ภาพจากการประกวดภาพถ่าย “ส่งเสริมยุทธศาสตร์ชาติ ด้วยพลังภาพถ่ายที่สร้างสรรค์”

เป้าหมายที่ 15 ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน จัดการป่าไม้ที่ยั่งยืน ต่อสู้การกลายสภาพเป็นทะเลทราย หยุดการเสื่อมโทรมของที่ดินและฟื้นสภาพกลับมาใหม่ และหยุดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ

เป้าหมายที่ 15 ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน จัดการป่าไม้ที่ยั่งยืน ต่อสู้การกลายสภาพเป็นทะเลทราย หยุดการเสื่อมโทรมของที่ดินและฟื้นสภาพกลับมาใหม่ และหยุดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ

ภาพจากการประกวดภาพถ่าย “ส่งเสริมยุทธศาสตร์ชาติ ด้วยพลังภาพถ่ายที่สร้างสรรค์”

            การพัฒนาเศรษฐกิจในศตวรรษที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบต่อความสมดุลของระบบนิเวศและทรัพยากรธรรมชาติ อาทิ การใช้สารเคมีเกินขนาดในภาคการเกษตร แบบแผนการผลิตในภาคอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดมลพิษและก๊าซเรือนกระจก การขยายตัวของเขตเมืองที่รุกล้ำเข้าไปในพื้นที่ป่าไม้ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ อีกทั้งพฤติกรรมการบริโภคของมนุษย์ที่มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างฟุ่มเฟือย ล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความเสื่อมโทรมของที่ดินและระบบนิเวศบนบก ส่งผลให้สิ่งมีชีวิตต้องสูญพันธุ์ สูญเสียแหล่งที่อยู่อาศัย หรืออยู่ในสถานภาพที่มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ จึงมีความพยายามทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศเพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้และระบบนิเวศบนบก รวมถึงปกป้อง คุ้มครองพันธุ์พืชและสัตว์ไม่ให้สูญพันธุ์จากการถูกคุกคามโดยมนุษย์และการถูกรุกรานโดยชนิดพันธุ์ต่างถิ่นเพื่อให้คงไว้ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพ ตลอดจนส่งเสริมให้มีการเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน เท่าเทียม และเป็นธรรม บนแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรที่ยั่งยืน โดยบูรณาการมูลค่าของระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพเข้าไปสู่กระบวนการจัดทำแผนและยุทธศาสตร์การพัฒนา และบัญชีประชาชาติ นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นการระดมทรัพยากรจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศเพื่อสนับสนุนการดำเนินการด้านการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพและอนุรักษ์ ฟื้นฟูระบบนิเวศบนบก

            ในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา พื้นที่ป่าไม้ของประเทศค่อนข้างคงที่อยู่ที่ประมาณร้อยละ 32 ของพื้นที่ประเทศ โดยในปี 2563 มีพื้นที่ป่าไม้ 102.35 ล้านไร่ และได้ส่งเสริมการจัดการป่าไม้โดยชุมชนมีส่วนร่วมผ่านการจัดตั้งป่าชุมชน โดยมีพื้นที่ป่าชุมชนสะสมทั้งสิ้นกว่า 7.63 ล้านไร่ และมีชุมชนเข้าร่วมโครงการ 17,442 หมู่บ้าน ในปี 2562 นอกจากนี้ สถานการณ์ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดินมีแนวโน้มที่ดีขึ้น พิจารณาจากพื้นที่ของดินปัญหาที่เกิดตามสภาพธรรมชาติที่เป็นอุปสรรคต่อการใช้ประโยชน์มีขนาดลดลง จากปี 2550 ที่มีประมาณ 66.38 ล้านไร่ เหลือประมาณ 60.03 ล้านไร่ ในปี 2563 การลักลอบล่าและค้าสัตว์ป่ามีแนวโน้มลดลง สังเกตได้จากในปี 2563 มีคดีเกี่ยวกับการค้าสัตว์ป่า จำนวน 29 คดี ตรวจยึดสัตว์ป่าของกลางจำนวน 2,099 ตัว และซากสัตว์ป่าของกลางจำนวน 60 ซาก ลดลงจาก 627 คดีในปี 2559 ซึ่งตรวจยึดสัตว์ป่าของกลางได้จำนวน 13,428 ตัว และซากสัตว์ป่าจำนวน 1,204 ซาก

            นอกจากนี้ ประเทศไทยให้ความสำคัญด้านระดมและเพิ่มทรัพยากรทางการเงินเพื่อสนับสนุนการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น โดยพิจารณาจากงบประมาณด้านสิ่งแวดล้อมที่ในปีงบประมาณ 2563 ได้รับการจัดสรร 12,689 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 6,947 ล้านบาทในปี 2559 และประเทศไทยได้รับความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการด้านความหลากหลายทางชีวภาพอย่างต่อเนื่อง โดยระหว่างปี 2559 – 2561 ได้รับความช่วยเหลือเป็นมูลค่ารวมประมาณ 33.51 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 1.05 พันล้านบาท

            อย่างไรก็ดี สถานการณ์ด้านความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทยมีแนวโน้มแย่ลงอย่างต่อเนื่อง โดยสะท้อนได้จากดัชนีบัญชีชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคาม (Red List Index) ของประเทศไทยที่ลดลงจาก 0.810 ในปี 2553 เหลือ 0.776 ในปี 2563 ซึ่งบ่งชี้ว่าประเทศไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพลดลง และมีชนิดพันธุ์พืชและสัตว์ที่ถูกคุกคามมากขึ้น โดยในปี 2559 มีจำนวนสัตว์มีกระดูกสันหลังสูญพันธุ์ไปแล้ว 8 ชนิด และมีสถานภาพสูญพันธุ์ในธรรมชาติอีกจำนวน 4 ชนิด นอกจากนี้ การประเมินสถานภาพการอนุรักษ์ของชนิดพันธุ์พืชในประเทศไทยในปี 2558 พบว่ามีจำนวนพันธุ์พืชที่สูญพันธุ์ในธรรมชาติ 2 ชนิด อยู่ในสถานะมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ 737 ชนิด ใกล้สูญพันธุ์ 207 ชนิด และใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง 20 ชนิด

เป้าหมายย่อย 15.1

เป้าหมายย่อย 15.1

        สร้างหลักประกันว่าจะมีการอนุรักษ์ การฟื้นฟู และการใช้ระบบนิเวศบนบกและแหล่งน้ำจืดในแผ่นดิน รวมทั้งบริการทางระบบนิเวศอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ป่าไม้ พื้นที่ชุ่มน้ำ ภูเขาและพื้นที่แห้งแล้ง โดยเป็นไปตามข้อบังคับภายใต้ความตกลงระหว่างประเทศ ภายในปี พ.ศ. 2563

เป้าหมายย่อย 15.2

เป้าหมายย่อย 15.2

        ส่งเสริมการดำเนินการด้านการบริหารจัดการป่าไม้ทุกประเภทอย่างยั่งยืน หยุดยั้งการตัดไม้ทำลายป่า ฟื้นฟูป่าที่เสื่อมโทรม และเพิ่มการปลูกป่าและฟื้นฟูป่าทั่วโลกอย่างจริงจัง ภายในปี พ.ศ. 2563

เป้าหมายย่อย 15.3

เป้าหมายย่อย 15.3

        ต่อต้านการกลายสภาพเป็นทะเลทราย ฟื้นฟูที่ดินและดินที่เสื่อมโทรม รวมถึงที่ดินที่ได้รับผลกระทบจากการกลายสภาพเป็นทะเลทราย ภัยแล้ง และอุทกภัย และพยายามที่จะบรรลุถึงความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดิน ภายในปี พ.ศ. 2573

เป้าหมายย่อย 15.4

เป้าหมายย่อย 15.4

        สร้างหลักประกันว่าจะมีการอนุรักษ์ระบบนิเวศภูเขาและความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศเหล่านั้น เพื่อเพิ่มพูนขีดความสามารถของระบบนิเวศในการสร้างผลประโยชน์อันสำคัญต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ภายในปี พ.ศ. 2573

เป้าหมายย่อย 15.5

เป้าหมายย่อย 15.5

        ปฎิบัติการที่จำเป็นและเร่งด่วนเพื่อลดการเสื่อมโทรมของถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติ หยุดยั้งการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และภายในปี พ.ศ. 2563 ปกป้องและป้องกันการสูญพันธุ์ของชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคาม

เป้าหมายย่อย 15.6

เป้าหมายย่อย 15.6

        ส่งเสริมการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เกิดจากการใช้ประโยชน์ทรัพยากรพันธุกรรมอย่างเท่าเทียมและยุติธรรม และส่งเสริมการเข้าถึงทรัพยากรเหล่านั้นอย่างเหมาะสม ตามข้อตกลงระหว่างประเทศ

เป้าหมายย่อย 15.7

เป้าหมายย่อย 15.7

        ปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อจะยุติการล่าและการขนย้ายชนิดพันธุ์พืชและสัตว์คุ้มครอง และแก้ปัญหาทั้งอุปสงค์และอุปทานต่อผลิตภัณฑ์สัตว์ป่าที่ผิดกฎหมาย

เป้าหมายย่อย 15.8

เป้าหมายย่อย 15.8

        นำมาตรการเพื่อป้องกันการนำเข้าและลดผลกระทบของชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานต่อระบบนิเวศบกและน้ำ และควบคุมหรือขจัด priority species ภายในปี พ.ศ. 2563

เป้าหมายย่อย 15.9

เป้าหมายย่อย 15.9

      บูรณาการมูลค่าของระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพเข้าไปสู่การจัดทำแผน กระบวนการพัฒนา ยุทธศาสตร์การลดความยากจน และบัญชีทั้งระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ ภายในปี พ.ศ. 2563

เป้าหมายย่อย 15.A

เป้าหมายย่อย 15.A

        ระดมและเพิ่มทรัพยากรทางการเงินจากทุกแหล่ง เพื่ออนุรักษ์และใช้ความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศอย่างยั่งยืน

เป้าหมายย่อย 15.B

เป้าหมายย่อย 15.B

        ระดมทรัพยากรจากทุกแหล่งและทุกระดับเพื่อสนับสนุนเงินแก่การบริหารจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน และสร้างแรงจูงใจที่เหมาะสมสำหรับประเทศกำลังพัฒนาให้เกิดความก้าวหน้าในการบริหารจัดการ ซึ่งรวมถึงการอนุรักษ์และการปลูกป่า

เป้าหมายย่อย 15.C

เป้าหมายย่อย 15.C

        เพิ่มพูนการสนับสนุนในระดับโลกแก่ความพยายามที่จะต่อสู้กับการล่า การเคลื่อนย้ายชนิดพันธุ์คุ้มครอง รวมถึงโดยการเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนท้องถิ่น

กรณีศึกษา

          ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ป่าครอบคลุมกว่า 102 ล้านไร่ โดยในปี 2561 ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าไม้เพิ่มขึ้นกว่า 332,000 ไร่ (อ้างอิงข้อมูลการจัดทำข้อมูลสภาพพื้นที่ป่าไม้ปี 2560-2561 โดยกรมป่าไม้) ด้วยข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่าภารกิจในการปกป้องพื้นป่าของไทยนั้นครอบคลุมพื้นที่กว่าร้อยละ 32 ของประเทศและนับเป็นภารกิจที่ยิ่งใหญ่สำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดูแลรักษาพื้นป่าให้มีความอุดมสมบูรณ์ทั้งในแง่พืชพันธุ์และสัตว์ป่า…. อ่านเพิ่มเติม

          ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ป่าครอบคลุมกว่า 102 ล้านไร่ โดยในปี 2561 ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าไม้เพิ่มขึ้นกว่า 332,000 ไร่ (อ้างอิงข้อมูลการจัดทำข้อมูลสภาพพื้นที่ป่าไม้ปี 2560-2561 โดยกรมป่าไม้) ด้วยข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่าภารกิจในการปกป้องพื้นป่าของไทยนั้นครอบคลุมพื้นที่กว่าร้อยละ 32 ของประเทศและนับเป็นภารกิจที่ยิ่งใหญ่สำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดูแลรักษาพื้นป่าให้มีความอุดมสมบูรณ์ทั้งในแง่พืชพันธุ์และสัตว์ป่า…. อ่านเพิ่มเติม

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านอื่นๆ

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านอื่นๆ