ความเคลื่อนไหวในการขับเคลื่อนกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ

ความร่วมมือกับองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD)

          การดำเนินโครงการ CP ระยะที่ 1 มีโครงการย่อยภายใต้ CP ทั้งสิ้น 16 โครงการ ครอบคลุม ๔ สาขาความร่วมมือ ได้แก่ (1) ธรรมาภิบาลภาครัฐและความโปร่งใส (Governance & Transparency) (2) สภาพแวดล้อมทางธุรกิจและความสามารถในการแข่งขัน (Business Climate & Competitiveness) (3) ประเทศไทย 4.0 (Thailand 4.0) และ (4) การเติบโตอย่างทั่วถึง (Inclusive Growth) เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาตามแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2565) และนโยบายประเทศไทย 4.0 รวมทั้งสอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs) ในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 สศช. ได้กราบเรียนนายกรัฐมนตรี และนำเรียนคณะรัฐมนตรีเพื่อรับทราบความก้าวหน้าในการดำเนินโครงการ CP ระยะที่ 1 โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 รับทราบรายงานความก้าวหน้าการดำเนินโครงการและเห็นชอบให้ สศช. ดำเนินการร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและจัดทำโครงการภายใต้ Country Programme (CP) ระยะที่ 2 ต่อไป นอกจากนี้ยังเห็นชอบมอบหมายกระทรวงการต่างประเทศศึกษาถึงความพร้อมและความเป็นไปได้ในการเข้าร่วมเป็นประเทศสมาชิก OECD ตลอดจนประโยชน์ในการเข้าร่วมเป็ประเทศสมาชิก OECD ที่ประเทศไทยจะได้รับในอนาคต

การประชุมที่เกี่ยวข้อง

แผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจ 6 ประเทศในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง 
(Great Mekong Subregion: GMS)

สรุปภาพรวมแผนงาน GMS

          GMS เป็นกรอบความร่วมมือระหว่าง ๖ ประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ได้แก่ กัมพูชา สปป.ลาว จีน (มณฑลยูนนานและเขตปกครองตนเองกวางสีจ้วง) เมียนมา ไทย และเวียดนาม ริเริ่มขึ้นโดยการผลักดันของ ๖ ประเทศและธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) ในปี ๒๕๓๕ เพื่อจัดท้ากรอบแผนยุทธศาสตร์พัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในลักษณะเกื้อกูลกันบนพื้นฐานของความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบของแต่ละประเทศ โดยใช้การสนับสนุนทั้งทางการเงินและทางวิชาการจาก ADB เป็นตัวขับเคลื่อนการพัฒนาอนุภูมิภาค เริ่มจากการเชื่อมโยงโครงข่ายระบบโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะเส้นทางคมนาคมขนส่งและพลังงาน แผนงาน GMS ครอบคลุมพื้นที่ ๓๔ จังหวัด ตามแนวระเบียงเศรษฐกิจ NSEC, EWEC และ SEC ใช้กลไกการด้าเนินงานผ่านข้อสั่งการจากที่ประชุมระดับผู้น้า ระดับรัฐมนตรี และระดับคณะทำงานซึ่งมีอยู่ทั้งสิ้น ๑๐ สาขา ประกอบด้วย ๑) คมนาคมขนส่ง ๒) การอำนวยความสะดวกคมนาคมขนส่งและการค้า๓) พลังงาน ๔) ท่องเที่ยว ๕) สุขภาพ ๖) ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ๗) เกษตร ๘) การพัฒนาเมือง ๙) โทรคมนาคม และ ๑๐) การลงทุน ทั้งนี้ สาขาโทรคมนาคม และสาขาการลงทุน ไม่มีความก้าวหน้าการดำเนินงาน นอกจากนี้ แผนงาน GMS ยังมีกลไกการประชุมระดับผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ว่าการรัฐ เจ้าแขวง และผู้ว่าการมณฑล (Governors’ Forum) การประชุมหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา (Development Partners’Meeting) และการประชุมสภาธุรกิจ GMS
          ปัจจุบัน แผนงาน GMS ดำเนินงานอยู่ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์แผนงาน GMS ปี ๒๕๖๑-๒๕๖๕ โดยมีแผนปฏิบัติการฮานอย (Hanoi Action Plan) เป็นตัวขับเคลื่อนความร่วมมือไปสู่การปฏิบัตินอกจากนี้ กรอบการลงทุนในภูมิภาคปี ๒๕๖๕ (Regional Investment Framework 2022) เป็นชุดแผนงาน/โครงการที่ประเทศสมาชิกร่วมกันเสนอขึ้น เพื่อยืนยันความร่วมมือและเร่งขับเคลื่อนความร่วมมือไปสู่การปฏิบัติที่แท้จริง

        ประเทศสมาชิกและ ADB อยู่ระหว่างร่วมกันปรับกรอบยุทธศาสตร์การด้าเนินงานของแผนงาน GMS (กรอบยุทธศาสตร์แผนงาน GMS ปี ๒๕๖๑-๒๕๖๕) ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปและการรับมือต่อผลกระทบการแพร่ระบาดของโรค Covid-19 ซึ่งก็คือ กรอบยุทธศาสตร์ใหม่แผนงาน GMS ปี ๒๕๗๘ โดยจะได้นำเสนอให้ประเทศสมาชิกเห็นชอบในการประชุมระดับรัฐมนตรีแผนงาน GMS ครั้งที่ ๒๔ ในวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ ต่อไป ในส่วนของความก้าวหน้าโครงการส้าคัญต่าง ๆ ภายใต้แผนงาน GMS อาทิ มีการเริ่มดำเนินการในโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญคือ โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่เด่นชัย-เชียงราย โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ ๓ (เริ่มด้าเนินการ) โครงการก่อสร้าง Motor Way (บางใหญ่-กาญจนบุรี) รวมทั้งผลักดันการด้าเนินงานภายใต้ความตกลงการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS CBTA) ซึ่งได้เริ่มด้าเนินการในระยะแรกเริ่ม (Early Harvest) ร่วมกันแล้ว และอยู่ระหว่างการเร่งปรับแก้กฎระเบียบด้านพิธีการศุลกากร การข้ามแดนของรถขนส่งสินค้า รวมทั้งการปรับเพิ่มเส้นทางถนนทางหลวงเข้าไว้ในความตกลง GMS CBTA อย่างครอบคลุม

การประชุมที่เกี่ยวข้อง

แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย 
(Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle: IMT-GT)

          แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle: IMT-GT) ก่อตั้งเมื่อปี ๒๕๓๖ มุ่งเน้นความร่วมมือเพื่อลดความเหลื่อมล้ำโดยใช้ประโยชน์จากจุดแข็งของแต่ละประเทศที่มีอยู่มาส่งเสริมเกื้อกูลกันตามหลักหลักความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ แผนงาน IMT-GT ครอบคลุมพื้นที่ ๑๔ จังหวัดภาคใต้ ๘ รัฐทางเหนือและตะวันตกของมาเลเซีย และครอบคลุมทั้ง ๑๐ จังหวัดบนเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย ใช้กลไกการดำเนินงานผ่านข้อสั่งการจากที่ประชุมระดับผู้น้า ระดับรัฐมนตรี และระดับคณะท้างานซึ่งมีอยู่ทั้งสิ้น ๗ สาขา ประกอบด้วย (๑) การเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร (๒) การท่องเที่ยว (๓) ผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาล (๔) ความเชื่อมโยงทางการขนส่งและไอซีที (๕) การอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน (๖) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การศึกษา และวัฒนธรรม และ (๗) สิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังมีกลไกการประชุมระดับมุขมนตรีและผู้ว่าราชการจังหวัด และการประชุมสภาธุรกิจ IMT-GT ที่ดำเนินงานร่วมกับคณะทำงาน ๗ สาขา และยังสามารถน้าเสนอความต้องการไปยังที่ประชุมระดับรัฐมนตรีของแผนงานได้โดยตรง นอกจากนี้ มีสำนักงานเลขานุการ IMT-GT (CIMT) เป็นกลไกสนับสนุนการดำเนินงาน มีที่ตั้ง ณ เมืองปุตราจายา มาเลเซีย
          ปัจจุบัน แผนงาน IMT-GT ด้าเนินงานอยู่ภายใต้แผนวิสัยทัศน์ พ.ศ. ๒๕๗๙ (IMT-GT Vision 2036) เพื่อนำไปสู่การเป็นอนุภูมิภาคแห่งบูรณาการ การพัฒนาที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ความเหลื่อมล้ำน้อย และเติบโตอย่างยั่งยืน โดยมีแผนดำเนินงานระยะ ๕ ปีเป็นแผนปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนความร่วมมือไปสู่การปฏิบัติซึ่งปัจจุบันอยู่ในช่วงของแผนดำเนินงานระยะห้าปี ปี พ.ศ. ๒๕๖๕ – ๒๕๖๙

การประชุมที่เกี่ยวข้อง

คณะกรรมการว่าด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนาร่วมสำหรับพื้นที่ชายแดนไทย-มาเลเซีย (JDS)

ความร่วมมือประเทศลุ่มแม่น้ำโขงกับญี่ปุ่น (MJ-CI)

ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชียแปซิฟิก (APEC) 

          ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชียแปซิฟิก (APEC) ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 21 เขตเศรษฐกิจได้แก่ ออสเตรเลีย แคนาดา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน ฮ่องกง นิวซีแลนด์ สหรัฐอเมริกา บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ไทย จีนไทเป ชิลี เม็กซิโก ปาปัวนิวกินี เปรู รัสเซีย และเวียดนาม มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมระบบการค้าพหุภาคี สนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาคและของโลกด้วยการลดอุปสรรคและอำนวยความสะดวกด้านการค้า การบริการ และการลงทุนระหว่างเขตเศรษฐกิจ ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติมอบหมายให้ สศช. เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักในการเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการเศรษฐกิจเอเปคหรือ Economic Committee (EC) พร้อมกับขับเคลื่อนวาระเกี่ยวกับการปฏิรูปโครงสร้างเอเปค โดย EC ได้มีการจัดทำวาระการปฏิรูปโครงสร้าง ภายใต้ชื่อ การยกระดับวาระการปฏิรูปโครงสร้างเอเปค (Enhanced APEC Agenda for Structural Reform: EAASR) ปี ๒๕๖๔ – ๒๕๖๘ (ค.ศ. ๒๐๒๑ – ๒๐๒๕) ที่มุ่งเน้นการสนับสนุนให้เขตเศรษฐกิจดำเนินการปฏิรูปโครงสร้างเพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ ขจัดอุปสรรคด้านการลงทุน ตลอดจนส่งเสริมสภาพความเป็นอยู่ที่ดี เพื่อให้ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเป็นภูมิภาคที่มีพลวัตและเชื่อมต่อกันมากยิ่งขึ้น ภายใต้ EC ได้มีการดำเนินงานของกลุ่มย่อย (Sub-forum) และกลุ่มเพื่อนประธาน (Friend of the Chair: FotC) ได้แก่ 1. กลุ่มย่อยด้านนโยบายการแข่งขันและกฎหมาย (Competition Policy and Law Group: CPLG Sub-forum) 2. กลุ่มเสริมสร้างความเข้มแข็งโครงสร้างด้านเศรษฐกิจและกฎหมาย (Strengthening Economic Legal Infrastructure: SELI) 3. กลุ่มความยากง่ายในการประกอบธุรกิจ (Ease of Doing Business: EoDB) 4. กลุ่มกฎหมายหุ้นส่วนบริษัทและบรรษัทภิบาล Corporate Law and Governance (CLG) 5. กลุ่มการปฏิรูปกฎระเบียบ (Regulatory Reform: RR) และ 6. กลุ่มธรรมาภิบาลภาครัฐ (Public Sector Governance: PSG) ซึ่งจะมีกิจกรรมในเชิงการหารือเชิงนโยบายหรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ ที่มุ่งเน้นการสนับสนุนให้เกิดการปฏิรูปโครงสร้างหรือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นที่แต่ละกลุ่มให้ความสำคัญ

          สศช. ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร.) จึงได้หารือเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมหารือเชิงนโยบาย (Policy Dialogue) ภายใต้กลุ่มเพื่อนประธานด้านความยากง่ายในการประกอบธุรกิจ (EoDB) ในประเด็นการได้รับสินเชื่อ โดยการหารือเชิงนโยบายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนในประเด็นมาตรการที่จะช่วยสนับสนุนในการได้รับสินเชื่อที่นอกเหนือจากการปรับปรุงกฎระเบียบหรือกฎหมายเกี่ยวกับหลักประกันทางธุรกิจและการล้มละลาย และเพื่อหารือเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการนำไปสู่การใช้ข้อมูลด้านสินเชื่อร่วมกัน (Credit information sharing) ระหว่างสมาชิกเอเปค นอกจากนี้ สศช. ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ร่วมกันเป็นเจ้าภาพในจัดการประชุม Good Regulatory Practice (GRP) ครั้งที่ ๑๕ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการแบ่งปันประสบการณ์และความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับแนวปฏิบัติด้านกฎระเบียบที่ดีระหว่างเขตเศรษฐกิจเอเปค