ภาพจากการประกวดภาพถ่าย “ส่งเสริมยุทธศาสตร์ชาติ ด้วยพลังภาพถ่ายที่สร้างสรรค์”
เป้าหมายที่ 16 ส่งเสริมสังคมที่สงบสุขและครอบคลุมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้ทุกคนเข้าถึงความยุติธรรม และสร้างสถาบันที่มีประสิทธิผล รับผิดชอบ และครอบคลุมในทุกระดับ
ภาพจากการประกวดภาพถ่าย “ส่งเสริมยุทธศาสตร์ชาติ ด้วยพลังภาพถ่ายที่สร้างสรรค์”
สังคมที่สงบสุขจะต้องมีความมั่นคง มีสันติภาพ ประชาชนได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันภายใต้หลักสิทธิมนุษยชน และมีระบบการปกครองบนพื้นฐานของหลักนิติธรรมและธรรมาภิบาล เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 16 มุ่งเน้นการตัดวงจรความขัดแย้ง การข่มเหง การแสวงหาประโยชน์อย่างไม่ถูกต้อง การค้ามนุษย์ การใช้ความรุนแรงและการทรมานทุกรูปแบบ เพื่อสร้างความมั่นคงและปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้กับประชาชน และสร้างหลักประกันว่าทุกคนสามารถเข้าถึงความยุติธรรมได้อย่างเท่าเทียม มีกระบวนการตัดสินใจที่มีความรับผิดชอบ ครอบคลุม และมีส่วนร่วมในทุกระดับ รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนาเชิงสถาบันให้มีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีการบังคับใช้กฎหมายและนโยบายที่ไม่เลือกปฏิบัติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
การดำเนินงานของประเทศไทยในการมีส่วนร่วมในสถาบันที่เกี่ยวข้องกับธรรมาภิบาลโลกอยู่ในระดับดี โดยประเทศไทยได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (ECOSOC) วาระปี 2563-2565 และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกคณะกรรมาธิการสหประชาชาติว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญา (CCPCJ) วาระปี 2561-2564 นอกจากนี้ ในปี 2563 ประเทศไทยยังได้รับการจัดอันดับจากดัชนีนิติธรรม (Rule of Law Index) ให้อยู่ในอันดับที่ 71 จาก 128 ประเทศทั่วโลก ขยับสูงขึ้น 5 อันดับจากปี 2562 ซึ่งเป็นอันดับที่ 4 ในภูมิภาคอาเซียนต่อจากสิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย
ประเทศไทยยังมีความก้าวหน้าในการพัฒนาเชิงสถาบัน โดยเฉพาะการปรับปรุงการให้บริการประชาชนและประสิทธิภาพภาครัฐให้มีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบ และมีความโปร่งใส โดยจากการสำรวจในปี 2561 พบว่าประชาชนมีความพึงพอใจต่อการให้บริการของหน่วยงานของรัฐในภาพรวม ร้อยละ 84.50 ซึ่งใกล้เคียงกับค่าเป้าหมายของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นการบริการประชาชนและประสิทธิภาพภาครัฐ ที่กำหนดระดับความพึงพอใจในคุณภาพการให้บริการของภาครัฐไว้ที่ร้อยละ 85 ภายในปี 2565 อย่างไร ก็ดี ในปี 2563 ประเทศไทยได้คะแนน (Corruption Perceptions Index: CPI) ที่ 36 คะแนน เท่ากับปี 2562 ที่ผ่านมาและอยู่ในอันดับที่ 104 ลดลง 3 อันดับจากปี 2562 (ข้อมูลจากองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ) สอดคล้องกับสถิติจำนวนคดีเรื่องร้องเรียนต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น
ในด้านการจัดให้มีอัตลักษณ์ทางกฎหมายสำหรับทุกคน ประเทศไทยมีแนวโน้มการจดทะเบียนเกิดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพในการควบคุมให้มีการจดทะเบียนเกิดที่ถูกต้องตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ยังมีกลุ่มที่ตกหล่นจากทะเบียนราษฎรโดยเฉพาะผู้ที่เกิดในพื้นที่ห่างไกลและบุคคลไร้รัฐ เนื่องจากมีข้อจำกัดด้านการเข้าถึงบริการของรัฐ ภาษา และการเดินทาง ในส่วนของการส่งเสริมและบังคับใช้กฎหมายและนโยบายที่ไม่เลือกปฏิบัติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีในสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับการไม่เลือกปฏิบัติและความเท่าเทียม จำนวน 8 ฉบับ เช่น ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง รวมทั้งยังมีการระบุเรื่องความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ที่กำหนดให้บุคคลย่อมเสมอภาคกันตามกฎหมาย มีสิทธิและเสรีภาพและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน หากมีการเลือกปฏิบัติจะถือเป็นการขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
ประเทศไทยมีความก้าวหน้าในการจัดการปัญหาการค้ามนุษย์ โดยภาครัฐได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างจริงจัง สะท้อนให้เห็นจากสถานะของประเทศไทยในปี 2563 ที่รายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ของสหรัฐอเมริกา (The Trafficking in Persons: TIP Report 2020) จัดให้อยู่ในระดับ 2 (Tier 2) ซึ่งเป็นระดับที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2561 ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมาประเทศไทยเคยถูกจัดให้อยู่ในระดับ 2 ที่ต้องจับตามอง (Tier 2 Watch List) ในช่วงปี 2559-2560 และระดับ 3 (Tier 3) ในช่วงปี 2557-2558
เป้าหมายย่อย 16.1
เป้าหมายย่อย 16.1
ลดความรุนแรงทุกรูปแบบและอัตราการตายที่เกี่ยวข้องในทุกแห่งให้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
เป้าหมายย่อย 16.2
เป้าหมายย่อย 16.2
ยุติการข่มเหง การแสวงหาประโยชน์อย่างไม่ถูกต้อง การค้ามนุษย์ และความรุนแรงและการทรมานทุกรูปแบบที่มีต่อเด็ก
เป้าหมายย่อย 16.3
เป้าหมายย่อย 16.3
ส่งเสริมหลักนิติธรรมทั้งในระดับชาติและระหว่างประเทศ และสร้างหลักประกันว่าทุกคนสามารถเข้าถึงความยุติธรรมอย่างเท่าเทียม
เป้าหมายย่อย 16.4
เป้าหมายย่อย 16.4
ลดการลักลอบเคลื่อนย้ายอาวุธและเงิน เสริมความแข็งแกร่งของกระบวนการติดตามและการส่งคืนสินทรัพย์ที่ถูกขโมยไป และต่อสู้กับอาชญากรรมที่จัดตั้งในลักษณะองค์กรทุกรูปแบบ ภายในปี พ.ศ. 2573
เป้าหมายย่อย 16.5
เป้าหมายย่อย 16.5
ลดการทุจริตในตำแหน่งหน้าที่และการรับสินบนทุกรูปแบบ
เป้าหมายย่อย 16.6
เป้าหมายย่อย 16.6
พัฒนาสถาบันที่มีประสิทธิผล มีความรับผิดชอบ และโปร่งใสในทุกระดับ
เป้าหมายย่อย 16.7
เป้าหมายย่อย 16.7
สร้างหลักประกันว่าจะมีกระบวนการตัดสินใจที่มีความรับผิดชอบ ครอบคลุม มีส่วนร่วม และมีความเป็นตัวแทนที่ดี ในทุกระดับการตัดสินใจ
เป้าหมายย่อย 16.8
เป้าหมายย่อย 16.8
ขยายและเสริมความแข็งแกร่งของการมีส่วนร่วมของประเทศกำลังพัฒนาในสถาบันที่เกี่ยวข้องกับธรรมาภิบาลโลก
เป้าหมายย่อย 16.9
เป้าหมายย่อย 16.9
จัดให้มีอัตลักษณ์ทางกฎหมายสำหรับทุกคน โดยรวมถึงการให้มีการจดทะเบียนเกิด (สูติบัตร) ภายในปี พ.ศ. 2573
เป้าหมายย่อย 16.10
เป้าหมายย่อย 16.10
สร้างหลักประกันว่าสาธารณชนสามารถเข้าถึงข้อมูลและมีการปกป้องเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ตามกฎหมายภายในประเทศและความตกลงระหว่างประเทศ
เป้าหมายย่อย 16.A
เป้าหมายย่อย 16.A
เสริมความแข็งแกร่งของสถาบันระดับชาติที่เกี่ยวข้อง โดยรวมถึงกระทำผ่านทางความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อสร้างขีดความสามารถในทุกระดับ โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา เพื่อจะป้องกันความรุนแรงและต่อสู้กับการก่อการร้ายและอาชญากรรม
เป้าหมายย่อย 16.B
เป้าหมายย่อย 16.B
ส่งเสริมและบังคับใช้กฎหมายและนโยบายที่ไม่เลือกปฏิบัติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
กรณีศึกษา
“…ความยากจนเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงความยุติธรรม เพราะกระบวนการดำเนินคดีมีค่าใช้จ่ายสูง” ด้วยการตระหนักรู้ความเหลื่อมล้ำทางสังคมข้างต้น ประเทศไทยนำโดยกระทรวงยุติธรรมจึงให้ความสำคัญกับการส่งเสริมให้ทุกคนสามารถเข้าถึงความยุติธรรมได้อย่างเท่าเทียมมากยิ่งขึ้น ผ่านการดำเนินการเชิงรุกในสองรูปแบบคือ (1) การส่งเสริมความรู้แก่สังคมให้เข้าใจถึงหลักนิติธรรมและการพัฒนาที่ยั่งยืน และ (2) การลดช่องว่างในการเข้าถึงความยุติธรรม ผ่านการให้ความช่วยเหลือทางการเงินกับผู้ได้รับความเดือดร้อนในการดำเนินการของกระบวนการดำเนินคดีต่าง ๆ โดยภารกิจข้างต้นเป็นสิ่งที่ประเทศไทยให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งและตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงความยุติธรรมอย่างความเท่าเทียมให้เกิดขึ้นในประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ…. อ่านเพิ่มเติม…
“…ความยากจนเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงความยุติธรรม เพราะกระบวนการดำเนินคดีมีค่าใช้จ่ายสูง” ด้วยการตระหนักรู้ความเหลื่อมล้ำทางสังคมข้างต้น ประเทศไทยนำโดยกระทรวงยุติธรรมจึงให้ความสำคัญกับการส่งเสริมให้ทุกคนสามารถเข้าถึงความยุติธรรมได้อย่างเท่าเทียมมากยิ่งขึ้น ผ่านการดำเนินการเชิงรุกในสองรูปแบบคือ (1) การส่งเสริมความรู้แก่สังคมให้เข้าใจถึงหลักนิติธรรมและการพัฒนาที่ยั่งยืน และ (2) การลดช่องว่างใน
การเข้าถึงความยุติธรรม ผ่านการให้ความช่วยเหลือทางการเงินกับผู้ได้รับความเดือดร้อนในการดำเนินการของกระบวนการดำเนินคดีต่าง ๆ โดยภารกิจข้างต้นเป็นสิ่งที่ประเทศไทยให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งและตั้งเป้าหมาย
ที่จะเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงความยุติธรรมอย่างความเท่าเทียมให้เกิดขึ้นในประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ…. อ่านเพิ่มเติม….