เป้าหมายที่ 5 บรรลุความเสมอภาคระหว่างเพศ และเพิ่มบทบาทของสตรีและเด็กหญิงทุกคน

เป้าหมายที่ 5 บรรลุความเสมอภาคระหว่างเพศ และเพิ่มบทบาทของสตรีและเด็กหญิงทุกคน

ภาพจากการประกวดภาพถ่าย “ส่งเสริมยุทธศาสตร์ชาติ ด้วยพลังภาพถ่ายที่สร้างสรรค์”

            เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเป้าหมายที่ 5 มุ่งดำเนินการเพื่อให้เกิดความเสมอภาคระหว่างเพศ และเพิ่มบทบาทของผู้หญิงและเด็กหญิงทุกคน โดยกำหนดให้ทุกประเทศต้องยุติการกระทำที่ก่อให้เกิดการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้หญิง การใช้ความรุนแรงทั้งทางร่างกายและจิตใจ และการล่วงละเมิดทางเพศ ส่งเสริมการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเพศหญิงให้มีสิทธิในการเลือกคู่ครองตามวัยที่เหมาะสม รวมทั้งมีสิทธิที่จะพัฒนาศักยภาพตนเองและเข้าถึงองค์ความรู้ต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญกับการมีบทบาททางการเมืองและการทำงานของเพศหญิงอย่างเท่าเทียม

            ในช่วงที่ผ่านมา สถานการณ์ความเสมอภาคระหว่างเพศชายหญิงของไทยปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น โดยดัชนีความไม่เสมอภาคทางเพศ (Gender Inequality Index) ในปี 2562 มีคะแนน 0.359 ดีขึ้นจาก 0.419 ในปี 2559 สะท้อนถึงพัฒนาการเรื่องความเสมอภาคทางเพศที่ดีขึ้นในสังคมไทย ซึ่งมีสาเหตุมาจากการที่ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญต่อประเด็นดังกล่าวอย่างจริงจัง โดยได้บรรจุไว้เป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 และได้มีการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งกำหนดไว้ในแผนพัฒนาประเทศทุกระดับ อาทิ ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ในยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม และแผนปฏิบัติการตามยุทธศาสตร์การพัฒนาสตรี พ.ศ. 2560 – 2564 ซึ่งกำหนดให้หน่วยงานภาครัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งต้องดำเนินการจัดสรรงบประมาณและสร้างนโยบายที่คำนึงถึงความต้องการและความแตกต่างทางเพศ (Gender Responsive Budgeting: GRB) เพิ่มขึ้น เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ

            นอกจากนี้ ยังพบว่าผู้หญิงมีแนวโน้มในการถือครองที่ดินเพิ่มขึ้น โดยในปี 2561 มีสัดส่วนการครอบครองที่ดินเพื่อทำการเกษตรของผู้หญิงต่อผู้ชายที่ 44.1 ต่อ 55.9 เพิ่มขึ้นจาก 36.3 ต่อ 63.7 ในปี 2556 รวมทั้งมีบทบาททางการเมืองและภาคธุรกิจมากขึ้น โดยในปี 2563 มีสัดส่วนผู้หญิงที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ร้อยละ 15.75 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 6.09 ในปี 2559 และสัดส่วนของบริษัทที่ผู้หญิงอยู่ในตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงอย่างน้อย 1 คน ที่ร้อยละ 86 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 74 ในปี 2560 และมีการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพิ่มขึ้น โดยในปี 2562 มีสัดส่วนผู้หญิงอายุที่ 6 ปีขึ้นไป ใช้อินเตอร์เน็ต ร้อยละ 65.6 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 50.7 ในปี 2559

 

เป้าหมายย่อย 5.1

เป้าหมายย่อย 5.1

           ยุติการเลือกปฏิบัติทุกรูปแบบที่มีต่อผู้หญิงและเด็กหญิงในทุกที่

        สนับสนุน บังคับ ติดตามตรวจสอบความเท่าเทียมและการไม่แบ่งแยกในหลักพื้นฐานทางด้านเพศไม่ว่าจะมีหรือไม่มีกรอบกฎหมายกำหนดไว้ก็ตาม

ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ

เป้าหมายย่อย 5.2

เป้าหมายย่อย 5.2

           ขจัดความรุนแรงทุกรูปแบบที่มีต่อผู้หญิงและเด็กหญิงทั้งในที่สาธารณะและที่รโหฐาน รวมถึงการค้ามนุษย์ การแสวงประโยชน์ทั้งทางเพศ และในรูปแบบอื่น

         สัดส่วนของผู้หญิงและเด็กหญิงอายุ 15 ปีขึ้นไป ที่เคยอยู่ร่วมกับคู่ครองได้รับความรุนแรงทางร่างกาย ทางเพศ หรือทางจิตใจโดยคู่ครองคนปัจจุบัน หรือคนก่อนหน้า ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา จำแนกตามรูปแบบความรุนแรงและอายุ

ที่มา : …

        สัดส่วนของผู้หญิงและเด็กหญิงอายุ 15 ปีขึ้นไป ที่ได้รับความรุนแรงทางเพศจากบุคคลอื่น ที่ไม่ใช่คู่ครอง ในช่วงระยะเวลา 12 เดือนที่ผ่านมา จำแนกตามอายุ และสถานที่เกิดเหตุ

ที่มา : …

เป้าหมายย่อย 5.3

เป้าหมายย่อย 5.3

          ขจัดแนวปฏิบัติที่เป็นภัยทุกรูปแบบ อาทิ การแต่งงานในเด็กก่อนวัยอันควรและโดยการบังคับ และการทำลายอวัยวะเพศหญิง

สัดส่วนของผู้หญิงอายุระหว่าง 20-24 ปี ที่แต่งงานหรืออยู่ด้วยกันก่อนอายุ 15 และ 18 ปี
สัดส่วนของผู้หญิงอายุระหว่าง 20-24 ปี ที่แต่งงานหรืออยู่ด้วยกันก่อนอายุ 15 ปี จำแนกตามภาค
สัดส่วนของผู้หญิงอายุระหว่าง 20-24 ปี ที่แต่งงานหรืออยู่ด้วยกันก่อนอายุ 15 ปี จำแนกตามเขตการปกครอง
สัดส่วนของผู้หญิงอายุระหว่าง 20-24 ปี ที่แต่งงานหรืออยู่ด้วยกันก่อนอายุ 15 ปี จำแนกตามระดับการศึกษา
สัดส่วนของผู้หญิงอายุระหว่าง 20-24 ปี ที่แต่งงานหรืออยู่ด้วยกันก่อนอายุ  18 ปี จำแนกตามภาค
สัดส่วนของผู้หญิงอายุระหว่าง 20-24 ปี ที่แต่งงานหรืออยู่ด้วยกันก่อนอายุ 18 ปี จำแนกตามเขตการปกครอง

5.3.1 (e) สัดส่วนของผู้หญิงอายุระหว่าง 20-24 ปี ที่แต่งงานหรืออยู่ด้วยกันก่อนอายุ 18 ปี จำแนกตามเขตการปกครอง

สัดส่วนของผู้หญิงอายุระหว่าง 20-24 ปี ที่แต่งงานหรืออยู่ด้วยกันก่อนอายุ 18 ปี จำแนกตามระดับการศึกษา

ที่มา : ….

      สัดส่วนของเด็กหญิงและผู้หญิง (อายุระหว่าง 15-49 ปี) ที่ได้รับการขลิบ/ตัดอวัยวะเพศหญิง จำแนกตามอายุ

ที่มา : …

เป้าหมายย่อย 5.4

เป้าหมายย่อย 5.4

          ตระหนักและให้คุณค่าต่อการดูแลและการทำงานบ้านแบบไม่ได้รับค่าจ้าง โดยจัดให้มีบริการสาธารณะ โครงสร้างพื้นฐานและนโยบายการคุ้มครองทางสังคม และสนับสนุนความรับผิดชอบร่วมกันภายในครัวเรือนและครอบครัว ตามความเหมาะสมของแต่ละประเทศ

สัดส่วนของเวลาที่ใช้ไปในการทำงานบ้านและดูแลคนในครัวเรือนที่ไม่ได้รับค่าตอบแทน จำแนกตามเพศ อายุ และสถานที่อยู่

ที่มา : ….

เป้าหมายย่อย 5.5

เป้าหมายย่อย 5.5

          สร้างหลักประกันว่าผู้หญิงจะมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่และมีประสิทธิผล และมีโอกาสที่เท่าเทียมในการเป็นผู้นำในทุกระดับของการตัดสินใจในเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ และสาธารณะ

       สัดส่วนของผู้หญิงดำรงตำแหน่งใน (ก) รัฐสภา และ (ข) การปกครองท้องถิ่น

(ก) สัดส่วนของผู้หญิงดำรงตำแหน่ง ส.ว. และ ส.ส.

(ข) สัดส่วนของผู้หญิงดำรงตำแหน่งใน อบจ. และ อบต. 

ที่มา : ….

สัดส่วนของผู้หญิงในตำแหน่งผู้บริหารใน (ก) ภาคราชการพลเรือนสามัญ (ข) ภาคราชการตำรวจ (ค) ภาคราชการตุลาการ และ (ง) ภาคราชการอัยการ

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

เป้าหมายย่อย 5.6

เป้าหมายย่อย 5.6

          สร้างหลักประกันว่าจะมีการเข้าถึงสุขภาวะทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ และสิทธิด้านการเจริญพันธุ์โดยถ้วนหน้า ตามที่ตกลงในแผนปฏิบัติการของการประชุมนานาชาติว่าด้วยประชากรและการพัฒนา และแผนปฏิบัติการปักกิ่งและเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมทบทวนเหล่านั้น

สัดส่วนของผู้หญิงอายุ 15-49 ปี ที่ทำการตัดสินใจด้วยตนเองบนพื้นฐานข้อมูลที่เพียงพอ (informed decision) ในเรื่องความสัมพันธ์ทางเพศ การคุมกำเนิด และการดูแลด้านอนามัยการเจริญพันธุ์

ที่มา : ….

จำนวนประเทศที่มีกฎหมายและกฎระเบียบที่รับประกันได้ว่าผู้หญิงและผู้ชายที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป เข้าถึงการศึกษา ข้อมูล และการดูแลด้านสุขภาวะทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ ได้อย่างเต็มที่และเท่าเทียม

ที่มา : ….

เป้าหมายย่อย 5.A

เป้าหมายย่อย 5.A

          ดำเนินการปฏิรูปเพื่อให้ผู้หญิงมีสิทธิที่เท่าเทียมในทรัพยากรทางเศรษฐกิจ รวมทั้ง การเข้าถึงการเป็นเจ้าของและมีสิทธิในที่ดิน และทรัพย์สินในรูปแบบอื่น การบริการทางการเงิน การรับมรดก และทรัพยากรธรรมชาติ ตามกฎหมายของประเทศ

    (a) สัดส่วนของจำนวนประชากรในภาคการเกษตรทั้งหมดที่เป็นเจ้าของหรือมีสิทธิเหนือพื้นที่ทำการเกษตร จำแนกตามเพศ
(b) สัดส่วนของผู้หญิงที่เป็นเจ้าของหรือมีสิทธิถือครองพื้นที่ทางการเกษตร จำแนกตามประเภทการครอบครอง

ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ

         สัดส่วนของประเทศที่กรอบกฎหมาย (รวมถึงกฎจารีตประเพณี) ที่รับประกันความเท่าเทียมของผู้หญิงในสิทธิการเป็นเจ้าของ หรือมีสิทธิในที่ดิน

ที่มา : ….

เป้าหมายย่อย 5.B

เป้าหมายย่อย 5.B

          เพิ่มพูนการใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อเพิ่มบทบาทแก่สตรี 

สัดส่วนของผู้ที่เป็นเจ้าของโทรศัพท์เคลื่อนที่จำแนกตามเพศ

ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ

เป้าหมายย่อย 5.C

เป้าหมายย่อย 5.C

          เลือกใช้และเสริมความเข้มแข็งแก่นโยบายที่ดีและกฎระเบียบที่บังคับใช้ได้ เพื่อส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศและการเพิ่มบทบาทแก่ผู้หญิงและเด็กหญิงทุกคนในทุกระดับ

        สัดส่วนของประเทศที่มีระบบติดตามและจัดสรรทรัพยากรภาครัฐเพื่อสนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศและเพิ่มบทบาทแก่สตรี

ที่มา : ….

Case Study

          “สถาบันวานิตาเพื่อพัฒนาวิสาหกิจชุมชน” (WANITA Economic Empowerment Academy) ซึ่งอยู่ภายใต้การสนับสนุนของ OXFAM GB ประเทศไทย พร้อมกับความเชื่อที่ว่าศักยภาพของสตรีจะสามารถสร้างประโยชน์ในมิติเชิงเศรษฐกิจและสังคม พร้อมกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คน เพื่อนำไปสู่การสร้างสันติภาพได้ในอนาคต…. อ่านเพิ่มเติม

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านอื่นๆ

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านอื่นๆ