
เป้าหมายที่ 9 สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มีความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรม ที่ครอบคลุมและยั่งยืน และส่งเสริมนวัตกรรม
เป้าหมายที่ 9 สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มีความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรม ที่ครอบคลุมและยั่งยืน และส่งเสริมนวัตกรรม
ภาพจากการประกวดภาพถ่าย “ส่งเสริมยุทธศาสตร์ชาติ ด้วยพลังภาพถ่ายที่สร้างสรรค์”
การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและนวัตกรรมเป็นปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญของการเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาในปัจจุบันประชากรโลกกว่าครึ่งหนึ่งอาศัยอยู่ในเมือง
ทำให้ระบบขนส่งสาธารณะและพลังงานหมุนเวียนมีความสำคัญเพิ่มขึ้นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีจึงเป็นกุญแจสำคัญในการแก้ปัญหาทาเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
อาทิ การสร้างงานแบบใหม่ และส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ดังนั้น การส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ยั่งยืน และการลงทุนในนวัตกรรมและการวิจัยทางวิทยาศาสตร์จึงเป็นแนวทางสำคัญเพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน อย่างไรก็ตาม ประชากรโลกกว่า 4 พันล้านคนยังไม่สามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ต ซึ่งกว่าร้อยละ 90 เป็นประชากรในประเทศกำลังพัฒนา ดังนั้นการลดความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลจึงมีความสำคัญเพื่อก่อให้เกิดหลักประกันในการเข้าถึงข้อมูลและความรู้อย่างเท่าเทียม รวมทั้งการส่งเสริมนวัตกรรม
และการเป็นผู้ประกอบการ
ที่มา: สหประชาชาติ
เป้าหมายย่อย 9.1
พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพ เชื่อถือได้ยั่งยืนและมีความต้านทานและยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง ซึ่งรวมถึงโครงสร้างพื้นฐานของภูมิภาคและที่ข้ามเขตแดน
เพื่อสนับสนุนการพัฒนาทางเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์
สัดส่วนของประชากรชนบทที่อาศัยอยู่ภายในระยะ 2 กิโลเมตรจากถนนที่สามารถใช้งานได้ทุกฤดู
ปริมาณผู้โดยสาร และสินค้าที่ขนส่งจำแนกตามรูปการขนส่ง
เป้าหมายย่อย 9.2
ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมและยั่งยืนและภายในปี พ.ศ. 2573 ให้เพิ่มส่วนแบ่งของภาคอุตสาหกรรมในการจ้างงานและผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ โดยให้เป็นไปตามบริบทของประเทศและให้เพิ่มส่วนแบ่งขึ้นเป็น 2 เท่า ในประเทศพัฒนาน้อยที่สุด
(ก) สัดส่วนของมูลค่าเพิ่มผลผลิต (Manufacturing
value added: MVA) ต่อ GDP และ (ข) MVA ต่อหัวประชากร
สัดส่วนการจ้างงานในอุตสาหกรรมการผลิตต่อการจ้างงานรวมทั้งหมด
เป้าหมายย่อย 9.3
เพิ่มการเข้าถึงบริการทางการเงินโดยรวมถึงเครดิตในราคาที่สามารถจ่ายได้ให้แก่โรงงานอุตสาหกรรมและวิสาหกิจขนาดเล็ก โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งเชื่อมโยงผู้ประกอบการเหล่านี้เข้าสู่ห่วงโซ่มูลค่าและตลาด
สัดส่วนของมูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมขนาดเล็กต่อมูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมทั้งหมด
สัดส่วนของอุตสาหกรรมขนาดเล็กที่มีการกู้ยืมหรือมีวงเงินที่ธนาคารให้กู้ยืม
เป้าหมายย่อย 9.4
ยกระดับโครงสร้างพื้นฐานและปรับปรุงอุตสาหกรรมเพื่อให้เกิดความยั่งยืนโดยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรและการใช้เทคโนโลยีและกระบวนการทางอุตสาหกรรมที่สะอาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยทุกประเทศดำเนินการตามขีดความสามารถของแต่ละประเทศภายในปี พ.ศ. 2573
ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อหน่วยมูลค่าเพิ่ม
เป้าหมายย่อย 9.5
เพิ่มพูนการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ยกระดับขีดความสามารถทางเทคโนโลยีของภาคอุตสาหกรรมในทุกประเทศ โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา และให้ภายในปี พ.ศ. 2573
มีการส่งเสริมนวัตกรรมและให้เพิ่มจำนวนผู้ทำงานวิจัยและพัฒนา ต่อประชากร 1 ล้านคน และเพิ่มค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนาในภาครัฐและเอกชน
9.5.1 สัดส่วนของค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาต่อ GDP
| ร้อยละของค่าใช้จ่ายการวิจัยและพัฒนาต่อ GDP |
---|---|
ปี 2556 | 0.47 |
ปี 2557 | 0.48 |
ปี 2558 | 0.62 |
ปี 2559 | 0.78 |
ที่มา : สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
สัดส่วนนักวิจัย (เทียบเท่ากับการทำงานเต็มเวลา)
ต่อประชากร 1,000,000 คน
เป้าหมายย่อย 9.A
อำนวยความสะดวกการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืนและมีความยืดหยุ่น ในประเทศกำลังพัฒนาผ่านทางการยกระดับการสนับสนุนทางการเงิน เทคโนโลยีและด้านวิชาการให้แก่ประเทศในแอฟริกา ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ประเทศกำลังพัฒนาที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล และรัฐกำลังพัฒนาที่เป็นหมู่เกาะขนาดเล็ก
การสนับสนุนระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการทั้งหมด
(ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA)
และกระแสความช่วยเหลืออย่างเป็นทางการอื่น (OOF)
ในด้านโครงสร้างพื้นฐาน
เป้าหมายย่อย 9.B
สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรมภายในประเทศกำลังพัฒนา รวมถึงการให้มีสภาพแวดล้อมทางนโยบายที่นำไปสู่ความหลากหลายของอุตสาหกรรมและการเพิ่มมูลค่าของสินค้าโภคภัณฑ์
สัดส่วนมูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีระดับสูง
และระดับกลาง ต่อมูลค่าเพิ่มรวมทั้งหมด
เป้าหมายย่อย 9.C
เพิ่มการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและมุ่งจัดให้มีการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตโดยถ้วนหน้าและในราคาที่สามารถจ่ายได้ในประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ภายในปี พ.ศ. 2563
สัดส่วนของประชากรที่อยู่ในพื้นที่ที่มีสัญญาณโทรศัพท์เคลื่
อนที่ จำแนกตามเทคโนโลยี
Case Study

Case study – SDG 9
โครงการอุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) ภาคอุตสาหกรรมมีบทบาทสำคัญต่อการยกระดับความเป็นอยู่ของมวลมนุษยชาติทั่วโลก
เนื่องจากเป็นปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิดการผลิตสินค้า การจ้างงาน และกระตุ้นให้เกิดการคิดค้นเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาสู่สังคม อย่างไรก็ดี กระบวนการผลิตของภาคอุตสาหกรรมแบบดั้งเดิมได้ก่อให้เกิดผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงสุขภาพของมนุษย์และสัตว์เป็นจำนวนมาก … อ่านเพิ่มเติม


Case study - SDG 13

โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย Thailand Voluntary Emission Reduction Program (T-VER) เป็นโครงการส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมลดก๊าซเรือนกระจกในประเทศด้วยความสมัครใจ โดยสามารถนำปริมาณการลดหรือดูดซับก๊าซเรือนกระจกที่ผ่านการรับรอง ที่เรียกว่า “คาร์บอนเครดิต” ไปขายในตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจภายในประเทศได้ ตามหลักเกณฑ์และขั้นตอนการพัฒนาโครงการที่องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.) กำหนด…. อ่านเพิ่มเติม





