ภาพจากการประกวดภาพถ่าย “ส่งเสริมยุทธศาสตร์ชาติ ด้วยพลังภาพถ่ายที่สร้างสรรค์”

เป้าหมายที่ 16 ส่งเสริมสังคมที่สงบสุขและครอบคลุมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้ทุกคนเข้าถึงความยุติธรรม และสร้างสถาบันที่มีประสิทธิผล รับผิดชอบ และครอบคลุมในทุกระดับ

เป้าหมายที่ 16 ส่งเสริมสังคมที่สงบสุขและครอบคลุมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้ทุกคนเข้าถึงความยุติธรรม และสร้างสถาบันที่มีประสิทธิผล รับผิดชอบ และครอบคลุมในทุกระดับ
ภาพจากการประกวดภาพถ่าย “ส่งเสริมยุทธศาสตร์ชาติ ด้วยพลังภาพถ่ายที่สร้างสรรค์”
สันติภาพ ความสงบสุข ความมั่นคง สิทธิมนุษยชน และการปกครองที่มีประสิทธิภาพบนพื้นฐานของหลักนิติธรรม เป็นปัจจัยสำคัญในการบรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืน อย่างไรก็ตาม บางภูมิภาคในโลกยังตกอยู่ในวงจรของความขัดแย้งและความรุนแรง ซึ่งส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อการพัฒนาประเทศและการเติบโตทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ในภาวะความขัดแย้งที่ขาดการเคารพในหลักนิติธรรม ยังมีแนวโน้มของการเกิดความรุนแรงทางเพศ อาชญากรรม และการแสวงผลประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ สูงขึ้น เป้าหมายที่ 16 มุ่งมั่นที่จะลดความรุนแรงทุกรูปแบบ และเสริมสร้างความร่วมมือกับภาครัฐและชุมชนเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและความไม่มั่นคงอย่างยั่งยืน ผ่านการส่งเสริมหลักนิติธรรมและสิทธิมนุษยชน การลดอาวุธผิดกฎหมาย และสนับสนุนให้ประเทศกำลังพัฒนามีส่วนร่วมในสถาบันธรรมาภิบาลระดับโลก
ที่มา: สหประชาชาติ
เป้าหมายย่อย 16.1
เป้าหมายย่อย 16.1
ลดความรุนแรงทุกรูปแบบและอัตราการตายที่เกี่ยวข้องในทุกแห่งให้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
จำนวนเหยื่อฆาตกรรม ต่อประชากร 100,000 คน จำแนกตามเพศ และอายุ
การเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง ต่อประชากร 100,000 คน จำแนกตาม อายุ เพศ และสาเหตุ
สัดส่วนของประชากรที่ได้รับ (ก) ความรุนแรงทางร่างกาย (ข) จิตใจ และ (ค) ทางเพศ ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา
สัดส่วนประชากรที่รู้สึกปลอดภัยเมื่อเดินในบริเวณพื้นที่ที่อาศัยเพียงลำพัง
เป้าหมายย่อย 16.2
เป้าหมายย่อย 16.2
ยุติการข่มเหง การแสวงหาประโยชน์อย่างไม่ถูกต้อง การค้ามนุษย์ และความรุนแรงและการทรมานทุกรูปแบบที่มีต่อเด็ก
สัดส่วนของเด็กอายุ 1-17 ปี ที่เคยถูกทำร้ายทางร่างกาย และ/หรือข่มเหงทางจิตใจโดยผู้ดูแลในเดือนที่ผ่านมา
จำนวนเหยื่อการค้ามนุษย์ต่อประชากร 100,000 คน จำแนกตามเพศ อายุ และรูปแบบการแสวงหาประโยชน์
สัดส่วนของผู้หญิงและผู้ชาย อายุ 18-29 ปีที่เคยถูกกระทำความรุนแรงทางเพศก่อนอายุ 18 ปี
เป้าหมายย่อย 16.3
เป้าหมายย่อย 16.3
ส่งเสริมหลักนิติธรรมทั้งในระดับชาติและระหว่างประเทศ และสร้างหลักประกันว่าทุกคนสามารถเข้าถึงความยุติธรรมอย่างเท่าเทียม
ร้อยละของเหยื่อความรุนแรงใน 12 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งได้แจ้งการกระทำอันรุนแรงนั้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจหน้าที่ หรือกลไกทางการในการยุติข้อขัดแย้ง
สัดส่วนของจำนวนผู้ต้องขังที่ศาลยังไม่พิพากษาต่อจำนวนนักโทษทั้งหมด
สัดส่วนประชากรที่มีปัญหาความขัดแย้งในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา และผู้ที่เข้าถึงกลไกการแก้ปัญหาความขัดแย้งทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ จำแนกตามประเภทของกลไก
เป้าหมายย่อย 16.4
เป้าหมายย่อย 16.4
ลดการลักลอบเคลื่อนย้ายอาวุธและเงิน เสริมความแข็งแกร่งของกระบวนการติดตามและการส่งคืนสินทรัพย์ที่ถูกขโมยไป และต่อสู้กับอาชญากรรมที่จัดตั้งในลักษณะองค์กรทุกรูปแบบ ภายในปี พ.ศ. 2573
มูลค่ารวมทั้งหมดของกระแสเข้าออกของเงินที่ผิดกฎหมาย (หน่วยเป็น ดอลลาร์สหรัฐ)
สัดส่วนของประชากรผู้ใหญ่ที่มีสิทธิครอบครองที่ดินอย่างมั่นคง โดย (ก) มีเอกสารสิทธิ์ในที่ดินตามกฎหมาย และ (ข) ทราบว่าสิทธิครอบครองที่ดินของตนมีความมั่นคง จาแนกตามเพศ และประเภทการถือครอง
เป้าหมายย่อย 16.5
เป้าหมายย่อย 16.5
ลดการทุจริตในตำแหน่งหน้าที่และการรับสินบนทุกรูปแบบ
สัดส่วนของบุคคลที่เคยติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างน้อย 1 ครั้ง และมีการให้สินบนหรือถูกเรียกสินบนโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐในช่วงระยะเวลา 12 เดือนที่ผ่านมา
สัดส่วนขององค์กรธุรกิจที่เคยติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างน้อย 1 ครั้ง และมีการให้สินบน หรือถูกเรียกสินบนโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐในช่วงระยะเวลา 12 เดือนที่ผ่านมา
เป้าหมายย่อย 16.6
เป้าหมายย่อย 16.6
พัฒนาสถาบันที่มีประสิทธิผล มีความรับผิดชอบ และโปร่งใสในทุกระดับ
การใช้จ่ายภาครัฐขั้นพื้นฐานคิดเป็นสัดส่วนของงบประมาณที่ได้รับการอนุมัติแล้ว จำแนกเป็น ภาค (หรือจำแนกตามรหัสงบประมาณ หรือที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน
สัดส่วนประชากรที่พึงพอใจกับบริการสาธารณะครั้งล่าสุดที่ตนได้ใช้บริการ
เป้าหมายย่อย 16.7
เป้าหมายย่อย 16.7
สร้างหลักประกันว่าจะมีกระบวนการตัดสินใจที่มีความรับผิดชอบ ครอบคลุม มีส่วนร่วม และมีความเป็นตัวแทนที่ดี ในทุกระดับการตัดสินใจ
สัดส่วนตำแหน่งในสถาบันของรัฐระดับประเทศและระดับท้องถิ่น ซึ่งรวมถึง (ก) สภานิติบัญญัติ (ข) บริการสาธารณะ และ (ค) คณะตุลาการ เปรียบเทียบกับการกระจายตัวในระดับชาติ โดยจำแนกตามเพศ อายุ ผู้พิการ และกลุ่มประชากร)
สัดส่วนของประชากรที่เชื่อว่ามีกระบวนการตัดสินใจที่ครอบคลุมและตอบสนองความต้องการ จำแนกตามเพศ อายุ ความพิการ และกลุ่มประชากร
เป้าหมายย่อย 16.8
เป้าหมายย่อย 16.8
ขยายและเสริมความแข็งแกร่งของการมีส่วนร่วมของประเทศกำลังพัฒนาในสถาบันที่เกี่ยวข้องกับธรรมาภิบาลโลก
สัดส่วนของสมาชิก และสิทธิการออกเสียงของประเทศกำลังพัฒนาในองค์กรระหว่างประเทศ
เป้าหมายย่อย 16.9
เป้าหมายย่อย 16.9
จัดให้มีอัตลักษณ์ทางกฎหมายสำหรับทุกคน โดยรวมถึงการให้มีการจดทะเบียนเกิด (สูติบัตร) ภายในปี พ.ศ. 2573
สัดส่วนของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ที่มีการจดทะเบียนแจ้งเกิดกับหน่วยงานของรัฐ จำแนกตามอายุ
เป้าหมายย่อย 16.10
เป้าหมายย่อย 16.10
สร้างหลักประกันว่าสาธารณชนสามารถเข้าถึงข้อมูลและมีการปกป้องเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ตามกฎหมายภายในประเทศและความตกลงระหว่างประเทศ
จำนวนคดีที่พิสูจน์แล้วว่าเป็นความจริงเกี่ยวกับการฆาตกรรม (killing) การลักพาตัว (kidnapping) การอุ้มหาย (enforced disappearance) การควบคุมตัวโดยพลการ (arbitrary detention) การทรมาน (torture) ที่กระทำต่อผู้สื่อข่าว บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับสื่อ สหภาพแรงงาน และผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา
จำนวนประเทศที่ใช้และดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมายและ/หรือนโยบายที่รับประกันว่าสาธารณชนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้
เป้าหมายย่อย 16.A
เป้าหมายย่อย 16.A
เสริมความแข็งแกร่งของสถาบันระดับชาติที่เกี่ยวข้อง โดยรวมถึงกระทำผ่านทางความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อสร้างขีดความสามารถในทุกระดับ โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา เพื่อจะป้องกันความรุนแรงและต่อสู้กับการก่อการร้ายและอาชญากรรม
การมีองค์กรอิสระด้านสิทธิมนุษยชน ที่ สอดคล้องกับหลักสนธิสัญญาปารีส (Paris Principles)
เป้าหมายย่อย 16.B
เป้าหมายย่อย 16.B
ส่งเสริมและบังคับใช้กฎหมายและนโยบายที่ไม่เลือกปฏิบัติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
สัดส่วนของประชากรที่รายงานว่ารู้สึกถูกเลือกปฏิบัติ หรือถูกข่มขู่/คุกคามในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ตามข้อบัญญัติพื้นฐานของการห้ามเลือกปฏิบัติภายใต้กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
กรณีศึกษา
“…ความยากจนเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงความยุติธรรม เพราะกระบวนการดำเนินคดีมีค่าใช้จ่ายสูง” ด้วยการตระหนักรู้ความเหลื่อมล้ำทางสังคมข้างต้น ประเทศไทยนำโดยกระทรวงยุติธรรมจึงให้ความสำคัญกับการส่งเสริมให้ทุกคนสามารถเข้าถึงความยุติธรรมได้อย่างเท่าเทียมมากยิ่งขึ้น ผ่านการดำเนินการเชิงรุกในสองรูปแบบคือ (1) การส่งเสริมความรู้แก่สังคมให้เข้าใจถึงหลักนิติธรรมและการพัฒนาที่ยั่งยืน และ (2) การลดช่องว่างในการเข้าถึงความยุติธรรม ผ่านการให้ความช่วยเหลือทางการเงินกับผู้ได้รับความเดือดร้อนในการดำเนินการของกระบวนการดำเนินคดีต่าง ๆ โดยภารกิจข้างต้นเป็นสิ่งที่ประเทศไทยให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งและตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงความยุติธรรมอย่างความเท่าเทียมให้เกิดขึ้นในประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ…. อ่านเพิ่มเติม…


“…ความยากจนเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงความยุติธรรม เพราะกระบวนการดำเนินคดีมีค่าใช้จ่ายสูง” ด้วยการตระหนักรู้ความเหลื่อมล้ำทางสังคมข้างต้น ประเทศไทยนำโดยกระทรวงยุติธรรมจึงให้ความสำคัญกับการส่งเสริมให้ทุกคนสามารถเข้าถึงความยุติธรรมได้อย่างเท่าเทียมมากยิ่งขึ้น ผ่านการดำเนินการเชิงรุกในสองรูปแบบคือ (1) การส่งเสริมความรู้แก่สังคมให้เข้าใจถึงหลักนิติธรรมและการพัฒนาที่ยั่งยืน และ (2) การลดช่องว่างใน
การเข้าถึงความยุติธรรม ผ่านการให้ความช่วยเหลือทางการเงินกับผู้ได้รับความเดือดร้อนในการดำเนินการของกระบวนการดำเนินคดีต่าง ๆ โดยภารกิจข้างต้นเป็นสิ่งที่ประเทศไทยให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งและตั้งเป้าหมาย
ที่จะเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงความยุติธรรมอย่างความเท่าเทียมให้เกิดขึ้นในประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ…. อ่านเพิ่มเติม….

