ชุมชนหัวอ่าวเป็นชุมชนที่ได้เรียนรู้และนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้เป็นหลักคิด เป็นหลักปฏิบัติในการขับเคลื่อนการพัฒนาผ่านกระบวนการระเบิดจากข้างในเพื่อร่วมกันแก้ไขแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นชุมชน โดยการดำเนินงานเริ่มจากกลุ่มเล็ก ๆ ที่มีความเห็นร่วมกันผ่านการเรียนรู้ความสำเร็จความล้มเหลวจนกระทั่งเกิดความเชื่อมั่นแล้วจึงขยายผลด้วยความรอบคอบ การประยุกต์ใช้ความรู้ เทคโนโลยีที่เหมาะสม ปัจจุบัน เศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ สภาพแวดล้อมของชุมชนหัวอ่าวดีขึ้นชัดเจน โดยเฉพาะครัวเรือนที่ทำเกษตรอินทรีย์ หรือ ครัวเรือนที่ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งมิติที่มีการพัฒนาดีขึ้นชัดเจน คือ (1) มีสุขภาพกายดีขึ้น สารเคมีในเลือดลดลงอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากได้รับประทานอาหารปลอดสารพิษ และมีชีวิตประจำวันห่างไกลจากสารเคมี (2) ครอบครัวอบอุ่น สมาชิกในครอบครัวทำงานร่วมกันในพื้นที่ของตนเอง ได้ใกล้ชิด พูดคุยและแก้ปัญหาร่วมกัน (3) มีรายได้ในครัวเรือนเพิ่มขึ้นและมั่นคงแน่นอน เนื่องจากผลผลิตมีตลาดรองรับ (4) ลดต้นทุนการผลิต เพราะใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ชุมชนผลิตเอง (5) สภาพแวดล้อมดีขึ้น สภาพดินสมบูรณ์ สภาพอากาศดี มีแมลงต่าง ๆ อาทิ หิ่งห้อย แมงปอ จิ้งกือ นอกจากนี้ ชุมชนหัวอ่าวถือเป็นชุมชนที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เห็นผลเป็นรูปธรรม ชาวบ้านหัวอ่าวเริ่มจัดทำบัญชีครัวเรือน บันทึกรายรับ รายจ่าย รู้จักวิเคราะห์ต้นทุน การวางแผนการผลิต ตลอดจนมีจิตสาธารณะ เอื้อเฟื้อแบ่งปัน และเป็นศูนย์เรียนรู้ของชุมชนสังคมไทยและสังคมโลกอย่างกว้างขวางต่อไป
ปัจจัยความสำเร็จในการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ณ วันนี้ นับได้ว่าชุมชนบ้านหัวอ่าวประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยสามารถนำชุมชนออกจากปัญหาที่เผชิญสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนจนได้รับรางวัลพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง “อยู่เย็น เป็นสุข” ปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันทั่วไปทั้งในและต่างประเทศในฐานะของศูนย์เรียนรู้การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ความยั่งยืน โดยมีปัจจัยความสำเร็จที่ชัดเจน ดังต่อไปนี้
- การมีผู้นำชุมชนเป็นแบบอย่างที่ดีในการนาใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทั้งในการประกอบอาชีพและการดำเนินวิถีชีวิต เป็นแกนหลักในการทำเกษตรอินทรีย์ ในพื้นที่ ๘๐ ไร่ ที่มีกิจกรรมเกษตรผสมผสานให้สมาชิกในชุมชนได้เรียนรู้ ปฏิบัติงานด้วยความเสียสละ เห็นประโยชน์ส่วนรวมและมีการพัฒนาความรู้ของตนเองอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนั้น ผู้นำชุมชนยังมีวิสัยทัศน์มองเห็นความยั่งยืนอยู่ที่การสร้างโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน มีจิตใจกว้างรับฟังความคิดเห็นต่างและมองเห็นประโยชน์ของส่วนร่วมเป็นที่ตั้ง
- การปลูกฝังจิตสำนึกและส่งเสริมการน้อมนาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงควบคู่กับการทำเกษตรอินทรีย์และการทำอาชีพที่ก่อให้เกิดรายได้ ลดรายจ่ายให้แก่ครอบครัว ทาให้สามารถพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน
- การใช้เวทีประชาคมเป็นเวทีสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ทั้งการร่วมคิด ร่วมทำ และร่วมติดตามตรวจสอบ รวมทั้งเป็นศูนย์กลางในการชี้แจงข่าวสาร ให้การเรียนรู้ รับฟังปัญหา และหาแนวทางการแก้ไขร่วมกัน
- ส่งเสริมการทำกิจกรรมการพัฒนา โดยใช้ทรัพยากรในชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม มีการบริหารจัดการที่ดีมีระบบ ก่อให้เกิดความยั่งยืนในการพึ่งตนเองของคนในชุมชน เช่นการกลุ่มปุ๋ยชีวภาพ กองทุนหมู่บ้านและกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ให้มีจานวนสมาชิกเพิ่มขึ้น มีทุนหมุนเวียนพอเพียงสาหรับให้สมาชิกในชุมชนได้ กู้ยืม และมีการจ่ายคืนเงินปันผลให้กับสมาชิกทุกคน ทำให้คนจนและผู้ด้อยโอกาสได้มีทุนดอกเบี้ยต่ำเพียงพอในการนาไปประกอบอาชีพ เพื่อสร้างรายได้
- มีกิจกรรมเป็นเครื่องมือในการสานความสัมพันธุ์ในชุมชนอย่างสม่ำเสมอ เช่น มีกิจกรรมผู้สูงอายุ กิจกรรมพัฒนาหมู่บ้านประกวดบ้านสุขภาวะดี ปี ๒๕๕๘ประกวดผู้สูงอายุสุขภาพดี ในปี ๒๕๕๙ เป็นต้น