เป้าหมายที่ 2 ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหาร และยกระดับโภชนาการ และส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน

เป้าหมายที่ 2 ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหาร และยกระดับโภชนาการ และส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน

ภาพจากการประกวดภาพถ่าย “ส่งเสริมยุทธศาสตร์ชาติ ด้วยพลังภาพถ่ายที่สร้างสรรค์”

             ความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ทุกคน เนื่องจากการมีพัฒนาการทางร่างกายและสติปัญญาที่เหมาะสมตามวัย และการมีสุขภาพที่ดี จะช่วยสนับสนุนให้สามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมได้อย่างเต็มศักยภาพ โดยอาหารที่บริโภคต้องมีความปลอดภัยและมีโภชนาการจำเป็นในระดับที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการเกิดภาวะทุพโภชนาการ โดยเฉพาะในกลุ่มคนยากจนและผู้ที่อยู่ในสถานการณ์เปราะบาง อาทิ คนพิการ คนชรา และทารก เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีความท้าทายในการเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัยและมีโภชนาการในปริมาณที่เพียงพอ นอกจากนี้ ภาคเกษตรที่เป็นแหล่งผลิตอาหารสำคัญมีบทบาทอย่างมากในการสนับสนุนให้เกิดความมั่นคงทางอาหาร จึงควรสนับสนุนให้มีระบบเกษตรกรรมยั่งยืนที่คำนึงถึงคุณภาพชีวิตของเกษตรกร โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อย ความปลอดภัยของผู้บริโภค การเพิ่มผลิตภาพของภาคเกษตร ความสมดุลของระบบนิเวศ ความมั่นคงของฐานทรัพยากร และความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภัยพิบัติ และความผันผวนของราคาสินค้าเกษตร

             ในระยะที่ผ่านมา สถานการณ์ความหิวโหยของประเทศไทยปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น ดังเห็นได้จากสัดส่วนประชากรที่มีรายจ่ายเพื่อการบริโภคเฉลี่ยต่อคนต่อเดือนที่ต่ำกว่าเส้นความยากจนด้านอาหาร (Food Poverty Line) ที่ลดลงจากร้อยละ 0.54 ในปี 2559 เป็นร้อยละ 0.37 ในปี 2562 อย่างไรก็ดี การเข้าถึงอาหารที่มีโภชนาการครบถ้วนยังเป็นความท้าทายที่สำคัญ โดยความชุกของภาวะขาดสารอาหาร (Prevalence of Undernourishment) ในปี 2561 มีสัดส่วนฯ อยู่ที่ร้อยละ 9.3 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 8.6 ในปี 2559 เช่นเดียวกับความชุกของเด็กไทยอายุต่ำกว่า 5 ปีที่มีภาวะเตี้ย ผอม และน้ำหนักเกิน ซึ่งเพิ่มขึ้นในปี 2563 เมื่อเทียบกับปี 2559 นอกจากนี้ ในมิติของการพัฒนาภาคเกษตรเพื่อบรรลุความมั่นคงทางอาหาร พบว่าการเติบโตของมูลค่าการผลิตภาคเกษตรต่อหน่วยแรงงานระหว่างปี 2559 – 2562 ยังอยู่ในระดับต่ำ โดยเติบโตเฉลี่ยเพียงร้อยละ 3.17 ต่อปี เช่นเดียวกับการขยายตัวของพื้นที่การทำเกษตรกรรมยั่งยืนที่ยังไม่บรรลุเป้าหมาย โดยในปี 2563 ประเทศไทยมีพื้นที่ในระบบเกษตรกรรมยั่งยืนเพียง 1.15 ล้านไร่ ซึ่งต่ำกว่าค่าเป้าหมายที่กำหนดให้มีพื้นที่เกษตรกรรมยั่งยืน 7.5 ล้านไร่ และ 10 ล้านไร่ ภายในปี 2568 และ 2573 ตามลำดับ

             ทั้งนี้ ภาครัฐได้มีการลงทุนในภาคเกษตรอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสะท้อนจากดัชนีทิศทางการลงทุนภาครัฐเพื่อการเกษตรที่เพิ่มขึ้น โดยการลงทุนในภาคเกษตร ครอบคลุมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาสินค้าและอุตสาหกรรมการเกษตร และการสนับสนุนกลไกตลาดสินค้าโภคภัณฑ์อาหารและเกษตรให้ทำงานอย่างปกติและเหมาะสม นอกจากนี้ ประเทศไทยได้มีการจัดตั้งธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ เพื่ออนุรักษ์และเพิ่มจำนวนแหล่งพันธุกรรมพืช เห็ด และสัตว์เพื่ออาหารและการเกษตร ซึ่งจะช่วยเป็นฐานข้อมูลสำหรับใช้ปรับปรุงพันธุ์เพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารในระยะยา

เป้าหมายย่อย 2.1

เป้าหมายย่อย 2.1

          ยุติความหิวโหยและสร้างหลักประกันให้ทุกคนโดยเฉพาะคนที่ยากจนและอยู่ในภาวะเปราะบาง อันรวมถึงทารก ได้เข้าถึงอาหารที่ปลอดภัย มีโภชนาการ และเพียงพอตลอดทั้งปี ภายในปีพ.ศ. 2573

เป้าหมายย่อย 2.2

เป้าหมายย่อย 2.2

           ยุติภาวะทุพโภชนาการทุกรูปแบบและแก้ไขปัญหาความต้องการสารอาหารของหญิงวัยรุ่น หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร และผู้สูงอายุ ภายในปี พ.ศ. 2573 รวมถึงบรรลุเปูาหมายที่ตกลงร่วมกันระหว่างประเทศว่าด้วยภาวะเตี้ย (stunting) และแคระแกร็น (wasting) ในเด็กอายุต่ากว่า 5 ปี ภายในปี พ.ศ. 2568

เป้าหมายย่อย 2.3

เป้าหมายย่อย 2.3

           เพิ่มผลิตภาพทางการเกษตรและรายได้ของผู้ผลิตอาหารรายเล็ก โดยเฉพาะผู้หญิง คนพื้นเมือง ครัวเรือนเกษตรกร เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ และชาวประมง ให้เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า โดยรวมถึงการเข้าถึงที่ดิน ทรัพยากรและปัจจัยการผลิต ความรู้ บริการทางการเงิน ตลาด และโอกาสสาหรับการเพิ่มมูลค่าและการจ้างงานนอกฟาร์ม อย่างมั่นคงและเท่าเทียม ภายในปี พ.ศ. 2573

เป้าหมายย่อย 2.4

เป้าหมายย่อย 2.4

           สร้างหลักประกันว่าจะมีระบบการผลิตอาหารที่ยั่งยืนและดาเนินการตามแนวปฏิบัติทางการเกษตรที่มีภูมิคุ้มกันที่จะเพิ่มผลิตภาพและการผลิต ซึ่งจะช่วยรักษาระบบนิเวศ เสริมขีดความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภาวะอากาศรุนแรง ภัยแล้ง อุทกภัย และภัยพิบัติอื่น ๆ และจะช่วยพัฒนาคุณภาพของดินและที่ดินอย่างต่อเนื่อง ภายในปี พ.ศ. 2573

เป้าหมายย่อย 2.5

เป้าหมายย่อย 2.5

           คงความหลากหลายทางพันธุกรรมของเมล็ดพันธุ์พืชที่ใช้เพาะปลูก สัตว์ในไร่นาและที่เลี้ยงตามบ้านเรือน และชนิดพันธุ์ตามธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับพืชและสัตว์เหล่านั้น รวมถึงให้มีธนาคารพืชและเมล็ดพันธุ์ที่มีการจัดการที่ดีและมีความหลากหลาย ทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ และสร้างหลักประกันว่าจะมีการเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์อันเกิดจากการใช้ทรัพยากรทางพันธุกรรมและองค์ความรู้ท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม ตามที่ ตกลงกันระหว่างประเทศ ภายในปี พ.ศ. 2563

เป้าหมายย่อย 2.A

เป้าหมายย่อย 2.A

           เพิ่มการลงทุน ตลอดจนยกระดับความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานในชนบท การวิจัยและส่งเสริมการเกษตร การพัฒนาเทคโนโลยี และการทำธนาคารเชื้อพันธุ์ (gene bank) ของพืชและสัตว์ เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการผลิตสินค้าเกษตรในประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศพัฒนาน้อยที่สุด

เป้าหมายย่อย 2.B

เป้าหมายย่อย 2.B

           แก้ไขและป้องกันการกีดกันและการบิดเบือนทางการค้าในตลาดเกษตรโลก รวมถึงทางการขจัดการอุดหนุนสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออกทุกรูปแบบและมาตรการเพื่อการส่งออกทุกแบบที่ให้ผลในลักษณะเดียวกัน โดยให้เป็นไปตามอาณัติของรอบการพัฒนาโดฮา

เป้าหมายย่อย 2.C

เป้าหมายย่อย 2.C

           เลือกใช้มาตรการที่สร้างหลักประกันได้ว่าตลาดโภคภัณฑ์อาหารและตลาดอนุพันธ์สามารถทางานได้อย่างเหมาะสม และอานวยความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลของตลาดและข้อมูลสารองอาหารได้อย่างทันการณ์ เพื่อจากัดความผันผวนของราคาอาหารที่รุนแรง

Case Study

          การได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยแรกเกิด ถือหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะผลส่งต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาว เนื่องจากการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศจำเป็นต้องอาศัยทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ ซึ่งหมายรวมถึงการมีร่างกายที่สมบูรณ์ แข็งแรง มีความพร้อมทางด้านจิตใจ และสติปัญญา สหประชาชาติจึงกำหนดให้ประเด็นการเข้าถึงสารอาหารที่เพียงพอ… อ่านเพิ่มเติม

          การได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยแรกเกิด ถือหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะผลส่งต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาว เนื่องจากการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศจำเป็นต้องอาศัยทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ ซึ่งหมายรวมถึงการมีร่างกายที่สมบูรณ์ แข็งแรง มีความพร้อมทางด้านจิตใจ และสติปัญญา สหประชาชาติจึงกำหนดให้ประเด็นการเข้าถึงสารอาหารที่เพียงพอ…. อ่านเพิ่มเติม

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านอื่นๆ

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านอื่นๆ