การเตรียมความพร้อมของประเทศไทยในการเข้าเป็นสมาชิก OECD (TH2OECD)

ความเป็นมาของการเตรียมความพร้อมของประเทศไทย
ในการเข้าเป็นสมาชิก OECD

กรอบการพิจารณาการเข้าเป็นสมาชิก OECD
(Framework of Consideration of Prospective Members)





เอกสารที่เกี่ยวข้อง
เอกสารสำคัญ
Legal Instruments
Examples of Reservation
Q&A
about OECD
Pros and Cons ของการเข้าเป็นสมาชิก OECD
Question #1
การเข้าเป็นสมาชิก OECD แตกต่างจาก การเข้าเป็นสมาชิกองค์การระหว่างประเทศอื่น ๆ อย่างไร
Question#2
การเข้าเป็นสมาชิก OECD อาจทำให้ไทย เกิดความเหลื่อมลำ้มากขึ้นหรือไม่
Question#3
เหตุผลในการกำหนดกรอบระยะเวลา การเข้าเป็นสมาชิก 5 ปี6 เดือน
Question#4
กระบวนการ Thailand Accession ต้องเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาหรือไม่
Question#5
หากหน่วยงานไทยปรับตามมาตรฐาน OECD ไม่ได้จะทำอย่างไร
Question#6
มีประเทศใดบ้างที่เมื่อเข้าสู่กระบวนการ Accession ไปแล้ว กลับไม่ผ่านมาตรฐานของ OECD และเป็นอันต้องยกเลิกการเข้าเป็นสมาชิกไป
Question#7
ประเทศที่เพิ่งเข้าเป็นสมาชิกมีพัฒนาการ ด้านใดเพิ่มขึ้นบ้าง อาทิ GDP
Question#8
Answer
Pros and Cons ของการเข้าเป็นสมาชิก OECD ?
Answer
Pros
ผลักดันให้เกิดการปฏิรูปโครงสร้างหลายมิติ และมีมาตรฐานเทียบเท่าสากล
เพิ่มการแข่งขันทางการค้า และโอกาสเข้าถึงตลาดประเทศสมาชิก
GDP ของไทยจะเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 คิดเป็นมูลค่า 2.7 แสนล้านบาท ในปี 2563
เข้าถึงฐานข้อมูลเศรษฐกิจโลกมากขึ้น
ได้รับคำปรึกษาและความช่วยเหลือทางวิชาการจาก OECD อย่างใกล้ชิด
สร้างภาพลักษณ์ที่ดีและส่งเสริมบทบาทไทยในเวทีโลก
Cons
• ต้องเสียค่าสมาชิกรายปี ประมาณ 3 – 7 ล้านยูโร/ปี ขึ้นอยู่กับขนาดเศรษฐกิจของประเทศ
• การเข้าเป็นสมาชิกอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม ในบางเรื่อง อาทิ ความจำเป็นในการเปิดเผยข้อมูล และ การไม่สามารถเลือกปฏิบัติได้ (non-discrimination)
2. การเข้าเป็นสมาชิก OECD แตกต่างจาก การเข้าเป็นสมาชิกองค์การระหว่างประเทศอื่น ๆ อย่างไร ?
Answer
-
OECD เปรียบเสมือน think thank ที่เป็นแหล่งรวม (platform) ของผู้เชี่ยวชาญและคลังข้อมูลหลากหลาย ซึ่งประเทศต่างๆ สามารถ ขอรับคำปรึกษาหรือใช้เป็นแหล่งความรู้ในการจัดการปัญหาด้าน ต่างๆ ได้
-
จุดเด่นของ OECD คือการทำงานในลักษณะ Committee ที่จะมี ผู้เชี่ยวชาญครอบคลุมหลายสาขา เน้นการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ตามบริบทของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปจุดประสงค์
-
ไม่มีระบบลงโทษประเทศสมาชิกในกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐาน ร่วมกัน แต่จะใช้กลไก peer review ในการประเมินผลการปฏิบัติตาม มาตรฐาน และให้ความเห็นเชิงวิชาการ
-
ไม่มีการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประเทศสมาชิก แต่จะเน้น การหารือเพื่อก าหนดมาตรฐานและสนับสนุนนโยบายเพื่อช่วย พัฒนาความอยู่ดีกินดี เสริมสร้างโลกที่แข็งแรง สะอาด และยุติธรรม มากขึ้น ตาม motto ที่ว่า “Better policies for better lives”
การเข้าเป็นสมาชิก OECD อาจท าให้ไทย เกิดความเหลื่อมล้ำมากขึ้นหรือไม่ ?
Answer
-
งานวิจัย TDRI ระบุว่า หากไทยเข้าเป็นสมาชิกจะทำให้ความเหลื่อมล้ำลดลงเพียงเล็กน้อย ซึ่งไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ จึงสรุปได้ว่า การเข้าเป็นสมาชิก OECD ไม่ทำให้ความเหลื่อมลำ้ของไทยเพิ่มขึ้นหรือน้อยลงอย่างมีนัยสำคัญ
-
การเข้าเป็นสมาชิกมีทั้งผู้ได้/เสียประโยชน์ ดังนั้น ไทยอาจพิจารณาจัดทำข้อสงวนใน ประเด็นที่ต้องคงไว้ซึ่งผลประโยชน์แห่งชาติ รวมถึงภาครัฐต้องมีมาตรการเยียวยาผู้ได้รับ ผลกระทบด้วย
-
ตัวอย่างข้อสงวนที่คอสตาริก้าซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใกล้เคียงกับไทยได้จัดทำ อาทิ
-
การอนุญาตให้ชาวต่างชาติใช้ที่ดินด าเนินธุรกิจได้เฉพาะบางพื้นที่
-
การประกอบอาชีพเฉพาะทาง เช่น แพทย์ วิศวกร ต้องดำเนินการตามข้อกำหนด ภายในประเทศเท่านั้น
-
กิจการด้านขนส่งทางบกภายในประเทศสามารถดำเนินการได้เฉพาะบริษัทของ คอสตาริก้า โดยบริษัทนั้นต้องมีถือหุ้นเป็นชาวคอสตาริก้าไม่น้อยกว่าร้อยละ 51
-
เหตุผลในการกำหนดกรอบระยะเวลา การเข้าเป็นสมาชิก 5 ปี 6 เดือน ?
Answer
-
ไทยมีความร่วมมือกับ OECD มายาวนานกว่า 20 ปี มีการปรับมาตรฐาน ให้สอดคล้องกับ OECD ระดับหนึ่งแล้ว ผ่านการดำเนินโครงการ Country Programme ระยะที่ 1 (61-64) และ ระยะที่ 2 (66-68)
-
ไทยให้การรับรองตราสารของ OECD แล้ว 10/268 ฉบับ และเพิ่มระดับ สถานะใน Committee มาอย่างต่อเนื่อง อาทิ ปี 2564 สคก. ได้รับสถานะ Participant ใน Regulatory Committee
-
OECD จัดให้ไทยอยู่ในระดับ tier1 ที่ OECD สนใจจะเชิญเข้าเป็นสมาชิก
กระบวนการ Thailand Accession ต้องเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาหรือไม่ ?
Answer
-
กระบวนการเข้าสู่การเป็นสมาชิก OECD อาจมีความเกี่ยวข้องกับมาตรา 178 ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ในประเด็นหนังสือ สัญญาที่จะดำเนินการร่วมกับองค์การระหว่างประเทศ
-
ดังนั้น จึงอาจมีการนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาด้วย โดยรายละเอียดจะมีการหารือกับกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาต่อไป
-
ดังนั้น จึงอาจมีการนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาด้วย โดยรายละเอียดจะมีการหารือกับกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาต่อไป
หากหน่วยงานไทยปรับตามมาตรฐาน OECD ไม่ได้จะทำอย่างไร ?
Answer
-
สศช. และ กต. จะหารือกับ OECD และจะเชิญหน่วยงานไทยที่เกี่ยวข้อง มาร่วมหารือ พร้อมแสดงเหตุผล/ข้อห่วงกังวลที่ไทยอาจไม่สามารถปรับตาม OECD ได้ ซึ่งหน่วยงานสามารถเจรจาเพื่อจัดทำข้อสงวนบางประเด็น โดยยึดผลประโยชน์ของไทยเป็นที่ตั้งสศช. และ กต. จะหารือกับ OECD และจะเชิญหน่วยงานไทยที่เกี่ยวข้อง มาร่วมหารือ พร้อมแสดงเหตุผล/ข้อห่วงกังวลที่ไทยอาจไม่สามารถปรับตาม OECD ได้ ซึ่งหน่วยงานสามารถเจรจาเพื่อจัดทำข้อสงวนบางประเด็น โดยยึดผลประโยชน์ของไทยเป็นที่ตั้ง
มีประเทศใดบ้างที่เมื่อเข้าสู่กระบวนการ Accession ไปแล้ว กลับไม่ผ่านมาตรฐานของ OECD และเป็นอันต้องยกเลิกการเข้าเป็นสมาชิกไป ?
Answer
-
ไม่มีประเทศที่ไม่ผ่านมาตรฐานของ OECD แล้วโดนบอกยกเลิก มีเพียงเหตุการณ์ ภายในประเทศนั้น ๆ ที่ทำให้ OECD ประกาศยุติกระบวนการ Accession และการที่ ประเทศสมาชิก Veto ประเทศผู้สมัคร เพราะความขัดแย้งส่วนตัว
-
รัสเซีย คือประเทศที่ OECD ประกาศยุติกระบวนการ Accession ไปเมื่อปี 2014 เนื่องจากวิกฤตการณ์ไครเมีย โดยก่อนหน้านี้รัสเซียได้เข้ากระบวนการ Accession มาตั้งแต่ปี 2007
-
โครเอเชีย คือประเทศที่ถูก Veto แต่สุดท้ายก็ได้รับมติเอกฉันท์ (consensus) ให้เข้า กระบวนการ Accession โดยปี 2017 โครเอเชียได้ยื่นเจตจำนงเข้าเป็นสมาชิก แต่ถูก ฮังการี Veto เนื่องจากทั้งสองประเทศมีความขัดแย้งกันเรื่องคดีทุจริตบริษัทน้ำมัน อย่างไรก็ตาม ปี 2018 ฮังการียุติการคัดค้านการเป็นสมาชิก ท าให้โครเอเชียได้รับ มติเอกฉันท์ในการเข้ากระบวนการ Accession ไปเมื่อปี 2022
ประเทศที่เพิ่งเข้าเป็นสมาชิกมีพัฒนาการ ด้านใดเพิ่มขึ้นบ้าง อาทิ GDP ?
Answer
-
งานวิจัย TDRI ระบุว่า จากการประเมินเศรษฐกิจของ 7 ประเทศสมาชิกที่มี ขนาดเศรษฐกิจใกล้เคียงกับไทย พบว่า การเข้าเป็นสมาชิกช่วยเพิ่มผลิตภาพ โดยรวมของประเทศ ซึ่งทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของ GDP โดยตรงร้อยละ 0.05 และเศรษฐกิจขยายตัวสุทธิร้อยละ 1.6 ในช่วง 5 ปีแรก