เป้าหมายที่ 6 สร้างหลักประกันเรื่องน้ำและการสุขาภิบาล ให้มีการจัดการอย่างยั่งยืนและมีสภาพพร้อมใช้ สำหรับทุกคน
ภาพจากการประกวดภาพถ่าย “ส่งเสริมยุทธศาสตร์ชาติ ด้วยพลังภาพถ่ายที่สร้างสรรค์”
น้ำเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตและการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยการส่งเสริมการเข้าถึงบริการด้านน้ำและการสุขาภิบาล รวมทั้งการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน เป็นหนึ่งในวาระการพัฒนาสำคัญทั้งในระดับประเทศและระดับโลก ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงน้ำสะอาดและสุขาภิบาลที่ดี จึงต้องผลักดันให้เกิดการบริหารจัดการน้ำอย่างมีคุณภาพ ทั่วถึง และยั่งยืน ซึ่งครอบคลุมการเข้าถึงน้ำอุปโภคบริโภคเพียงพอและได้มาตรฐาน ส่งเสริมให้เกิดการปรับปรุงคุณภาพน้ำและการบำบัดน้ำเสียอย่างเป็นระบบ เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ การบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ การปกป้องและฟื้นฟูระบบนิเวศน์ที่เกี่ยวข้องกับแหล่งน้ำ ตลอดจนการขยายความร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศและเพิ่มการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
คนไทยสามารถเข้าถึงน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคมากขึ้น เห็นได้จากข้อมูลสถิติ อาทิ สัดส่วนสมาชิกในครัวเรือนที่ใช้น้ำดื่มจากแหล่งน้ำสะอาดที่เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 98 ในปี 2559 เป็นร้อยละ 99.5 ในปี 2562 เช่นเดียวกับสัดส่วนสมาชิกในครัวเรือนที่มีสถานที่เฉพาะสำหรับล้างมือซึ่งมีน้ำพร้อมสบู่หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดอื่น ซึ่งเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 81.2 เป็นร้อยละ 89 และสัดส่วนสมาชิกในครัวเรือนที่ใช้ส้วมที่ถูกสุขอนามัยและไม่ได้ใช้ร่วมกับครัวเรือนอื่น อยู่ที่ร้อยละ 97.1 ทั้งนี้ คุณภาพน้ำยังเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องได้รับการปรับปรุง โดยระหว่างปี 2553 – 2562 น้ำบริโภคในครัวเรือนเพียงร้อยละ 34.3 มีคุณภาพเหมาะสมสำหรับการบริโภค ในขณะที่ร้อยละ 49.1 ต้องปรับปรุงคุณภาพก่อนการบริโภค และร้อยละ 16.6 มีคุณภาพไม่เหมาะสมสำหรับการบริโภค
การบำบัดน้ำเสียที่ไม่มีประสิทธิภาพ ทั้งจากชุมชนและเขตอุตสาหกรรม ส่งผลให้แหล่งน้ำบางส่วนอยู่ในสภาพเสื่อมโทรม อย่างไรก็ดี แนวโน้มสถานการณ์คุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดินในภาพรวมดีขึ้นในปี 2562 เมื่อเทียบกับปี 2559 โดยมีแหล่งน้ำที่มีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดีเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 ในขณะที่มีแหล่งน้ำที่อยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรมลดลงร้อยละ 2 ในด้านการจัดการน้ำ พบว่าประเทศไทยมีระดับความเครียดน้ำสูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลกและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขณะที่ประสิทธิภาพการใช้น้ำปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 6.95 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อลูกบาศก์เมตร ในปี 2559 เป็น 7.40 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อลูกบาศก์เมตรในปี 2561 นอกจากนี้ สัดส่วนของปริมาณน้ำสูญเสียมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 29.9 ในปี 2558 เป็นร้อยละ 34.7 ในปี 2562 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ยอมรับได้ที่ร้อยละ 25
ประเทศไทยมีกลไกเชิงสถาบันและการมีส่วนร่วมด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอยู่ในเกณฑ์ระดับปานกลาง – สูง มีคะแนนเฉลี่ยที่ 53 คะแนน จาก 100 คะแนน โดยมีสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นหน่วยงานประสานหลักด้านการบริหารจัดการน้ำของประเทศ นอกจากนี้ ยังมีส่วนร่วมกับนานาชาติในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ โดยได้ร่วมกับ 4 ประเทศในลุ่มน้ำโขงจัดตั้งคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission: MRC) เพื่อส่งเสริมและประสานงานด้านการจัดการและการพัฒนาแหล่งน้ำอย่างยั่งยืน
เป้าหมายย่อย 6.1
เป้าหมายย่อย 6.1
บรรลุเป้าหมายการให้ทุกคนเข้าถึงน้ำดื่มที่ปลอดภัยและมีราคาที่สามารถซื้อหาได้ ภายในปี พ.ศ. 2573
เป้าหมายย่อย 6.2
เป้าหมายย่อย 6.2
บรรลุเป้าหมายการให้ทุกคนเข้าถึงการสุขาภิบาลและสุขอนามัยที่พอเพียงและเป็นธรรม และยุติการขับถ่ายในที่โล่ง โดยให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อความต้องการของผู้หญิง เด็กหญิง และกลุ่มที่อยู่ในสถานการณ์เปราะบาง ภายในปี พ.ศ. 2573
เป้าหมายย่อย 6.3
เป้าหมายย่อย 6.3
ปรับปรุงคุณภาพน้ำ โดยการลดมลพิษ ขจัดการทิ้งขยะและลดการปล่อยสารเคมีอันตรายและวัตถุอันตราย ลดสัดส่วนน้ำเสียที่ไม่ผ่านการบำบัดลงครึ่งหนึ่ง และเพิ่มการนำกลับมาใช้ใหม่และการใช้ซ้ำที่ปลอดภัยอย่างยั่งยืนทั่วโลก ภายในปี พ.ศ. 2573
เป้าหมายย่อย 6.4
เป้าหมายย่อย 6.4
เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำในทุกภาคส่วนและสร้างหลักประกันว่าจะมีการใช้น้ำและจัดหาน้ำที่ยั่งยืน เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ และลดจำนวนประชากรที่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำ ภายในปี พ.ศ. 2573
เป้าหมายย่อย 6.5
เป้าหมายย่อย 6.5
ดำเนินการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบองค์รวมในทุกระดับ รวมถึงผ่านทางความร่วมมือข้ามเขตแดนตามความเหมาะสม ภายในปี พ.ศ. 2573
เป้าหมายย่อย 6.6
เป้าหมายย่อย 6.6
ปกป้องและฟื้นฟูระบบนิเวศที่เกี่ยวข้องกับแหล่งน้ำ รวมถึงภูเขา ป่าไม้ พื้นที่ชุ่มน้ำ แม่น้ำ ชั้นหินอุ้มน้ำ และทะเลสาบ ภายในปี พ.ศ. 2563
เป้าหมายย่อย 6.A
เป้าหมายย่อย 6.A
ขยายความร่วมมือระหว่างประเทศและสนับสนุนการเสริมสร้างขีดความสามารถให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาในกิจกรรมและแผนงานที่เกี่ยวข้องกับน้ำและสุขาภิบาล ซึ่งรวมถึงการเก็บกักน้ำ การขจัดเกลือ ประสิทธิภาพการใช้น้ำ การบำบัดน้ำเสีย เทคโนโลยีการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่
เป้าหมายย่อย 6.B
เป้าหมายย่อย 6.B
สนับสนุนและเพิ่มความเข้มแข็งในการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการพัฒนาการจัดการน้ำและสุขาภิบาล
Case Study
บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ได้มีการดำเนินโครงการบริหารจัดการน้ำแบบองค์รวม เพื่อให้การจัดสรรให้ทรัพยากรน้ำมีความยั่งยืนและเพียงพอต่อการดำเนินธุรกิจและความต้องการของชุมชน นอกจากนี้ ความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เกิด
ความแปรปรวนของปริมาณทรัพยากรน้ำและเกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจทำให้บริษัทฯ ได้มีการจัดทำแผนปฏิบัติงานการบริหารจัดการน้ำทั้งภายในและภายนอกองค์กร ผ่านการจัดตั้งคณะทำงานและหารือร่วมกับหน่วยงานทีjเกี่ยวข้อง พร้อมทั้งการประเมินความเสี่ยงและระบุปัญหาในการบริหารจัดการน้ำ และการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อลดปริมาณการใช้น้ำ…. อ่านเพิ่มเติม
บ้านชากไทย ตั้งอยู่ที่ อำเภอเขาคิชฌกูฎ จังหวัดจันทบุรี เป็นหนึ่งในต้นแบบการบริหารจัดการหนี้สินภายในชุมชน เพื่อตอบสนองต่อนโยบายในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ซึ่งมุ่งเน้นการลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม สร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากชุมชน ผ่านการบริหารจัดการเงินทุนที่มีอยู่ในชุมชนให้เกิดความคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุด…. อ่านเพิ่มเติม