
ภาพจากการประกวดภาพถ่าย “ส่งเสริมยุทธศาสตร์ชาติ ด้วยพลังภาพถ่ายที่สร้างสรรค์”
ความเป็นเมืองกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยสหประชาชาติคาดการณ์ว่าภายในปี 2593 ประชากรโลกที่อาศัยในเขตเมืองจะมีมากถึงร้อยละ 68 ของจำนวนประชากรทั่วโลก หรือที่จำนวน 6.7 พันล้านคน เนื่องจากเมืองเป็นแหล่งสำคัญของการจ้างงาน มีความพร้อมด้านระบบสาธารณูปโภคและการคมนาคมขั้นพื้นฐาน และมีสวัสดิการสังคมต่าง ๆ รองรับ ดังนั้น การทำให้เมืองที่อยู่อาศัยมีคุณภาพ มีสภาพแวดล้อมที่ดี มีความปลอดภัย และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จึงเป็นเรื่องที่ทุกภาคส่วนต้องให้ความสำคัญ นอกจากนี้ การพัฒนาเมืองจะต้องคำนึงถึงมิติความแตกต่างทางสังคม โดยเฉพาะการพัฒนาที่คำนึงถึงกลุ่มเปราะบาง อาทิ ผู้พิการ ผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ และผู้มีรายได้น้อย ให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในเมืองได้อย่างมีคุณภาพ และเข้าถึงบริการพื้นฐานต่าง ๆ ได้อย่างเท่าเทียม
การพัฒนาเมืองให้เป็นเมืองที่เหมาะสมต่อการอยู่อาศัย มีความครอบคลุม และมีความปลอดภัยมีแนวโน้มที่ดีขึ้น โดยผลการสำรวจครัวเรือนผู้มีรายได้น้อยในชุมชนแออัดที่มีความเดือดร้อนด้านที่อยู่อาศัยในปี 2560 มีจำนวนอยู่ที่ 701,702 ครัวเรือน ลดลงจาก 791,647 ครัวเรือนในปี 2558 ในขณะที่การก่ออาชญากรรมในคดีที่เกี่ยวข้องกับชีวิตร่างกายและเพศปี 2563 ได้รับแจ้ง 14,585 คดี ลดลงจาก 20,744 คดี ในปี 2559 สะท้อนถึงสถานการณ์ความปลอดภัยของประชาชนที่ดีขึ้น เช่นเดียวกับจำนวนประชากรที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติในภาพรวมที่ลดลง โดยในปี 2561 มีจำนวน 1,845 คน ต่อประชากร 100,000 คน ลดลงจาก 6,553 คน ต่อประชากร 100,000 คน ในปี 2559 โดยภัยพิบัติที่ส่งผลกระทบมากที่สุด ได้แก่ อุทกภัยและภัยแล้ง ส่วนปริมาณขยะมูลฝอยที่นำกลับไปใช้ประโยชน์และได้รับการกำจัดอย่างถูกต้องเพิ่มสูงขึ้น โดยปี 2562 มีขยะที่ได้รับการกำจัดอย่างถูกต้อง 9.81 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 9.57 ล้านตันในปี 2559 และมีขยะถูกนำกลับไปใช้ประโยชน์ในปี 2562 ที่ 12.52 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 5.81 ล้านตัน ในปี 2559
นอกจากนี้ การใช้ประโยชน์จากที่ดินในเมืองมีประสิทธิภาพขึ้นเล็กน้อย โดยอัตราส่วนระหว่างอัตราการใช้ที่ดินต่ออัตราการเติบโตของประชากร (LCRPGR) ซึ่งใช้เพื่อประเมินประสิทธิภาพการใช้ที่ดินในเขตเมืองโดยเปรียบเทียบกับการเพิ่มของจำนวนประชากรในช่วงปี 2559-2562 มีค่าคะแนนอยู่ที่ 0.958 ลดลงจาก 0.967 ในช่วงปี 2554 – 2559 ซึ่งหมายถึงอัตราการเติบโตของประชากรต่ำกว่าการใช้ที่ดินเล็กน้อยแสดงถึงการใช้ที่ดินได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น้ และภาครัฐยังได้บรรจุประเด็นการพัฒนาให้เป็นเมืองน่าอยู่สำหรับคนทุกกลุ่มในสังคมโดยมีคุณภาพชีวิต สภาพแวดล้อม เศรษฐกิจและการบริหารจัดการที่ดีไว้ในแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ
อย่างไรก็ดี ยังมีข้อจำกัดเรื่องการเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะได้โดยสะดวกของประชากรในพื้นที่เมืองศูนย์กลางความเจริญ โดยประชากรเมืองเฉลี่ยเพียงร้อยละ 24 สามารถเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะได้โดยสะดวก[1] และมีเพียงเมืองกรุงเทพมหานครเพียงแห่งเดียวเท่านั้นที่มีสัดส่วนสูงกว่าร้อยละ 50 ขณะที่เมืองในพื้นที่ปริมณฑล ได้แก่ นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรสาคร มีสัดส่วนประชากรที่เข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะได้โดยสะดวกต่ำกว่าค่าเฉลี่ย นอกจากนี้ สัดส่วนพื้นที่เปิดสาธารณะต่อพื้นที่เมืองอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ โดยเฉพาะสัดส่วนของพื้นที่สีเขียว ซึ่งกรุงเทพมหานครมีสัดส่วนพื้นที่สีเขียวเพียงร้อยละ 2 ของพื้นที่เมืองทั้งหมด อีกทั้งยังมีปัญหามลพิษทางอากาศที่พบปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 โดยเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้น
[1] การเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะโดยสะดวก หมายถึงประชาชนที่อาศัยอยู่ใกล้สถานีรถโดยสารประจำทาง รถสองแถวและเรือภายในระยะ 400 เมตร หรืออาศัยอยู่ใกล้สถานีรถไฟ รถไฟฟ้า และรถไฟฟ้าใต้ดิน ภายในระยะ 500 เมตร
เป้าหมายย่อย 11.1
สร้างหลักประกันว่าทุกคนเข้าถึงที่อยู่อาศัยและการบริการพื้นฐานที่เพียงพอ ปลอดภัย ในราคาที่สามารถจ่ายได้และยกระดับชุมชนแออัด ภายในปี พ.ศ. 2573
ตัวชี้วัด 11.1.1
สัดส่วนของประชากรในเขตเมืองที่อาศัยอยู่ในชุมชนแออัด ที่อยู่อาศัยนอกระบบ หรือไม่เหมาะสมภูมิศาสตร์ (ชุมชนเมือง/ชนบท)
ตัวชี้วัด 11.1.1 (ก)
11.1.1 (ก) จำนวนครัวเรือนผู้มีรายได้น้อยในชุมชนแออัดที่มีความเดือดร้อนด้านที่อยู่อาศัย

ที่มา : ….
ตัวชี้วัด 11.1.1 (ข)
ผลการดำเนินงานโครงการบ้านมั่นคง
เป้าหมายย่อย 11.2
จัดให้ทุกคนเข้าถึงระบบคมนาคมขนส่งที่ยั่งยืน เข้าถึงได้ปลอดภัย ในราคาที่สามารถจ่ายได้พัฒนาความปลอดภัยทางถนน ขยายการขนส่งสาธารณะและคำนึงถึงกลุ่มคนที่อยู่ในสถานการณ์ที่เปราะบาง ผู้หญิง เด็กผู้พิการ และผู้สูงอายุ ภายในปี พ.ศ. 2573
ตัวชี้วัด 11.2.1
เป้าหมายย่อย 11.3
ยกระดับการพัฒนาเมืองและขีดความสามารถให้ครอบคลุมและยั่งยืนเพื่อการวางแผนและการบริหารจัดการการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์อย่างมีส่วนร่วม บูรณาการและยั่งยืนในทุกประเทศ ภายในปี พ.ศ. 2573
ตัวชี้วัด 11.3.1
สัดส่วนของอัตราการใช้ที่ดินต่ออัตราการเติบโตของประชากร
ตัวชี้วัดทดแทน
สัดส่วนของอัตราการใช้ที่ดินต่ออัตราการเติบโตของประชากร LCRPGR

*ช่วงปี พ.ศ. 2559 – 2563 เปลี่ยนวิธีการคำนวณตาม SDG Indicator Metadata (ณ เดือนมีนาคม 2564)
ที่มา : ….
ตัวชี้วัด 11.3.2
สัดส่วนของเมืองที่ภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมโดยตรงในการวางแผนและการจัดการเมืองโดยมีการดำเนินการเป็นประจำ และเป็นประชาธิปไตย
เป้าหมายย่อย 11.4
เสริมความพยายามในการปกป้องและคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติของโลก
ตัวชี้วัด 11.4.1
รายจ่ายรวมต่อหัวประชากร ในด้านการสงวน การป้องกัน และการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมและมรดกทางธรรมชาติ จำแนกตามแหล่งเงินสนับสนุน (ภาครัฐ/เอกชน) ประเภทมรดก (ทางวัฒนธรรม ทางธรรมชาติ) และระดับของรัฐบาล (ประเทศ ภูมิภาค และท้องถิ่น/เทศบาล)

ที่มา : ….
เป้าหมายย่อย 11.5
ลดจำนวนผู้เสียชีวิตและผู้ที่ได้รับผลกระทบตลอดจนลดความสูญเสียโดยตรงทางเศรษฐกิจเทียบเคียงกับGDP ของโลก ที่เกิดจากภัยพิบัติ ซึ่งรวมถึงภัยพิบัติที่เกี่ยวกับน้ำ โดยมุ่งเป้าปกป้องคนจนและคนที่อยู่ในสถานการณ์ที่เปราะบางภายในปี พ.ศ. 2573
ตัวชี้วัด 11.5.1
จำนวนผู้เสียชีวิต สูญหาย และผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากภัยพิบัติต่อประชากร 100,000 คน (ภัยพิบัติ รวมถึง อุทกภัย อัคคีภัย วาตภัย และภัยแล้ง)

ที่มา : ….
ตัวชี้วัด 11.5.2
ความสูญเสียโดยตรงทางเศรษฐกิจเทียบเคียงกับ GDP ของโลก รวมถึงความเสียหายที่เกิดกับโครงสร้างพื้นฐานและการหยุดชะงักของการบริการขั้นพื้นฐานที่สำคัญอื่นๆ อันเนื่องมาจากภัยพิบัติ
เป้าหมายย่อย 11.6
ลดผลกระทบทางลบของเมืองต่อสิ่งแวดล้อมต่อหัวประชากรรวมถึงการให้ความสำคัญกับคุณภาพอากาศและการจัดการขยะมูลฝอย และของเสียอื่นๆ ภายในปี พ.ศ. 2573
ตัวชี้วัด 11.6.1
สัดส่วนของขยะมูลฝอย (MSW) ที่มีการจัดเก็บและจัดการในสถานที่ที่มีการควบคุม ต่อปริมาณขยะมูลฝอยรวม จำแนกตามเมือง
ตัวชี้วัดทดแทน
ร้อยละของขยะที่เกิดขึ้นถูกกำจัดได้อย่างถูกต้อง

ที่มา : ….
ตัวชี้วัด 11.6.2
ระดับค่าเฉลี่ยทั้งปีของฝุ่นละอองขนาดเล็ก (เช่น PM2.5 และ PM10) ในเขตเมือง (ถ่วงน้ำหนักกับประชากร)
ตัวชี้วัดทดแทน
ร้อยละจำนวนวันที่ฝุ่นละออง (PM10) ในเขตเมืองอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน (*ข้อมูลปีงบประมาณ)

ที่มา : ….
เป้าหมายย่อย 11.7
จัดให้มีการเข้าถึงพื้นที่สาธารณะสีเขียวที่ปลอดภัยครอบคลุมและเข้าถึงได้ โดยถ้วนหน้าโดยเฉพาะสำหรับผู้หญิง เด็ก คนชรา และผู้พิการ ภายในปี พ.ศ. 2573
ตัวชี้วัด 11.7.1
ส่วนแบ่งเฉลี่ยของพื้นที่เมืองที่ถูกสร้างขึ้นให้เป็นสถานที่ที่ใช้ประโยชน์สาธารณะสำหรับทุกคน จำแนกตามเพศ อายุ และผู้พิการ (พื้นที่ที่มีการออกเอกสารสิทธิ์ที่ใช้ประโยชน์ร่วมกัน)
ตัวชี้วัด 11.7.2
สัดส่วนของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของการคุกคามทางร่างกาย หรือเพศ จำแนกตาม เพศ อายุ สถานภาพความพิการ และสถานที่เกิดเหตุ ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา
เป้าหมายย่อย 11.A
สนับสุนนการเชื่อมโยงเชิงบวกทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมระหว่างพื้นที่เมือง รอบเมือง และชนบทโดยการเสริมความแข็งแกร่งของการวางแผนการพัฒนาในระดับชาติและภูมิภาค
ตัวชี้วัด 11.A.1
จำนวนประเทศที่มีนโยบายระดับชาติด้านการพัฒนาเมืองหรือแผนการพัฒนาภาค ซึ่งมี (ก) ความสอดคล้องกับพลวัตของประชากร (ข) ความสมดุลของการพัฒนาเชิงพื้นที่ และ (ค) การเพิ่มพื้นที่การคลัง (fiscal space) ของท้องถิ่น
เป้าหมายย่อย 11.B
ภายในปี พ.ศ. 2563 เพิ่มจำนวนเมืองและกระบวนการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ที่เลือกใช้และดำเนินการตามนโยบายและแผนที่บูรณาการเพื่อนำไปสู่ความครอบคลุม ประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร การลดผลกระทบ และปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มีภูมิต้านทานต่อภัpพิบัติและให้พัฒนาและดำเนินการตามการบริหารความเสี่ยงจากภัยพิบัติแบบองค์รวมในทุกระดับ โดยเป็นไปตามกรอบการดำเนินงานเซนไดเพื่อการลดความเสี่ยง
จากภัยพิบัติ พ.ศ. 2558 – 2573
ตัวชี้วัด 11.B.1
จำนวนประเทศที่มีและดำเนินการตามยุทธศาสตร์การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติระดับประเทศที่สอดคล้องกับกรอบการดำเนินงานเซนไดเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ พ.ศ. 2558 – 2573
ตัวชี้วัด 11.B.2
สัดส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีและดำเนินการตามยุทธศาสตร์การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติระดับท้องถิ่นที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ระดับประเทศ

ที่มา : ….
เป้าหมายย่อย 11.C
สนับสนุนประเทศพัฒนาน้อยที่สุดรวมถึงผ่านทางความช่วยเหลือทางการเงินและวิชาการในการสร้างอาคารที่ยั่งยืนและมีความต้านทานและยืดหยุ่นโดยใช้วัสดุท้องถิ่น
ตัวชี้วัด 11.C.1
ในการประชุมคณะกรรมาธิการสถิติแห่งสหประชาชาติ ครั้งที่ 51 ระหว่างวันที่ 3 – 6 มีนาคม 2563 เสนอให้ยกเลิกตัวชี้วัด 11.c.1 เนื่องจากยังไม่มีการจัดทำ methodology และข้อมูล
Case Study

Case study – SDG 11
โครงการบ้านมั่นคง
การเจริญเติบโตที่รวดเร็วของเมืองส่งผลให้เกิดความแออัด ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม และชุมชนแออัดที่อยู่กระจัดกระจายในเมืองต่าง ๆ โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ดังนั้น การจัดการด้านที่ดินและที่อยู่อาศัยอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้มีรายได้น้อยและกลุ่มคนเปราะบางในเมืองจึงกลายเป็นประเด็นที่รัฐบาลให้ความสำคัญมาอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2546 รัฐบาลได้มอบหมายให้สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ดำเนินโครงการบ้านมั่นคงเพื่อแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยของชุมชนคนจนเมืองทั่วประเทศ สร้างความมั่นคงในการครอบครองที่ดิน พัฒนาระบบสาธารณูปโภค สิ่งแวดล้อมชุมชน ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตและความสามารถในการจัดการของชุมชน …. อ่านเพิ่มเติม


