เป้าหมายที่ 4 สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ภาพจากการประกวดภาพถ่าย “ส่งเสริมยุทธศาสตร์ชาติ ด้วยพลังภาพถ่ายที่สร้างสรรค์”
การศึกษาเป็นฟันเฟืองที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ การเข้าถึงการศึกษาอย่างทั่วถึงจะช่วยยกระดับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ปิดช่องว่างทางสังคม สร้างความเป็นธรรม และลดความเหลื่อมล้ำในทุกมิติ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเป้าหมายที่ 4 มุ่งเน้นสร้างหลักประกันว่าเด็กทั้งชายและหญิงสามารถเข้าถึงการศึกษาตั้งแต่ระดับปฐมวัยไปจนถึงระดับมัธยมศึกษาโดยไม่มีค่าใช้จ่าย เยาวชนและผู้ใหญ่สามารถเข้าถึงการฝึกอบรมทักษะอาชีพในราคาที่เหมาะสมอย่างเท่าเทียมกัน ขจัดความไม่เสมอภาคทางเพศและความเหลื่อมล้ำ ตลอดจนบรรลุการเข้าถึงการศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่มีคุณภาพอย่างถ้วนหน้า
ในระยะที่ผ่านมา การเข้าถึงการศึกษาและสำเร็จการศึกษาของคนไทยมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยสัดส่วนเด็กที่เข้าศึกษาในระดับปฐมวัยที่เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 84.7 ในปี 2559 เป็นร้อยละ 86.3 ในปี 2562 และในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น มีสัดส่วนผู้สำเร็จการศึกษาเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 91.8 และร้อยละ 90.1 ในปี 2559 เป็นร้อยละ 98.2 และร้อยละ 96.9 ในปี 2562 ตามลำดับ นอกจากนี้ ความเท่าเทียมทางเพศในการเข้าถึงศึกษาของไทยปรับตัวดีขึ้น เห็นได้จากดัชนีความเสมอภาคระหว่างเพศ (Gender Parity Index: GPI) ที่มีแนวโน้มดีขึ้นในทุกระดับการศึกษาตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นมา
อย่างไรก็ดี ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของคนไทยกลับมีแนวโน้มลดลง เมื่อพิจารณาจากผลคะแนนการทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนในแต่ละระดับชั้น โดยในปี 2562 คะแนนเฉลี่ยของระดับประถมศึกษาปีที่ 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 50 คะแนนในเกือบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยในระดับประถมศึกษาปีที่ 6 มีแนวโน้มคะแนนเฉลี่ยลดลงในทุกรายวิชา เมื่อเทียบกับปี 2559 ในขณะที่ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีแนวโน้มคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้นในวิชาภาษาไทยและภาษาอังกฤษ แต่ลดลงในวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ซึ่งการลดลงของผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาเป็นผลจากความเหลื่อมล้ำในการจัดสรรทรัพยากรทั้งบุคลากรทางการศึกษา อุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ ในขณะที่ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการฝึกอบรมตามเกณฑ์มาตรฐานเพิ่มมากขึ้น โดยในปีงบประมาณ 2561 มีครูที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาครูรูปแบบครบวงจร (คูปองครู) และผ่านเกณฑ์การพัฒนา 274,264 คน คิดเป็นร้อยละ 77 ของจำนวนครูที่ลงทะเบียนทั้งหมด เพิ่มขึ้นจาก 175,987 คน หรือร้อยละ 60 ในปีงบประมาณ 2560
เป้าหมายย่อย 4.1
เป้าหมายย่อย 4.1
สร้างหลักประกันว่าเด็กชายและเด็กหญิงทุกคนสำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาที่มีคุณภาพ เท่าเทียม และไม่มีค่าใช้จ่าย นำไปสู่ผลลัพธ์ทางการเรียนที่มีประสิทธิผล ภายในปี พ.ศ. 2573
เป้าหมายย่อย 4.2
เป้าหมายย่อย 4.2
สร้างหลักประกันว่าเด็กชายและเด็กหญิงทุกคนเข้าถึงการพัฒนา การดูแล และการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา สำหรับเด็กปฐมวัยที่มีคุณภาพ เพื่อให้เด็กเหล่านั้นมีความพร้อมสำหรับการศึกษาระดับประถมศึกษา ภายในปี พ.ศ. 2573
เป้าหมายย่อย 4.3
เป้าหมายย่อย 4.3
สร้างหลักประกันให้ชายและหญิงทุกคนเข้าถึงการศึกษา อาชีวศึกษา อุดมศึกษา รวมถึงมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพ ในราคาที่สามารถจ่ายได้ ภายในปี พ.ศ. 2573
เป้าหมายย่อย 4.4
เป้าหมายย่อย 4.4
เพิ่มจำนวนเยาวชนและผู้ใหญ่ที่มีทักษะที่เกี่ยวข้องจำเป็น รวมถึงทักษะทางด้านเทคนิคและอาชีพสำหรับการจ้างงาน การมีงานที่มีคุณค่า และการเป็นผู้ประกอบการ ภายในปี พ.ศ. 2573
เป้าหมายย่อย 4.5
เป้าหมายย่อย 4.5
ขจัดความเหลี่อมล้ำทางเพศด้านการศึกษา และสร้างหลักประกันว่ากลุ่มที่เปราะบางซึ่งรวมถึงผู้พิการ ชนพื้นเมือง และเด็ก เข้าถึงการศึกษาและการฝึกอาชีพทุกระดับอย่างเท่าเทียม ภายในปี พ.ศ. 2573
เป้าหมายย่อย 4.6
เป้าหมายย่อย 4.6
สร้างหลักประกันว่าเยาวชนทุกคนและผู้ใหญ่ทั้งชายและหญิงในสัดส่วนสูง สามารถอ่านออกเขียนได้และคานวณได้ ภายในปี พ.ศ. 2573
เป้าหมายย่อย 4.7
เป้าหมายย่อย 4.7
สร้างหลักประกันว่าผู้เรียนทุกคนได้รับความรู้และทักษะที่จาเป็นสาหรับส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมไปถึง การศึกษาสาหรับการพัฒนาที่ยั่งยืนและการมีวิถีชีวิตที่ยั่งยืน สิทธิมนุษยชน ความเสมอภาคระหว่างเพศ การส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งความสงบสุขและการไม่ใช้ความรุนแรง การเป็นพลเมืองของโลก และความชื่นชมในความหลากหลายทางวัฒนธรรมและการที่วัฒนธรรมมีส่วนช่วยให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ภายในปี พ.ศ. 2573
เป้าหมายย่อย 4.A
เป้าหมายย่อย 4.A
สร้างและยกระดับสถานศึกษา ตลอดจนเครื่องมือและอุปกรณ์การศึกษาที่อ่อนไหวต่อเด็ก ผู้พิการ และเพศภาวะ และจัดให้มีสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ที่ปลอดภัย ปราศจากความรุนแรง ครอบคลุมและมีประสิทธิผลสำหรับทุกคน
เป้าหมายย่อย 4.B
เป้าหมายย่อย 4.B
เพิ่มจำนวนทุนการศึกษาทั่วโลกที่ให้แก่ประเทศกาลังพัฒนา โดยเฉพาะประเทศพัฒนาน้อยที่สุด รัฐกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก และประเทศในทวีปแอฟริกา เพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา รวมถึงการฝึกอาชีพ และโปรแกรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ด้านเทคนิค วิศวกรรม และวิทยาศาสตร์ ในประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ภายในปี พ.ศ. 2563
เป้าหมายย่อย 4.C
เป้าหมายย่อย 4.C
เพิ่มจำนวนครูที่มีคุณวุฒิ รวมถึงการดาเนินการผ่านความร่วมมือระหว่างประเทศในการฝึกอบรมครูในประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศพัฒนาน้อยที่สุด และรัฐกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก ภายในปี พ.ศ. 2573
Case Study
โครงการลูกพระดาบสสมุทรปราการตามพระราชดำริ เป็นโครงการลูกของ
“มูลนิธิพระดาบส” อยู่ในความรับผิดชอบร่วมกันของสำนักพระราชวัง มูลนิธิพระดาบส และจังหวัดสมุทรปราการ จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2541 บนที่ดินราชพัสดุและที่ดินพระราชทาน รวม 475 ไร่ ที่ ต.บางปลา อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ โดยมีดาบสอาสา ซึ่งคืออาจารย์ผู้ถ่ายทอดความรู้ และศิษย์พระดาบส คือนักเรียนที่มาศึกษาหาความรู้…. อ่านเพิ่มเติม
บ้านชากไทย ตั้งอยู่ที่ อำเภอเขาคิชฌกูฎ จังหวัดจันทบุรี เป็นหนึ่งในต้นแบบการบริหารจัดการหนี้สินภายในชุมชน เพื่อตอบสนองต่อนโยบายในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ซึ่งมุ่งเน้นการลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม สร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากชุมชน ผ่านการบริหารจัดการเงินทุนที่มีอยู่ในชุมชนให้เกิดความคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุด…. อ่านเพิ่มเติม