
เป้าหมายที่ 2 ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหาร และยกระดับโภชนาการ และส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน

เป้าหมายที่ 2 ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหาร และยกระดับโภชนาการ และส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน
ภาพจากการประกวดภาพถ่าย “ส่งเสริมยุทธศาสตร์ชาติ ด้วยพลังภาพถ่ายที่สร้างสรรค์”
การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วและผลผลิตทางการเกษตรที่เพิ่มขึ้นในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ทำให้ได้เห็นสัดส่วนของประชากรที่ขาดแคลนอาหารลดลงเกือบครึ่งหนึ่ง ประเทศกำลังพัฒนาจำนวนมากที่เคยได้รับความทุกข์จากความอดอยากและความหิวโหย กลายเป็นประเทศที่มีความสามารถในการให้ความช่วยเหลือทางโภชนาการแก่ผู้ด้อยโอกาสได้เป็นจำนวนมาก หลายประเทศในเอเชียกลางและเอเชียตะวันออก ละตินอเมริกา และประเทศกลุ่มแคริบเบียน มีความก้าวหน้าอย่างมากในการขจัดความหิวโหย เป้าหมายที่ 2 มุ่งมั่นที่จะขจัดความหิวโหยและความอดอยากทุกรูปแบบ ภายในปี 2573 เพื่อให้แน่ใจว่าทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและผู้ด้อยโอกาสจำนวนมาก เข้าถึงอาหารที่เพียงพอและมีคุณค่าทางโภชนาการตลอดทั้งปี นอกจากนี้ เป้าหมายนี้ยังส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน การปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่และกำลังการผลิตของเกษตรกรรายย่อยให้เข้าถึงแหล่งที่ดินทำกิน เทคโนโลยีและการตลาดอย่างเท่าเทียม นอกจากนี้ ความร่วมมือระหว่างประเทศก็เป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้มีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลิตภาพทางการเกษตร
ที่มา: สหประชาชาติ
เป้าหมายย่อย 2.1
เป้าหมายย่อย 2.1
ยุติความหิวโหยและสร้างหลักประกันให้ทุกคนโดยเฉพาะคนที่ยากจนและอยู่ในภาวะเปราะบาง อันรวมถึงทารก ได้เข้าถึงอาหารที่ปลอดภัย มีโภชนาการ และเพียงพอตลอดทั้งปี ภายในปีพ.ศ. 2573
ความชุกของความไม่มั่นคงทางอาหารของประชากรในระดับปานกลางหรือรุนแรง โดยใช้ Food Insecurity Experience Scale (FIES)
เป้าหมายย่อย 2.2
เป้าหมายย่อย 2.2
ยุติภาวะทุพโภชนาการทุกรูปแบบและแก้ไขปัญหาความต้องการสารอาหารของหญิงวัยรุ่น หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร และผู้สูงอายุ ภายในปี พ.ศ. 2573 รวมถึงบรรลุเปูาหมายที่ตกลงร่วมกันระหว่างประเทศว่าด้วยภาวะเตี้ย (stunting) และแคระแกร็น (wasting) ในเด็กอายุต่ากว่า 5 ปี ภายในปี พ.ศ. 2568
ความชุกของภาวะทุพโภชนาการในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี จำแนกตาม (ก) ภาวะแคระแกร็น (wasting) (ข) ภาวะน้ำหนักเกิน (overweight) (ประเมินน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง ที่มีน้ำหนักเมื่อเทียบกับความสูงห่างจากค่ามัธยฐานตามมาตรฐานการเจริญเติบโตของเด็กของ WHO ในช่วงมากกว่า +2 SD หรือต่ำกว่า -2 SD)
เขตการปกครอง | ในเขตเทศบาล | นอกเขตเทศบาล | ทั่วประเทศ |
---|---|---|---|
ปี 2555 | 6.40 | 6.90 | 6.70 |
ปี 2559 | 4.40 | 6.00 | 5.40 |
ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ
ความชุกของภาวะโลหิตจาง (anaemia) ในหญิง อายุระหว่าง 15 – 49 ปี จาแนกตามภาวะตั้งครรภ์
เป้าหมายย่อย 2.3
เป้าหมายย่อย 2.3
เพิ่มผลิตภาพทางการเกษตรและรายได้ของผู้ผลิตอาหารรายเล็ก โดยเฉพาะผู้หญิง คนพื้นเมือง ครัวเรือนเกษตรกร เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ และชาวประมง ให้เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า โดยรวมถึงการเข้าถึงที่ดิน ทรัพยากรและปัจจัยการผลิต ความรู้ บริการทางการเงิน ตลาด และโอกาสสาหรับการเพิ่มมูลค่าและการจ้างงานนอกฟาร์ม อย่างมั่นคงและเท่าเทียม ภายในปี พ.ศ. 2573
ปริมาณการผลิตต่อหน่วยแรงงาน จาแนกตามขนาดกิจการของการทาฟาร์ม/เลี้ยงสัตว์/การป่าไม้
รายได้เฉลี่ยของเกษตรกรผู้ผลิตอาหาร รายย่อย จาแนกตามเพศ และสถานะพื้นเมือง (เพื่อแยก ชนพื้นเมือง หรือ ชนเผ่า)
เป้าหมายย่อย 2.4
เป้าหมายย่อย 2.4
สร้างหลักประกันว่าจะมีระบบการผลิตอาหารที่ยั่งยืนและดาเนินการตามแนวปฏิบัติทางการเกษตรที่มีภูมิคุ้มกันที่จะเพิ่มผลิตภาพและการผลิต ซึ่งจะช่วยรักษาระบบนิเวศ เสริมขีดความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภาวะอากาศรุนแรง ภัยแล้ง อุทกภัย และภัยพิบัติอื่น ๆ และจะช่วยพัฒนาคุณภาพของดินและที่ดินอย่างต่อเนื่อง ภายในปี พ.ศ. 2573
ร้อยละของพื้นที่เกษตรที่มีการทาการเกษตรอย่างมีผลิตภาพและยั่งยืน
เป้าหมายย่อย 2.5
เป้าหมายย่อย 2.5
คงความหลากหลายทางพันธุกรรมของเมล็ดพันธุ์พืชที่ใช้เพาะปลูก สัตว์ในไร่นาและที่เลี้ยงตามบ้านเรือน และชนิดพันธุ์ตามธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับพืชและสัตว์เหล่านั้น รวมถึงให้มีธนาคารพืชและเมล็ดพันธุ์ที่มีการจัดการที่ดีและมีความหลากหลาย ทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ และสร้างหลักประกันว่าจะมีการเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์อันเกิดจากการใช้ทรัพยากรทางพันธุกรรมและองค์ความรู้ท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม ตามที่ ตกลงกันระหว่างประเทศ ภายในปี พ.ศ. 2563
จำนวนแหล่งพันธุกรรมพืชและสัตว์เพื่ออาหารและการเกษตรที่เก็บรักษาในสถานที่สาหรับอนุรักษ์ทั้งในระยะกลางและระยะยาว
สัดส่วนพันธุ์สัตว์ท้องถิ่น ที่จัดอยู่ในระดับความเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์
เป้าหมายย่อย 2.A
เป้าหมายย่อย 2.A
เพิ่มการลงทุน ตลอดจนยกระดับความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานในชนบท การวิจัยและส่งเสริมการเกษตร การพัฒนาเทคโนโลยี และการทาธนาคารเชื้อพันธุ์ (gene bank) ของพืชและสัตว์ เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการผลิตสินค้าเกษตรในประเทศกาลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศพัฒนาน้อยที่สุด
ดัชนี Agriculture Orientation (AOI) ของรายจ่ายของภาครัฐ (สัดส่วนของรายจ่ายภาครัฐด้านการเกษตรต่อสัดส่วนของ GDP ในภาคการเกษตร)
กระแสความช่วยเหลือรวม (ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (Official Development Assistance: ODA) และกระแสความช่วยเหลืออย่าง เป็นทางการอื่น (Other Official Flows: OOF) ที่ให้ไปยังภาคการเกษตร
เป้าหมายย่อย 2.B
เป้าหมายย่อย 2.B
แก้ไขและป้องกันการกีดกันและการบิดเบือนทางการค้าในตลาดเกษตรโลก รวมถึงทางการขจัดการอุดหนุนสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออกทุกรูปแบบและมาตรการเพื่อการส่งออกทุกแบบที่ให้ผลในลักษณะเดียวกัน โดยให้เป็นไปตามอาณัติของรอบการพัฒนาโดฮา
การอุดหนุนการส่งออกสินค้าเกษตร
เป้าหมายย่อย 2.C
เป้าหมายย่อย 2.C
เลือกใช้มาตรการที่สร้างหลักประกันได้ว่าตลาดโภคภัณฑ์อาหารและตลาดอนุพันธ์สามารถทางานได้อย่างเหมาะสม และอานวยความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลของตลาดและข้อมูลสารองอาหารได้อย่างทันการณ์ เพื่อจากัดความผันผวนของราคาอาหารที่รุนแรง
ตัวชี้วัดราคาอาหารที่ผิดปกติ
Case Study
การได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยแรกเกิด ถือหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะผลส่งต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาว เนื่องจากการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศจำเป็นต้องอาศัยทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ ซึ่งหมายรวมถึงการมีร่างกายที่สมบูรณ์ แข็งแรง มีความพร้อมทางด้านจิตใจ และสติปัญญา สหประชาชาติจึงกำหนดให้ประเด็นการเข้าถึงสารอาหารที่เพียงพอ… อ่านเพิ่มเติม


การได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยแรกเกิด ถือหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะผลส่งต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาว เนื่องจากการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศจำเป็นต้องอาศัยทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ ซึ่งหมายรวมถึงการมีร่างกายที่สมบูรณ์ แข็งแรง มีความพร้อมทางด้านจิตใจ และสติปัญญา สหประชาชาติจึงกำหนดให้ประเด็นการเข้าถึงสารอาหารที่เพียงพอ…. อ่านเพิ่มเติม

