ประเทศไทย 4.0 (Thailand 4.0)

ภาพจากการประกวดภาพถ่าย “ส่งเสริมยุทธศาสตร์ชาติ ด้วยพลังภาพถ่ายที่สร้างสรรค์”

โครงการความร่วมมือที่อยู่ภายใต้เสาหลักที่ 3

โครงการ Enhancing Science, Technology and Innovation Policies

โครงการ Enhancing Science, Technology and Innovation Policies โดยสำนักงานสภาการอุดมศึกษา เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) เป็นผู้รับผิดชอบหลัก มีวัตถุประสงค์หลักในการนำข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของไทยเข้าบรรจุในฐานข้อมูล OECD Science, Technology and Innovation (STI) Outlook
เพื่อประเมินภาพรวมของการพัฒนาและวิเคราะห์แนวโน้มทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม และนโยบาย
ในแต่ละประเทศ รวมทั้งเปรียบเทียบนโยบายของประเทศสมาชิก และประเทศที่ไม่ใช่สมาชิก OECD

โครงการ Developing Teaching and Learning

โครงการ Developing Teaching and Learning โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เป็นผู้รับผิดชอบหลัก มีวัตถุประสงค์เพื่อปิดช่องว่างการพัฒนาหลักสูตรสำหรับนักเรียนที่มีพื้นฐานแตกต่างกันให้สามารถพัฒนาทักษะทัศนคติและเตรียมความพร้อมให้แข่งขันได้
ในเศรษฐกิจโลกให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากนานาประเทศ ในการเพิ่มขีดความสามารถ
ในการออกแบบและจัดทำหลักสูตร รวมทั้งจัดทำแนวปฏิบัติ
ในการประเมินผล

โครงการ Supporting the Digital Economy

โครงการ Supporting the Digital Economy โดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เป็นผู้รับผิดชอบหลัก

มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อวิเคราะห์แนวโน้ม โอกาส และ
ความท้าทายในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลของไทย โดยศึกษา
เปรียบเทียบกับแนวปฏิบัติที่ดีของ OECD อันจะนำไปสู่
ทางเลือกนโยบายที่จะทำให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากเศรษฐกิจดิจิทัล ทั้งนี้ ดศ. ได้ดำเนินการตอบแบบสอบถามประกอบการจัดทำรายงาน Digital Economy Outlook 2020
นอกจากนี้ ยังได้มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการที่นำไปสู่
การทบทวนนโยบายด้านดิจิทัลของไทย และ การใช้เศรษฐกิจดิจิทัลในการส่งเสริม SMEs พร้อมทั้งการเดินทางเข้าร่วมประชุมกับ OECD Committee on Digital Economy Policy

โครงการ Modernising Education and Skills

โครงการ Modernising Education and Skills Development โดยสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) เป็นผู้รับผิดชอบหลัก มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวน

การเรียนการสอน ระบบอาชีวศึกษาและสายอาชีพของไทย
ในการเตรียมความพร้อมรับงานรูปแบบใหม่และการพัฒนาทักษะการเรียนรู้จากการทำงาน (On the job training)
โดยเฉพาะงานที่ใช้เทคโนโลยีเข้มข้นและสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน จากประสบการณ์และข้อมูล PISA ของ OECD