เป้าหมายที่ 8 ส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่และ มีผลิตภาพ และการมีงานที่มีคุณค่าสำหรับทุกคน

เป้าหมายที่ 8 ส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคุลม และยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่และ มีผลิตภาพ และการมีงานที่มีคุณค่าสาหรับทุกคน

ภาพจากการประกวดภาพถ่าย “ส่งเสริมยุทธศาสตร์ชาติ ด้วยพลังภาพถ่ายที่สร้างสรรค์”

            เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเป้าหมายที่ 8 มุ่งส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ผ่านการยกระดับผลิตภาพแรงงานและการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการผลิต โดยการบรรลุเป้าหมายดังกล่าวต้องให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างความเป็นผู้ประกอบการ การสร้างงาน รวมถึงการดำเนินนโยบายเพื่อขจัดปัญหาแรงงานผิดกฎหมาย แรงงานทาส และการค้ามนุษย์ ซึ่งจะนำไปสู่การจ้างงานเต็มที่และมีผลิตภาพ และการมีงานที่มีคุณค่าสำหรับทุกคนภายใน ปี 2573

            จากข้อมูลในระยะที่ผ่านมา พบว่าเศรษฐกิจประเทศไทยขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง โดยอัตราการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศที่แท้จริงต่อประชากร (Growth of real GDP per capita) ของไทยในปี 2562 อยู่ที่ร้อยละ 2.1 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 3.8 และ 3.7 ในปี 2561 และ 2560 ตามลำดับ โดยมีสาเหตุสำคัญจากการส่งออกที่ลดลงเนื่องจากได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ดี การพัฒนาด้านผลิตภาพแรงงานของไทยที่อยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยพิจารณาจากอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศที่แท้จริงต่อประชากรผู้มีงานทำของประเทศไทยในปี 2562 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.0 เท่ากับปีก่อนหน้า และเป็นระดับที่สูงกว่าที่กำหนดไว้ตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติประเด็นที่ 11 การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต ซึ่งได้กำหนดเป้าหมายผลิตภาพแรงงานในช่วงปี 2561-2565 ขยายตัวร้อยละ 2.5 ต่อปี 

            ในด้านการมีงานที่มีคุณค่า พบว่าสถานการณ์ในประเทศไทยดีขึ้นตามลำดับ โดยเมื่อพิจารณาความแตกต่างของค่าจ้างแรงงานต่อชั่วโมงการทำงาน พบว่าค่าจ้างแรงงานระหว่างเพศชายและหญิงมีความใกล้เคียงกัน โดยเพศหญิงได้รับค่าจ้างสูงกว่าเพศชายเล็กน้อย ในขณะที่อัตราการว่างงานโดยเปรียบเทียบระหว่างเพศหญิงและเพศชายมีความใกล้เคียงกันมาก แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีช่องว่างระหว่างเพศในด้านเศรษฐกิจลดลง นอกจากนี้ ในปี 2561-2562 ประเทศไทยมีอัตราการปฏิบัติไม่ถูกต้องตามกฎหมายแรงงานในประเทศ และสัดส่วนแรงงานเด็กลดลงอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม อัตราผู้ได้รับการคุ้มครองประกันสังคมต่อผู้มีงานทำเฉลี่ยของไทยต่ำกว่าค่าเป้าหมายตามแผนแม่บทฯ ประเด็นที่ 17  ความเสมอภาคและหลักประกันทางสังคม โดยอยู่ที่ร้อยละ 43.41

            ในด้านการเสริมสร้างความเป็นผู้ประกอบการ เมื่อพิจารณาสัดส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวมของ MSME (GDP MSMEs) ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) พบว่าปี 2563 สัดส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวมของ MSMEs ต่อ GDP อยู่ที่ 34.0 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 32.8 ในปี 2559 แต่ลดลงจากร้อยละ 35.3 ในปี 2562 นอกจากนี้ การบริโภควัสดุพื้นฐานต่อหัวยังคงสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี ซึ่งอาจแสดงให้เห็นการใช้ทรัพยากรในการผลิตและการบริโภคที่ยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร

            ทั้งนี้ ภาพรวมสถานการณ์บรรลุเป้าหมายที่ 8 ในปี 2563 และ 2564 คาดว่าจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งทำให้เศรษฐกิจไทยชะลอตัวลงอย่างมาก พร้อมกับอัตราการว่างงานที่สูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการท่องเที่ยวและการบริการที่ต้องหยุดชะงักตั้งแต่ต้นปี 2563

เป้าหมายย่อย 8.1

เป้าหมายย่อย 8.1

        ทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจต่อหัวประชากรมีความยั่งยืนตามบริบทของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของประเทศพัฒนาน้อยที่สุด มีการขยายตัวอย่างน้อยร้อยละ 7 ต่อปี

เป้าหมายย่อย 8.2

เป้าหมายย่อย 8.2

           บรรลุการมีผลิตภาพทางเศรษฐกิจในระดับที่สูงขึ้นผ่านการสร้างความหลากหลาย การยกระดับเทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมถึงการมุ่งเน้นภาคการผลิตที่มีมูลค่าเพิ่มสูง และใช้แรงงานเป็นหลัก (Labour-intensive)

เป้าหมายย่อย 8.3

เป้าหมายย่อย 8.3

        ส่งเสริมนโยบายที่มุ่งเน้นการพัฒนาที่สนับสนุนกิจกรรมที่มีผลิตภาพ การสร้างงานที่มีคุณค่า ความเป็นผู้ประกอบการ ความสร้างสรรค์และนวัฒกรรม และให้การสนับสนุนการรวมตัวและการเติบโตของวิสาหกิจรายย่อย ขนาดเล็ก และขนาดกลาง ผ่านการเข้าถึงบริการทางการเงิน

เป้าหมายย่อย 8.4

เป้าหมายย่อย 8.4

        ปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรของโลกในการบริโภคและการผลิตอย่างต่อเนื่อง และพยายามที่จะแยกการเติบโตทางเศรษฐกิจออกจากความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นไปตามกรอบการดำเนินงาน 10 ปี ว่าด้วยการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน โดยมีประเทศที่พัฒนาแล้วเป็นผู้นำในการดำเนินการไปจนถึงปี พ.ศ. 2573

เป้าหมายย่อย 8.5

เป้าหมายย่อย 8.5

           บรรลุการจ้างงานเต็มที่และมีผลิตภาพ และการมีงานที่มีคุณค่าสำหรับหญิงและชายทุกคน รวมถึงเยาวชนและผู้มีภาวะทุพพลภาพ และให้มีการจ่ายค่าจ้างที่เท่าเทียมสำหรับงานที่มีคุณค่าเท่าเทียมกัน ภายในปี พ.ศ. 2573

เป้าหมายย่อย 8.6

เป้าหมายย่อย 8.6

           ลดสัดส่วนของเยาวชนที่ไม่มีงานทำ ที่ไม่มีการศึกษา และที่ไม่ได้รับการฝึกอบรม ลงอย่างมาก ภายในปี พ.ศ. 2563

เป้าหมายย่อย 8.7

เป้าหมายย่อย 8.7

           ดำเนินมาตรการที่มีประสิทธิภาพโดยทันที เพื่อขจัดแรงงานที่ถูกบังคับ ยุติความเป็นทาสสมัยใหม่และการค้ามนุษย์ และยับยั้งและกำจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายที่สุด ซึ่งรวมถึงการเกณฑ์และการใช้ทหารเด็ก และภายในปี พ.ศ. 2568 ยุติการใช้แรงงานเด็กในทุกรูปแบบ

เป้าหมายย่อย 8.8

เป้าหมายย่อย 8.8

          ปกป้องสิทธิแรงงานและส่งเสริมสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยและมั่นคงสำหรับผู้ทำงานทุกคน รวมถึงผู้ทำงานต่างด้าว โดยเฉพาะหญิงต่างด้าว และผู้ที่ทำงานเสี่ยงอันตราย

เป้าหมายย่อย 8.9

เป้าหมายย่อย 8.9

          ออกแบบและใช้นโยบายเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ซึ่งช่วยสร้างงานและส่งเสริมวัฒนธรรมและผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ภายในปี พ.ศ. 2573

เป้าหมายย่อย 8.10

เป้าหมายย่อย 8.10

          เสริมความแข็งแกร่งของสถาบันทางการเงินภายในประเทศเพื่อส่งเสริมและขยายการเข้าถึงการธนาคาร การประกัน และบริการทางการเงินแก่ทุกคน

เป้าหมายย่อย 8.A

เป้าหมายย่อย 8.A

          เพิ่มการสนับสนุนในกลไกความช่วยเหลือเพื่อการค้า (Aid for Trade) แก่ประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ซึ่งรวมถึงผ่านกรอบการทำงานแบบบูรณาการสำหรับความช่วยเหลือทางวิชายการที่เกี่ยวข้องกับการค้าแก่ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด (Enhanced Integrated Framework for Trade-related Technical Assistance to Least Developed Countries)

เป้าหมายย่อย 8.B

เป้าหมายย่อย 8.B

          พัฒนาและดำเนินงานตามยุทธศาสตร์โลกสำหรับการจ้างงานเยาวชนและดำเนินงานตามข้อตกลงเรื่องงานของโลก (Global Jobs Pact) ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ภายในปี พ.ศ. 2563

กรณีศึกษา

          ในการส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานที่มีคุณค่าสำหรับทุกคน จึงได้เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการดำเนินโครงการ 60 Plus Bakery and Chocolate Café มีวัตถุประสงค์หลักในการฝึกอบรมทักษะในการประกอบอาชีพให้แก่ผู้พิการ โดยให้ความสำคัญกับการเพิ่มคุณค่าและสร้างโอกาสให้กับคนพิการ เพื่อที่คนพิการจะสามารถช่วยเหลือตัวเองและสามารถหารายได้เลี้ยงตัวเองได้ …. อ่านเพิ่มเติม

          บ้านชากไทย ตั้งอยู่ที่ อำเภอเขาคิชฌกูฎ จังหวัดจันทบุรี เป็นหนึ่งในต้นแบบการบริหารจัดการหนี้สินภายในชุมชน เพื่อตอบสนองต่อนโยบายในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ซึ่งมุ่งเน้นการลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม สร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากชุมชน ผ่านการบริหารจัดการเงินทุนที่มีอยู่ในชุมชนให้เกิดความคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุด…. อ่านเพิ่มเติม

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านอื่นๆ

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านอื่นๆ