หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับ SDGs

หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับ SDGs

ศูนย์เรียนรู้ผู้ใหญ่กฐิน เป็นการต่อยอดการดำเนินงานจากไร่นาสวนผสม สู่การสร้างพื้นที่ต้นแบบโครงการ “โคก หนอง นา โมเดล”

การขับเคลื่อน SDGs กับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13

งานก้าวพอดี 2565 พลิกโฉมประเทศไทย ก้าวต่อไปอย่างยั่งยืน

รศ.ดร.จุรี วิจิตรวาทการ ประธานอนุกรรมการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมเสวนาในเวทีเสวนา “การขับเคลื่อน SDGs กับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13” งานก้าวพอดี 2565 พลิกโฉมประเทศไทย ก้าวต่อไปอย่างยั่งยืน เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2565 สรุปได้ ดังนี้

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 เป็นแผนกำหนดกรอบและทิศทางการพัฒนาที่ชัดเจน ที่ประเทศควรมุ่งไปในระยะ 5 ปี เพื่อให้ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” โดยอาศัยหลักการและแนวคิด 4 ประการ ประกอบด้วย
(1) หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (2) การสร้างความสามารถในการ “ล้มแล้ว ลุกไว” (Resilience) (3) เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs) และ (4) การพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว (BCG)

คณะอนุกรรมการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีบทบาทหน้าที่ในการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเข็มทิศของเป้าหมายการพัฒนา ผ่านการจัดการองค์ความรู้การพัฒนาที่ยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (SEP for SDGs) พร้อมทั้งสื่อสารเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง โดยเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจ และสร้างความตระหนักรู้ SEP for SDGs แก่คนทุกระดับทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งส่งเสริมและการพัฒนาเครือข่ายการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการบรรลุ SDGs ให้นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ปรับเปลี่ยนความคิด (Mindset) และสามารถสื่อสารให้ประชาคมโลกรับรู้ว่า “การพัฒนาที่ยั่งยืนเกิดขึ้นได้บนฐานของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” นอกจากนี้ ยังมีบทบาทในการส่งเสริมการขับเคลื่อนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ให้บรรลุเป้าหมาย โดยเชื่อมโยง SDGs เข้ากับเป้าหมายการพัฒนาของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ให้กลายเป็นเรื่องเดียวกัน รวมถึงเชื่อมโยงการทำงานของทุกภาคส่วนเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ซึ่งกันและกันและมีเป้าหมายการพัฒนาร่วมกันอย่างแท้จริง

คู่มือตัวชี้วัดผลลัพธ์การพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืนด้วยการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

จัดทำโดย คณะกรรมการเศรษฐกิจพอเพียงและลดความเหลื่อมล้ำ หอการค้าไทย

คู่มือการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในต่างประเทศ

Handbook on the Promotion of International Development Projects based on the Application of Sufficiency Economy Philosophy

จัดทำโดย กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ

หญิงแว้ง

กะนิง-จุฑามณี หามะ นายก อบต. หญิงคนแรกของตำบลแว้ง จ.นราธิวาส ผู้สร้างอาชีพและระบบสวัสดิการดูแลคนทุกวัย และเป็นที่พึ่งของประชาชนตลอด 16 ปี

บทความโดย The Cloud

จดหมายข่าวอุดมศึกษา ฉบับที่ 579 วันที่ 12 เมษายน 2564

สารคดีเทิดพระเกียรติชุด "สืบสาน รักษา และต่อยอด ตามรอยบาทพระราชา"

ศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและความมั่นคง กองบัญชาการกองทัพไทย จัดทำสารคดีเทิดพระเกียรติชุด “สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามรอยบาทพระราชา”

ตอน หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงตามรอยเท้าพ่อ

ตอน “ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง รร.ต.ช.ด.ค็อกนิสไทยฯ”

ร่วมกันสร้างวิถีพอเพียง

       ผลการจัดงานก้าวพอดี (A Bright Leap Forward) Open House การนำใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่สนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

          มีผู้เข้าร่วมงาน ประมาณ 1,500 ราย ประกอบด้วย สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติคณะกรรมการมูลนิธิพัฒนาไท คณะอนุกรรมการส่งเสริมความเข้าใจและประเมินผลการพัฒนาที่ยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คณะอนุกรรมการอำนวยการธนาคารสมอง ผู้บริหาร สศช. ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ชุมชนท้องถิ่น/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วุฒิอาสาธนาคารสมอง สถาบันการศึกษาทั้ง โรงเรียน มหาวิทยาลัย ผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ นักเรียน นิสิต/นักศึกษา ประชาชนทั่วไปที่สนใจ เจ้าหน้าที่ สศช. และ มพท. โดยประธานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและ…

          ความสำเร็จในการดำเนินงานของบริษัท ประชารัฐรักสามัคคีเชียงใหม่ จำกัด มีดังนี้
1) ชุมชนมีทุนที่มีศักยภาพ ผู้นำชุมชนเข้มแข็ง ประชาชนมีความมุ่งมั่นตั้งใจ มีความสามัคคี ทำงานแบบมีส่วนร่วม
2) มีภาคีเครือข่ายการดำเนินงานที่หลากหลาย ทั้งภายใน และภายนอกชุมชน…

เรื่องเล่าจากพื้นที่

          โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) บ้านสี่แยกสวนป่า ตำบลวังหิน อำเภอบางขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นหน่วยงานสาธารณสุขที่มุ่งสร้างเสริมสุขภาพมากกว่าการซ่อมแซมสุขภาพ ด้วยการสร้างความรู้ความเข้าใจและให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพของคนในชุมชนในทุกมิติอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งกระตุ้นให้ชาวบ้านตระหนักว่า “ไม่มีใครจะดูแลเราได้ดี เท่ากับตัวเราดูแลตัวเอง” การใช้ชีวิตของประชาชนในปัจจุบัน ทำให้ผู้คนส่วนใหญ่…

          พื้นที่ที่ราบหุบเขาใน ต.แม่สลองใน อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ห่างจากชายแดนประเทศสาธรณรัฐเมียนมาร์เพียงแค่ 6 กิโลเมตร มีหมู่บ้านเล็กๆ ของชนเผ่าอาข่าและลาหู่ที่อพยพเข้ามาอาศัยเมื่อปี พ.ศ. 2474 หรือ 88 ปีที่แล้ว คือ บ้านโป่งไฮและบ้านนาโต่ ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร ปลูกชาและพืชไร่ ไม่มีที่ดินเป็นของตัวเอง มีฐานะยากจน ไม่สามารถสื่อสารภาษาไทยได้ ภาครัฐจึงได้จัดตั้งโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบำรุงที่ 112 ที่หมู่บ้านโป่งไฮ และโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านนาโต่ เพื่อทำงานด้านการข่าว และติดต่อประสานงานกับชุมชน…

จากนโยบายสู่การปฏิบัติ

การบรรยายเรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดย น.ส.จินางค์กูร โรจนนันต์ รองเลขาธิการ สศช. ณ สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2563

เรื่องเด่น

Download E-Book ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง