เป้าหมายที่ 3 สร้างหลักประกันการมีสุขภาวะที่ดี และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคนในทุกช่วงวัย
ภาพจากการประกวดภาพถ่าย “ส่งเสริมยุทธศาสตร์ชาติ ด้วยพลังภาพถ่ายที่สร้างสรรค์”
การส่งเสริมการมีสุขภาวะที่ดีสำหรับคนทุกช่วงวัย มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศและการยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน โดยต้องดำเนินการอย่างจริงจังในทุกระดับ ทั้งในระดับบุคคล ชุมชน ท้องถิ่น ภูมิภาคและประเทศ ผ่านการประชาสัมพันธ์องค์ความรู้ด้านการดูแลรักษาสุขภาพและการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อความเจ็บป่วยเบื้องต้นอย่างถูกต้อง การกระจายบุคลากรด้านสาธารณสุขที่เพียงพอและครอบคลุม การสร้างระบบการบริการสุขภาพที่ทันสมัย เข้าถึงได้และมีคุณภาพ ตลอดจนการเตรียมความพร้อมในการรับมือภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข ซึ่งเกิดจากโรคติดต่อและไม่ติดต่อ โรคอุบัติใหม่ อุบัติเหตุ และสาธารณภัยอย่างมีประสิทธิภาพ
ความเข้มแข็งของระบบสาธารณสุขไทย สะท้อนให้เห็นจากความก้าวหน้าของการดำเนินงานในหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นการลดลงอย่างต่อเนื่องของอัตราการตายของมารดาซึ่งข้อมูล ณ เดือนเมษายน 2563 ระบุว่ามีอัตราการตายของมารดาที่ 20.24 คน ต่อประชากรแสนคน รวมทั้งอัตราการตายของทารกแรกเกิดที่ลดลง โดยในช่วงปี 2559 – 2560 อยู่ระหว่าง 3.3 – 3.5 คน ต่อการเกิดมีชีพ 1,000 คน นอกจากนี้ จำนวนผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง และการเข้าถึงบริการสุขภาวะทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ของผู้หญิงมีแนวโน้มสูงขึ้น เช่นเดียวกับความครอบคลุมของบริการด้านสุขภาพที่จำเป็น ที่เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 59 ในปี 2553 เป็นร้อยละ 85 ในปี 2562 ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพและความเสี่ยงทางการเงินที่เป็นผลจากการเจ็บป่วย ในขณะเดียวกันความหนาแน่นและการกระจายตัวบุคลากรด้านสาธารณสุขทั่วประเทศเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ดี อัตราการเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อ ยังคงเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของคนไทย โดยในปี 2561 มีจำนวนผู้เสียชีวิตจากมะเร็งมากถึง 114,199 ราย และในปี 2562 มีอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน 30.36 คนต่อประชากร 100,000 คน รวมทั้งอัตราการตายจากสารเคมีและการปนเปื้อนจากแหล่งต่าง ๆ ก็ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น รวมถึงปัญหามลพิษทางอากาศและฝุ่นละออง PM2.5 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
เป้าหมายย่อย 3.1
เป้าหมายย่อย 3.1
ลดอัตราการตายของมารดาทั่วโลกให้ต่ำกว่า 70 คน ต่อการเกิดมีชีพ 100,000 คน ภายในปี พ.ศ. 2573
เป้าหมายย่อย 3.2
เป้าหมายย่อย 3.2
ยุติการตายที่ป้องกันได้ของทารกแรกเกิดและเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โดยทุกประเทศมุ่งลดอัตราการตายในทารกลงให้ต่ำถึง 12 คน ต่อการเกิดมีชีพ 1,000 คน และลดอัตราการตายในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ลงให้ต่ำถึง 25 คน ต่อการเกิดมีชีพ 1,000 คน ภายในปี พ.ศ. 2573
เป้าหมายย่อย 3.3
เป้าหมายย่อย 3.3
ยุติการแพร่กระจายของเอดส์ วัณโรค มาลาเรีย และโรคเขตร้อนที่ถูกละเลย และต่อสู้กับโรคตับอักเสบ โรคติดต่อทางน้ำและโรคติดต่ออื่นๆ ภายในปี พ.ศ. 2573
เป้าหมายย่อย 3.4
เป้าหมายย่อย 3.4
ลดการตายก่อนวัยอันควรจากโรคไม่ติดต่อให้ลดลงหนึ่งในสาม ผ่านทางการป้องกันและการรักษาโรค และสนับสนุนสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดี ภายในปี พ.ศ. 2573
เป้าหมายย่อย 3.5
เป้าหมายย่อย 3.5
เสริมสร้างการป้องกันและการรักษาการใช้สารในทางที่ผิด ซึ่งรวมถึงการใช้ยาเสพติดในทางที่ผิดและการใช้แอลกอฮอล์ในทางที่เป็นอันตราย
เป้าหมายย่อย 3.6
เป้าหมายย่อย 3.6
ลดจำนวนการตายและบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจากการจราจรทางถนนทั่วโลกลงครึ่งหนึ่ง ภายในปี พ.ศ. 2563
เป้าหมายย่อย 3.7
เป้าหมายย่อย 3.7
สร้างหลักประกันถ้วนหน้า ในการเข้าถึงบริการสุขภาวะทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ รวมถึงการวางแผนครอบครัว ข้อมูลข่าวสารและความรู้ และการบูรณาการอนามัยการเจริญพันธุ์ในยุทธศาสตร์และแผนงานระดับชาติ ภายในปี พ.ศ. 2573
เป้าหมายย่อย 3.8
เป้าหมายย่อย 3.8
บรรลุการมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า รวมถึงการป้องกันความเสี่ยงทางการเงิน การเข้าถึงการบริการสาธารณสุขจำเป็นที่มีคุณภาพ และเข้าถึงยาและวัคซีนจำเป็นที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ มีคุณภาพ และมีราคาที่สามารถซื้อหาได้
เป้าหมายย่อย 3.9
เป้าหมายย่อย 3.9
ลดจำนวนการตายและการเจ็บป่วยจากสารเคมีอันตรายและจากมลพิษและการปนเปื้อนทางอากาศ น้ำ และดิน ให้ลดลงอย่างมาก ภายในปี พ.ศ. 2573
เป้าหมายย่อย 3.A
เป้าหมายย่อย 3.A
เพิ่มความเข้มแข็งในการดำเนินงานตามกรอบอนุสัญญาขององค์การอนามัยโลกว่าด้วยการควบคุมยาสูบในทุกประเทศตามความเหมาะสม
เป้าหมายย่อย 3.B
เป้าหมายย่อย 3.B
สนับสนุนการวิจัยและการพัฒนาวัคซีนและยาสำหรับโรคติดต่อและไม่ติดต่อที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อประเทศกาลังพัฒนา ให้มีการเข้าถึงยาและวัคซีนจำเป็นในราคาที่สามารถซื้อหาได้ตามปฏิญญาโดฮาว่าด้วยความตกลงทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการค้า (TRIPS) และการสาธารณสุข ซึ่งเน้นย้ำสิทธิสำหรับประเทศกำลังพัฒนาที่จะใช้บทบัญญัติในความตกลง TRIPS อย่างเต็มที่ในเรื่องการผ่อนปรนเพื่อจะปกป้องสุขภาพสาธารณะและโดยเฉพาะการเข้าถึงยาโดยถ้วนหน้า
เป้าหมายย่อย 3.C
เป้าหมายย่อย 3.C
เพิ่มการใช้เงินสนับสนุนด้านสุขภาพ และการสรรหา การพัฒนา การฝึกฝน และการเก็บรักษากำลังคนด้านสุขภาพในประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศพัฒนาน้อยที่สุดและรัฐกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก
เป้าหมายย่อย 3.D
เป้าหมายย่อย 3.D
เสริมขีดความสามารถของทุกประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศกำลังพัฒนา ในด้านการแจ้งเตือนล่วงหน้า การลดความเสี่ยง และการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านสุขภาพทั้งในระดับประเทศและระดับโลก
แผนการขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 3 (Sustainable Development Goal 3)
Case Study
บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในช่วงที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมการระบาดของไข้หวัดนกไว้ในปี 2550 ตลอดจนการควบคุมการระบาดของ COVID-19 ถือว่ามีความโดดเด่น และเป็นที่ประจักษ์ในสายตานานาชาติ โดยได้รับการชื่นชมจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ว่าเป็นกำลังสำคัญในการสร้างความรู้และเฝ้าระวังการระบาดฯ ในระดับชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ประสบความสำเร็จในการควบคุมการติดเชื้อ COVID-19 มากที่สุดในโลก … อ่านเพิ่มเติม
การได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยแรกเกิด ถือหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะผลส่งต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาว เนื่องจากการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศจำเป็นต้องอาศัยทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ ซึ่งหมายรวมถึงการมีร่างกายที่สมบูรณ์ แข็งแรง มีความพร้อมทางด้านจิตใจ และสติปัญญา สหประชาชาติจึงกำหนดให้ประเด็นการเข้าถึงสารอาหารที่เพียงพอ…. อ่านเพิ่มเติม