามเพศ และประเภทการถือครอง
เป้าหมายย่อย 1.5
เป้าหมายย่อย 1.5
ภายในปี พ.ศ. 2573 สร้างภูมิต้านทานให้กับผู้ที่ยากจนและอยู่ในสถานการณ์เปราะบาง รวมทั้งลดความเสี่ยงและความล่อแหลมต่อภาวะสภาพอากาศผันผวนรุนแรง การเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม และภัยพิบัติ
จำนวนผู้เสียชีวิต สูญหาย และผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากภัยพิบัติต่อประชากร 100,000 คน (ภัยพิบัติ รวมถึง อุทกภัย อัคคีภัย วาตภัย และภัยแล้ง)
ปี | จำนวนประชากรที่เสียชีวิต สูญหาย และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย | จำนวนประชากรที่เสียชีวิต สูญหาย และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากอัคคีภัย | จำนวนประชากรที่เสียชีวิต สูญหาย และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวาตภัย | จำนวนประชากรที่เสียชีวิต สูญหาย และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง |
---|---|---|---|---|
ปี 2557 | 2.78 | 8.00 | 165 | 8,863.00 |
ปี 2558 | 1.35 | 7.30 | 540 | 6,068.00 |
ปี 2559 | 1.71 | 33.70 | 222 | 4,574.00 |
ปี 2560 | 5.56 | 13.70 | 229 | 71.00 |
ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ
การสูญเสียทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจาก ภัยพิบัติโดยตรง ต่อ GDP โลก
จำนวนประเทศที่มีและดำเนินการตามยุทธศาสตร์การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติระดับประเทศ ที่สอดคล้องกับกรอบการดาเนินงานเซนไดเพื่อการลด ความเสี่ยงจากภัยพิบัติ พ.ศ. 2558 - 2573
สัดส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีและดำเนินการตามยุทธศาสตร์การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติระดับท้องถิ่นที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ระดับประเทศ
เป้าหมายย่อย 1.A
เป้าหมายย่อย 1.A
สร้างหลักประกันว่าจะมีการระดมทรัพยากรอย่าง มีนัยสำคัญจากแหล่งที่หลากหลาย รวมไปถึงการยกระดับ ความร่วมมือเพื่อการพัฒนา เพื่อให้ประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศพัฒนาน้อยที่สุด มีวิธีการที่เพียงพอและคาดการณ์ได้ในการดำเนินงานตามแผนงานและนโยบายเพื่อยุติความยากจนในทุกมิติ
สัดส่วนของเงินสนับสนุนให้เปล่า (ODA grants) เพื่อมุ่งลดความยากจน จากผู้ให้การสนับสนุนทั้งหมด ต่อรายได้มวลรวมประชาชาติ (GNI) ของประเทศผู้รับ
สัดส่วนการใช้จ่ายรวมของรัฐบาลในบริการที่สาคัญจาเป็น (การศึกษา สุขภาพ และการคุ้มครองทางสังคม)
เป้าหมายย่อย 1.B
เป้าหมายย่อย 1.B
สร้างกรอบนโยบายที่เหมาะสมในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ บนฐานของยุทธศาสตร์การพัฒนา ที่เอื้อประโยชน์แก่คนจน (pro-poor) และคำนึงถึงความละเอียดอ่อนเชิงเพศภาวะ (gender-sensitive) เพื่อส่งเสริมให้มีการเร่งการลงทุนเพื่อปฏิบัติการขจัดความยากจน
รายจ่ายสาธารณะทางสังคมที่เอื้อประโยชน์แก่คนจน
Case Study
บ้านชากไทย ตั้งอยู่ที่ อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี เป็นหนึ่งในต้นแบบการบริหารจัดการหนี้สินภายในชุมชน เพื่อตอบสนองนโยบายในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ซึ่งมุ่งเน้นการลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม สร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากชุมชน ผ่านการบริหารจัดการเงินทุนที่มีอยู่ในชุมชนให้เกิดความคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุด…. อ่านเพิ่มเติม



บ้านชากไทย ตั้งอยู่ที่ อำเภอเขาคิชฌกูฎ จังหวัดจันทบุรี เป็นหนึ่งในต้นแบบการบริหารจัดการหนี้สินภายในชุมชน เพื่อตอบสนองต่อนโยบายในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ซึ่งมุ่งเน้นการลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม สร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากชุมชน ผ่านการบริหารจัดการเงินทุนที่มีอยู่ในชุมชนให้เกิดความคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุด…. อ่านเพิ่มเติม

