You are currently viewing แนวคิด SEACOSYSTEM เพื่อทะเลไทยยั่งยืน

          แนวคิด SEACOSYSTEM เป็นความร่วมมือในการพัฒนาและฟื้นฟูท้องทะเลไทยระหว่างภาคเอกชน ภาครัฐ ภาคประชาสังคม และชุมชนเจ้าของพื้นที่ ในการจัดการกับปัญหาทะเลไทยที่กำลังเข้าสู่ระยะวิกฤติจากปัญหาขยะในทะเล ปะการังฟอกขาว ปะการังเสื่อมโทรม การสูญพันธุ์ของมวลสัตว์น้ำ ตลอดจนผลกระทบต่อการทำประมงพื้นบ้าน ซึ่งแนวคิด SEACOSYSTEM จะยึดหลักการอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศและทรัพยากรทางทะเลเชิงบูรณาการ ผ่านการดำเนินโครงการที่หลากหลาย โดยเน้นความสำคัญ 5 ด้าน ตั้งแต่นโยบายในการพัฒนารูปแบบการทำธุรกิจที่ยั่งยืนตลอดห่วงโซ่อุปทาน (SD in Process) โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ชูการทำงานที่โปร่งใสและมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย การส่งเสริมศักยภาพชีวิตชุมชน เช่น การพัฒนาความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืน ด้วยรูปแบบธุรกิจเพื่อสังคม และส่งเสริมกระบวนการสร้างความเข้มแข็งให้แก่คนในชุมชน การสร้างแหล่งที่อยู่อาศัยสัตว์น้ำ เช่น โครงการป่าชายเลน โครงการปะการังเทียม บ้านปลา แนวเขตและกติกาเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรของชุมชน การขยายพันธุ์สัตว์น้ำ  เช่น โครงการธนาคารสัตว์น้ำ การวิจัยและพัฒนา โดยร่วมผลักดันให้เกิดการพัฒนาด้านทรัพยากรทางทะเลระดับประเทศ ผ่านงานวิจัยที่เกิดจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน ไทยรัฐ. (2562)

          หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์ และบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ กรมประมง และกลุ่มภาคประชาสังคมในพื้นที่ ได้ดำเนินการในโครงการต่าง ๆ ดังนี้

  • การจัดวางปะการังเทียมที่ตำบลกระดังงา อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา และตำบลปะนาเระ อำเภอ
    ปะนาเระ จังหวัดปัตตานี
  • การจัดวางปะการังเทียมแหล่งเล็ก ใน 2 แหล่ง ได้แก่ แหล่งที่ 1 ใช้ปะการังเทียม จำนวน 500 แท่ง พร้อมทุ่นลอย 3 ทุ่น จัดวางบริเวณทะเลหน้าชายฝั่งตำบลบ่อตรุ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา และแหล่งที่2 ใช้ปะการังเทียม จำนวน 500 แท่ง พร้อมทุ่นลอย 4 ทุ่น จัดวางบริเวณทะเลหน้าชายฝั่งตำบลโคกเคียน อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส (กันยายน 2562)
  • กิจกรรมเพื่อสังคม อนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศ ร่วมกับชุมชน ต.บางหญ้าแพรก จ.สมุทรสาคร (ธันวาคม 2562)
  • โครงการเก็บขยะข้ามเวลา บริเวณอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา และอ่าวต่างๆ บนเกาะเขาใหญ่ แหล่งท่องเที่ยวทางทะเลของชาวสตูล (ธันวาคม 2562)
  • กิจกรรรมรณรงค์สร้างการเรียนรู้การจัดการขยะ สู่การพัฒนาการขับเคลื่อนตรังยั่งยืน ทำความดีด้วยหัวใจ ลดภัยสิ่งแวดล้อม : ปฏิบัติการ Save เพื่อนมาเรียม รณรงค์เก็บขยะทะเล เขตเลเสบ้าน เพื่อตรังยั่งยืน (ธันวาคม 2562)
  • การเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล ตลอดจนการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตชาวประมงพื้นบ้าน ณ จังหวัดนครศรีธีรรมราช (กรกฎาคม 2563)

ข้อมูลอ้างอิง:

สำนักข่าวอิศรา. (2562). ผนึกกำลังกันอาสา ‘วางปะการังเทียม’ ฟื้นฟูทะเลผ่านแนวคิด ‘SEACOSYSTEM’. ค้นหาจาก https://www.isranews.org/isranews-article/80465-news-80465.html

CP. (2562). เครือซีพีชูแนวคิด “SEACOSYSTEM : เพื่อทะเลไทยที่ยั่งยืน” ผนึกกำลังทุกภาคส่วนร่วมอนุรักษ์ท้องทะเลไทย เดินหน้าจับมือกับกรมประมง ขยายพื้นที่วางปะการังเทียม 1,000 แท่ง ใน จ.สงขลา และ จ.นราธิวาส เพื่อฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและการประมงชายฝั่งเชิงบูรณาการ. ค้นหาจากhttp://www.cp-enews.com/news/details/cpcsr/3079

ประชาชาติธุรกิจ. (2562). เครือซีพี ชู SEACOSYSTEM ผนึกกำลังทุกภาคส่วน ร่วมอนุรักษ์ท้องทะเลไทยอย่างยั่งยืน. ค้นหาจาก https://www.prachachat.net/csr-hr/news-370839

ที่มารูปภาพ:

ไทยรัฐ. (2562). ฟื้นฟูท้องทะเล คืนกลับชีวิต เครือซีพี จับมือ กรมประมง วาง ‘ปะการังเทียม’ สู่ทะเลไทย. ค้นหาจาก https://www.thairath.co.th/news/local/1672986