การขับเคลื่อน SDGs ในระดับพื้นที่
(SDG Localization)
การขับเคลื่อน SDGs ในระดับพื้นที่
(SDG Localization)
การดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้ง 17 เป้าหมาย นอกจากต้องอาศัยความร่วมมือและการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนแล้ว ยังต้องมีการดำเนินการทั้งในระดับประเทศ ระดับชุมชนและท้องถิ่นที่เข้มแข็ง โดยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2559 เห็นชอบให้กระทรวงมหาดไทยมีกลไกการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับพื้นที่ และมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2563 รับทราบผลการประชุมคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) ครั้งที่ 1/2562 วันที่ 19 ธันวาคม 2562 ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบหลักการแผนการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับประเทศไทย (Thailand’s SDG Roadmap) และเห็นชอบหลักการจัดกลุ่มจังหวัดเป็น 4 ระดับ จำแนกตามระดับการพัฒนา* ได้แก่ (1) กลุ่มที่ 1 เป็นพื้นที่/จังหวัดที่มีความเหลื่อมล้ำสูง ยังขาดความพร้อม และต้องได้รับการสนับสนุนอย่างเร่งด่วน (2) กลุ่มที่ 2 เป็นพื้นที่/จังหวัดที่มีศักยภาพ แต่ยังมีข้อจำกัดในการพัฒนา (3) กลุ่มที่ 3 เป็นพื้นที่/จังหวัดที่มีศักยภาพและพร้อมที่จะพัฒนา และ (4) กลุ่มที่ 4 เป็นพื้นที่/จังหวัดที่มีความเข้มแข็ง และพร้อมขยายผลไปภายนอก
เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับพื้นที่ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมคัดเลือกจังหวัด/พื้นที่นำร่อง**ในพื้นที่ 6 ภาคทั่วประเทศ กระจายตัวตามกลุ่มจังหวัด 4 ระดับการพัฒนา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 แห่ง เพื่อทดลองจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนาท้องถิ่นที่สนับสนุนการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับพื้นที่ ต่อไป ทั้งนี้ สศช. ได้จัดทำเอกสาร “ตัวชี้วัดการพัฒนาระดับจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ฉบับเดือนกรกฎาคม 2564″ ซึ่งเป็นชุดข้อมูลระหว่างปี 2558 – 2562 เผยแพร่ให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัดนำไปใช้ประโยชน์ในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) และแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ 2566
*การจัดกลุ่มจังหวัดตามค่าดัชนีการพัฒนาที่ยั่งยืนระดับจังหวัด คำนวณจากข้อมูลตัวชี้วัดระดับจังหวัดที่สอดคล้องกับตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Indicators) ที่ครอบคลุมทั้ง 5 มิติ (มิติการพัฒนาคน มิติสิ่งแวดล้อม มิติเศรษฐกิจและความมั่งคั่ง มิติสันติภาพและความยุติธรรม และมิติความเป็นหุ้นส่วนการพัฒนา)
**จังหวัดนำร่อง 9 จังหวัด ได้แก่ กาฬสินธุ์ นราธิวาส น่าน ยโสธร เลย ลพบุรี เพชรบุรี สุราษฎร์ธานี ฉะเชิงเทรา พื้นที่นำร่อง 5 แห่ง ได้แก่ เทศบาลตำบลวังไผ่ (จังหวัดชุมพร) เทศบาลเมืองศรีสะเกษ (จังหวัดศรีสะเกษ) เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี (จังหวัดสุราษฎร์ธานี) องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านไร่ (จังหวัดอุทัยธานี) และองค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ (จังหวัดกระบี่)
ดัชนีการพัฒนาระดับจังหวัด
*ข้อมูลปี 2561
- ดัชนีรวม
- มิติ People
- มิติ Prosperity
- มิติ Planet
- มิติ Peace
- มิติ Partnership
- รายชื่อจังหวัด






1. จังหวัดอ่างทอง
2. จังหวัดชัยนาท
3. จังหวัดลพบุรี
4. จังหวัดกาญจนบุรี
5. จังหวัดนครปฐม
6. จังหวัดนนทบุรี
7. จังหวัดปทุมธานี
8. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
9. จังหวัดสมุทรปราการ
10. จังหวัดสมุทรสาคร
11. จังหวัดสมุทรสงคราม
12. จังหวัดสระบุรี
13. จังหวัดสิงห์บุรี
14. จังหวัดสุพรรณบุรี
15. จังหวัดราชบุรี
16. จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
17. จังหวัดเพชรบุรี
1. จังหวัดอำนาจเจริญ
2. จังหวัดบึงกาฬ
3. จังหวัดบุรีรัมย์
4. จังหวัดชัยภูมิ
5. จังหวัดกาฬสินธุ์
6. จังหวัดขอนแก่น
7. จังหวัดเลย
8. จังหวัดมหาสารคาม
9. จังหวัดมุกดาหาร
10. จังหวัดนครพนม
11. จังหวัดนครราชสีมา
12. จังหวัดหนองบัวลำภู
13. จังหวัดหนองคาย
14. จังหวัดร้อยเอ็ด
15. จังหวัดสกลนคร
16. จังหวัดศรีสะเกษ
17. จังหวัดสุรินทร์
18. จังหวัดอุบลราชธานี
19. จังหวัดอุดรธานี
20. จังหวัดยโสธร