
ความสำเร็จในการดำเนินงานของบริษัทฯ มีดังนี้
1) ชุมชนมีทุนที่มีศักยภาพ ผู้นำชุมชนเข้มแข็ง ประชาชนมีความมุ่งมั่นตั้งใจ มีความสามัคคี ทำงานแบบมีส่วนร่วม
2) มีภาคีเครือข่ายการดำเนินงานที่หลากหลาย ทั้งภายใน และภายนอกชุมชน
3) บริษัทฯ บริหารจัดการงานอย่างเป็นระบบ ด้วยการกำหนดกลไกกระบวนการ/ขั้นตอน การดำเนินงานที่ชัดเจน
4) ใช้องค์ความรู้และจุดเด่นของแต่ละภาคีมาช่วยในการทำงาน เช่น ภาครัฐเป็นผู้กำหนดนโยบายและเป็นผู้สนับสนุน ภาคเอกชนเป็นผู้ขับเคลื่อน ภาควิชำการเป็นผู้สนับสนุนองค์ความรู้ เป็นต้น
5) มีการติดตามการดำเนินงานเป็นระยะอย่างเป็นระบบ และ
6) ทบทวนการดำเนินงานในพื้นที่อย่างสม่ำเสมอ เพื่อปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และนำไปสู่ความยั่งยืนอย่างแท้จริง
ข้อจำกัด ที่ส่งผลให้บริษัทฯ มีความก้าวหน้าไม่มากพอเท่าที่ควร คือ
1) ชุมชนบางกลุ่มยังไม่เข้าใจแนวคิด การดำเนินงำนของบริษัทฯ และยังยึดติดกับการทำงานที่เน้นการรองรับความช่วยเหลือจากภาครัฐเพียงอย่างเดียว ส่งผลให้การขับเคลื่อนงานยังไม่สามารถขยายผลได้ครบทั้ง 8 ผลิตภัณฑ์ตามที่คัดเลือกไว้
2) เกษตรกรและชุมชน ไม่เห็นประโยชน์ของแนวคิด “ประชำรัฐ” ทำให้การเข้าร่วมทำงานกับบริษัทฯ ยังมีน้อยอยู่
3) บริษัทฯ ไม่ได้ใช้กลไกกำรบริหารจัดการและโครงสร้างแบบบริษัทอย่างแท้จริง แต่ยังคงใช้รูปแบบการทำงานและบริหารจัดการแบบราชการทำให้การดำเนินงานของบริษัทฯ ยังไม่คล่องตัวเท่าที่ควร
4) กฎระเบียบของบริษัทประชำรัฐรักประเทศไทย จำกัด ยังไม่สอดคล้องกับการดำเนินงานของบริษัทฯ ในทางปฏิบัติ ส่งผลให้การทำงานในภาพรวมทำได้ล่ำช้ำ เช่น บริษัทฯ ไม่สามารถระดมเงินทุนให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ คือ 4 ล้านบาท (ปัจจุบันเงินทุนของบริษัทฯ มี 2 ล้านบาท)
5) ประชาชนและชุมชนที่เข้าร่วมงานกับบริษัทฯ ยังขาดแหล่งเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินกิจกรรมทำให้ชุมชนต้องไปกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินทั่วไปและแหล่งเงินนอกระบบ และ
6) จังหวัดเชียงใหม่มีการกำหนดเขตการปลูกพืช (Zoning) ทำให้เกษตรกรไม่สามารถเข้าโครงการประชำรัฐในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกลำไยแปลงใหญ่ได้ทุกคน
ข้อเสนอแนะ เพื่อให้การขับเคลื่อนงานของบริษัทฯ บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กำหนด มีดังนี้
1) บริษัทฯ ควรสร้างความเข้าใจแก่ชุมชนในวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และรายละเอียดโครงการให้ชัดเจน เพื่อขยายผลผลิตภัณฑ์/บริการ และพื้นที่ที่จะเข้าร่วมงานกับบริษัทฯ
2) การดำเนินงำนของบริษัทฯ ควรคำนึงถึงความสมดุลทางรายได้ของจังหวัด โดยให้เกิดกำรกระจายรายได้อยู่ภายในจังหวัด ลงสู่ถึงระดับชุมชนและประชำชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรักษาไว้ซึ่งเศรษฐกิจชุมชนไม่ให้ถูกเศรษฐกิจรายใหญ่ทำลาย
3) บริษัทฯ ควรมีการประเมินผลการดำเนินงานที่ผ่านมาระหว่างภาคีที่ร่วมงาน และควรถอดบทเรียนการดำเนินงานที่ผ่านมา เพื่อแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น
4) ควรสำรวจความพึงพอใจในการดำเนินงานของผู้ซื้อผู้ขาย (เกษตรกรและพันธมิตรทางการค้ำ) เพื่อวางแผนขยายผลการดำเนินงานในระยะต่อไป ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ซื้อ ตลอดจนปริมาณและคุณภาพผลผลิตของเกษตรกรเพื่อนำไปสู่ความยั่งยืน
5) ควรเชื่อมโยงการดำเนินงานกับบริษัทฯของจังหวัดอื่น เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์ และให้ความช่วยเหลือในการดำเนินงาน และ
6) ควรมี key person ที่มีความรอบรู้ ทั้งด้านวิชำการและการประสานงาน เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้ การขับเคลื่อนงานของบริษัทประชารัฐฯ ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลนั้น ปัจจัยที่สำคัญที่สุด คือ บุคลำกร ที่ต้องมีแนวคิดทำเพื่อสังคมอย่างแท้จริง มีความตั้งใจ มีธรรมาภิบาล และสามารถขับเคลื่อนงานให้เป็นรูปธรรมที่สามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายว่า บริษัทประชำรัฐฯ จะต้องเลี้ยงตัวเองได้ นอกจากนี้ ความยั่งยืนในการดาเนินงานจะเกิดขึ้นได้เมื่อกิจกรรมนำไปสู่ประโยชน์สูงสุดต่อชุมชน ประชาชนทุกคนมีงานทำ มีรายได้ ชุมชนมีแหล่งเงินทุนเป็นของตนเอง เข้มแข็ง ไม่มีปัญหาหนี้สิน ประชาชนมีความภูมิใจในอัตลักษณ์ของตนเอง โดยประชำชนจะต้องเป็นคนสร้างความยั่งยืนในพื้นที่ของตนเองด้วยตนเอง ขณะเดียวกัน การดำเนินงาน ต้องสอดคล้องและมีความสมดุลกับศักยภาพ และทุนของพื้นที่ ทั้งทุนทางทรัพยากรธรรมชำติ ทุนทางสังคม และทุนทางวัฒนธรรม ทั้งนี้ ความยั่งยืนจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ หากกิจกรรมที่เกิดขึ้นขัดแย้งกับวัฒนธรรมและความรู้สึก ของประชำชนในภาพรวม