

เป้าหมายที่ 13 ปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และผลกระทบที่เกิดขึ้น
เป้าหมายที่ 13 ปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และผลกระทบที่เกิดขึ้น
ภาพจากการประกวดภาพถ่าย “ส่งเสริมยุทธศาสตร์ชาติ ด้วยพลังภาพถ่ายที่สร้างสรรค์”
ทุกประเทศในโลกล้วนประสบกับผลกระทบอันรุนแรงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ภาวะโลกร้อนส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบภูมิอากาศ ซึ่งหากไม่เริ่มดำเนินการอย่างทันท่วงทีจะทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ ไม่ว่าจะเป็นความสูญเสียทางเศรษฐกิจ และผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินจากภัยพิบัติที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป้าหมายที่ 13 มุ่งระดมทรัพยากรเพื่อสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการพัฒนาแบบคาร์บอนต่ำ ซึ่งควรดำเนินการควบคู่ไปกับการบูรณาการมาตรการด้านการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และความมั่นคงของมนุษย์ เข้ากับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ นอกจากนี้ การรักษาระดับอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้ไม่เพิ่มขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียส จำเป็นต้องมีเจตจำนงทางการเมืองที่เข้มแข็ง การลงทุนและการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น และความร่วมมือในการดำเนินการอย่างเร่งด่วน
ที่มา: สหประชาชาติ
เป้าหมายย่อย 13.1
เป้าหมายย่อย 13.1
เสริมภูมิต้านทานและขีดความสามารถในการปรับตัวต่ออันตรายและภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับภูมิอากาศในทุกประเทศ
จำนวนผู้เสียชีวิต สูญหาย และผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากภัยพิบัติต่อประชากร 100,000 คน (ภัยพิบัติ รวมถึง อุทกภัย อัคคีภัย วาตภัย และภัยแล้ง)
จำนวนประเทศที่มีและดาเนินการตามยุทธศาสตร์การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติระดับประเทศที่สอดคล้องกับกรอบการดาเนินงานเซนไดเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ พ.ศ. 2558 - 2573
สัดส่วนของหน่วยงานระดับท้องถิ่นที่มีและดาเนินการตามยุทธศาสตร์การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติระดับท้องถิ่นที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ระดับประเทศ
เป้าหมายย่อย 13.2
เป้าหมายย่อย 13.2
บูรณาการมาตรการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในนโยบาย ยุทธศาสตร์ และการวางแผนระดับชาติ
จำนวนประเทศที่มีเปูาหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ (NDCs) ยุทธศาสตร์ระยะยาว แผนการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ยุทธศาสตร์ในรายงานการดาเนินงานด้านการปรับตัว (Adaptation communications) และในรายงานแห่งชาติ (National communications) (เปลี่ยนตัวชี้วัด)
ปริมาณรวมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ต่อปี (เพิ่มตัวชี้วัด)
เป้าหมายย่อย 13.3
เป้าหมายย่อย 13.3
พัฒนาการศึกษา การสร้างความตระหนักรู้ และขีดความสามารถของมนุษย์และของสถาบันในเรื่องการลดผลกระทบและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเตือนภัยล่วงหน้า
ระดับการดาเนินการเพื่อบรรจุ (i) การศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองโลก และ (ii) การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นเรื่องหลักใน (ก) นโยบายการศึกษาของประเทศ (ข) หลักสูตร (ค) การศึกษาของครู และ (ง) การประเมินผลนักเรียน
เป้าหมายย่อย 13.A
เป้าหมายย่อย 13.A
ดำเนินการให้เกิดผลตามพันธกรณีที่ผูกพันต่อประเทศพัฒนาแล้วซึ่งเป็นภาคีของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่มีเปูาหมายร่วมกันระดมทุนจากทุกแหล่งให้ได้จานวน 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐต่อปี ภายในปี พ.ศ. 2563 เพื่อสนองความต้องการของประเทศกาลังพัฒนา ภายใต้บริบทของการดาเนินมาตรการลดผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความโปร่งใสในการดาเนินงาน ตลอดจนจัดหาเงินทุนเพื่อให้กองทุน Green Climate Fund ดาเนินการได้เต็มที่โดยเร็ว
ปริมาณเงินดอลลาร์สหรัฐที่ระดมได้ต่อปี เทียบเคียงกับเปูาหมายการระดมทุนสะสมต่อเนื่องให้ได้ 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐตามพันธะสัญญาจนถึงปี พ.ศ. 2568
เป้าหมายย่อย 13.B
เป้าหมายย่อย 13.B
ส่งเสริมกลไกที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการวางแผนและการบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างมีประสิทธิผลในประเทศพัฒนาน้อยที่สุด และรัฐกาลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก โดยให้ความสาคัญต่อผู้หญิง เยาวชน ชุมชนท้องถิ่นและชุมชนชายขอบ
จำนวนประเทศพัฒนาน้อยที่สุด รัฐกาลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก ที่มีเปูาหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ (NDCs) ยุทธศาสตร์ระยะยาว แผนการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ยุทธศาสตร์ในรายงานการดาเนินงานด้านการปรับตัว (Adaptation communications) และในรายงานแห่งชาติ (National communications)
Case Study
Thailand Voluntary Emission Reduction Program (T-VER) เป็นโครงการส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมลดก๊าซเรือนกระจกในประเทศด้วยความสมัครใจ โดยสามารถนำปริมาณการลดหรือดูดซับก๊าซเรือนกระจกที่ผ่านการรับรอง ที่เรียกว่า “คาร์บอนเครดิต” ไปขายในตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจภายในประเทศได้ ตามหลักเกณฑ์และขั้นตอนการพัฒนาโครงการที่องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.) กำหนด…. อ่านเพิ่มเติม






Thailand Voluntary Emission Reduction Program (T-VER) เป็นโครงการส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมลดก๊าซเรือนกระจกในประเทศด้วยความสมัครใจ โดยสามารถนำปริมาณการลดหรือดูดซับก๊าซเรือนกระจกที่ผ่านการรับรอง ที่เรียกว่า “คาร์บอนเครดิต” ไปขายในตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจภายในประเทศได้ ตามหลักเกณฑ์และขั้นตอนการพัฒนาโครงการที่องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.) กำหนด…. อ่านเพิ่มเติม





