สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กระทรวงมหาดไทย และจังหวัดภูเก็ตเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระหว่างประเทศ แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่ายอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle) หรือ IMT-GT ระหว่างวันที่ ๑๓ – ๑๖ กันยายน ๒๕๖๕ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของไทยเป็นประธาน ร่วมกับรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีของมาเลเซีย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงประสานกิจการเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย
การประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ ๒๘ แผนงาน IMT-GT ครั้งนี้ เป็นการประชุมแบบพบหน้าครั้งแรก หลังจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ ซึ่งรัฐบาลไทย โดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กระทรวงมหาดไทย และจังหวัดภูเก็ต ได้เตรียมความพร้อมในการจัดประชุมดังกล่าว รวมทั้งการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ การประชุมระดับมุขมนตรีและผู้ว่าราชการจังหวัด และการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสประจำแผนงาน IMT-GT ไว้อย่างเหมาะสม เพื่อให้เหมาะสมกับเกียรติภูมิของประเทศไทย โดยได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และประชาชนในพื้นที่
แผนงาน IMT-GT เป็นกรอบความร่วมมือระดับอนุภูมิภาคที่มีความสำคัญ ครอบคลุมพื้นที่ ๑๔ จังหวัดภาคใต้ของไทย ๘ รัฐภาคเหนือ และตะวันตกของมาเลเซีย และ ๑๐ จังหวัดในเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย ซึ่งมีวิสัยทัศน์ร่วมกันในการทำให้อนุภูมิภาคนี้มีการบูรณาการ มีนวัตกรรม ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และยั่งยืน ภายใน ปี ค.ศ. ๒๐๓๖ หรือเรียกว่า IMT-GT Vision 2036 โดยการดำเนินงานของแผนงาน IMT-GT ประกอบด้วยคณะทำงาน ๘ สาขาความร่วมมือ ได้แก่ (๑) การเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร (๒) การท่องเที่ยว (๓) ผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาล (๔) การเชื่อมโยงทางคมนาคม (๕) การอานวยความสะดวกในการค้าและการลงทุน (๖) สิ่งแวดล้อม (๗) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และ (๘) เทคโนโลยีดิจิทัล รวมทั้งยังได้ให้ความสำคัญและมุ่งเน้นการสร้างบทบาทความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนของทั้งสามประเทศ ซึ่งจะยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจของพื้นที่ได้อย่างแท้จริง
การประชุมระดับรัฐมนตรีแผนงาน IMT-GT ในวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๖๕ นี้ จะเป็นเวทีสำคัญในการประกาศใช้แผนดำเนินงานระยะห้าปี ฉบับที่ ๒ หรือ Implementation Blueprint ๒๐๒๒-๒๐๒๖ (IB 2022-2026) ซึ่งจะต่อยอดการพัฒนา และนำไปสู่การฟื้นตัวของอนุภูมิภาคอย่างยืดหยุ่น ครอบคลุม (Inclusive) และยั่งยืน (Sustainable) ต่อไป
ทั้งนี้ การประชุมครั้งนี้มีนัยสำคัญต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะในภาคการท่องเที่ยว และยังเป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของจังหวัดภูเก็ต ในฐานะจุดหมายปลายทางของการจัดประชุมระหว่างประเทศ แสดงให้เห็นถึงความพร้อมของอุตสาหกรรม MICE และการท่องเที่ยวเชิงชุมชนของจังหวัด รวมไปถึงประชาชนภูเก็ตทุกคนในการรับรองผู้มาเยือนจากต่างประเทศอีกด้วย
วันที่ 4 พฤศจิกายน 2563 นายถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในฐานะผู้แทนรัฐมนตรีประจำแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (GMS Minister) เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนเจ้าหน้าที่ไทยเข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรี แผนงาน GMS ครั้งที่ 24 (24th GMS Ministerial Conference) ผ่านระบบการประชุมทางไกล ภายใต้หัวข้อหลักคือ “มุ่งปูทางเพื่อการบูรณาการที่เพิ่มขึ้น เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ เพื่อความยั่งยืน และความเจริญมั่งคั่งในอนุภูมิภาค GMS” ซึ่งกระทรวงการคลัง สาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมร่วมกับธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) โดยมี นายวันฉัตร สุวรรณกิตติ ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงานสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะประธานการประชุมเพื่อการพัฒนาแนวระเบียงเศรษฐกิจ แผนงาน GMS ครั้งที่ 11 (11th GMS Economic Corridor Forum) ได้รายงานความสำเร็จของการประชุมดังกล่าว ในโอกาสนี้ด้วย
ในการประชุมครั้งนี้ มีรัฐมนตรีประจำแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (GMS Minister) เข้าร่วม ได้แก่นายซก เจนดา โซเพียรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และเลขาธิการสภาเพื่อการพัฒนาแห่งกัมพูชา ราชอาณาจักรกัมพูชาดร.กิแก้ว จันทะบุลีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแผนการและการลงทุน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวนายบารัต ซิงห์รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการลงทุนและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมานายถาวร เสนเนียมรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมนายทราน ก๊วก ฟึงรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวางแผนและการลงทุน สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม โดยมีน.ส. โซว เจียหยี่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง สาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นประธานการประชุม ร่วมกับ