ChulaMUN จัดงานเสวนา “AI-Powered Economic Security and Green Transition for Sustainable Future” ในงาน SX2024 ส่งเสริมความเข้าใจในการใช้ AI เพื่อขับเคลื่อนความยั่งยืน

เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2567 ชมรมการประชุมสหประชาชาติจำลองแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ChulaMUN) ร่วมกับ C ASEAN จัดงานเสวนาหัวข้อ “AI-Powered Economic Security and Green Transition for Sustainable Future” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในงาน Sustainability Expo 2024 (SX2024) ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยมี ดร.ธัชไท กีรติพงค์ไพบูลย์ ผู้อำนวยกองยุทธศาสตร์และประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และ ดร.แววไพลิน พันธุ์ภักดี อาจารย์ประจำภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมอภิปราย และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทและผลกระทบของปัญญาประดิษฐ์ (AI) โดยมี นายสเตฟาน ควิ้นท นิสิตคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้ดำเนินการเสวนา ในงานอภิปรายดังกล่าว ดร.ธัชไท ได้อภิปรายและนำเสนอข้อมูลที่สำคัญของ AI โดยมีประเด็นสรุปได้ดังนี้–    AI มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสังคมหนึ่ง […]

การประชุม SDG Localization: Thailand’s Journey Towards Sustainability ณ หอประชุม ESCAP HALL ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ

เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2567 นายวันฉัตร สุวรรณกิตติ รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เข้าร่วมการประชุม SDG Localization: Thailand’s Journey Towards Sustainability ซึ่งจัดโดยกระทรวงมหาดไทยร่วมกับ UNDP ณ หอประชุม ESCAP HALL ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ           โดยในงานประชุมนี้ได้มีการเปิดตัวรายงานความคืบหน้าการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับจังหวัด และมีการปาฐกถาพิเศษโดยนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และมีวิทยากรร่วมบรรยายในงาน อาทิ นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย นายเดวิด เดลี เอกอัครราชทูตสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย และนายเรอโน เมแยร์ ผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNDP)           ในการนี้ รองเลขาธิการฯ ได้บรรยายสรุปในหัวข้อ “ประเทศไทยการขับเคลื่อนเป้าหมายพัฒนาที่ยั่งยืน” ซึ่งประเทศไทยได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2559 ร่วมกับภาคีเครือข่ายต่าง ๆ โดยที่ผ่านมา ประเทศไทยได้เชื่อมโยง SDGs เข้ากับแผนทั้ง […]

Thailand’s SDGs Hackathon ระดมความคิด พิชิตความยั่งยืน

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนเป้าหมาย  การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) และสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนจัดโครงการ “Thailand’s SDGs Hackathon ระดมความคิดพิชิตความยั่งยืน” เพื่อส่งเสริมและสร้างความตระหนักรู้ให้แก่ประชาชนในเรื่องเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อน SDGs ใน 5 มิติ (5Ps) ในสังคมไทย           โครงการ Thailand’s SDGs ระดมความคิด พิชิตความยังยืน เป็นโครงการที่สืบเนื่องจากงาน “ก้าวพอดี” ที่ สศช. จัดเป็นประจำทุกปี เพื่อส่งเสริมและสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งเป็นประเด็นที่นายกรัฐมนตรีได้ให้ความสำคัญอย่างมาก โดยตั้งแต่วันที่ 5 – 28 มกราคม 2567 สศช. ได้เปิดรับสมัครผู้เข้าแข่งขันประกวดวิดิทัศน์สั้น (Short Video) ความยาวไม่เกิน 1 นาที ผ่านแพลต์ฟอร์ม Tiktok ซึ่งต้องมีเนื้อหาสอดคล้องเกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนา ที่ยั่งยืน ทั้ง 5 มิติ (5Ps) […]

ประเทศไทยร่วมแสดงจุดยืนในการขับเคลื่อน SDGs อย่างจริงจัง ในเวที HLPF 2023 ณ สหประชาชาติ

ในระหว่างวันที่ 10 – 14 กรกฎาคม 2566 ซึ่งเป็นสัปดาห์แรกของการประชุมเวทีหารือทางการเมืองระดับสูงว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (High-Level Political Forum on Sustainable Development 2023: HLPF 2023) ที่จัดโดยคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Economic and Social Council: ECOSOC) ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา คณะผู้แทนไทยได้ร่วมกล่าวถ้อยแถลง เพื่อแสดงจุดยืนของประเทศไทยในการขับเคลื่อน SDGs อย่างจริงจัง ในทศวรรษแห่งการลงมือทำ (Decade of Action) และแสดงให้นานาประเทศเห็นว่าประเทศไทยได้ดำเนินงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ เพื่อสร้างสังคมที่ยั่งยืน มีความมั่นคง อย่างไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง           ในที่ประชุม HLPF 2023 ซึ่งประกอบไปด้วยรัฐสมาชิกสหประชาชาติ 193 ประเทศ รัฐสังเกตการณ์ 2 ประเทศ และกลุ่มตัวแทน/ผู้มีส่วนได้เสีย (Major Groups & Other Stakeholders) […]

การลงพื้นที่เพื่อศึกษาดูงานด้าน Circular Design ณ บริษัท เซ็นต์หลุยส์พลาส-โมล์ด จำกัดจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (บริษัท Qualy Design)

เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2566 ศ.ดร.สนิท อักษรแก้ว ประธานคณะอนุกรรมการภาคเอกชนเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน และอนุกรรมการ ฯ พร้อมด้วย นายสุริยนต์ ธัญกิจจานุกิจ ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน นางสาวศศิธร พลัตถเดช ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน นายอธิพงศ์ หิรัญเรืองโชค ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และประสานการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน เจ้าหน้าที่กองยุทธศาสตร์และประสานการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันและกองยุทธศาสตร์และประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ ร่วมด้วยนักศึกษาฝึกงาน ณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ลงพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อศึกษาดูงานเกี่ยวกับแนวคิดด้านความยั่งยืนที่เรานำมาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ที่มุ่งเน้นการออกแบบเชิงนิเวศ (eco-design) และเศรษฐกิจหมุนเวียน (circular economy) ณ บริษัท พลาสโมล์ด จำกัด (บริษัท Qualy Design) โดยบริษัทมีการดำเนินงานผ่านโครงการสำคัญ ดังนี้           ผลจากการศึกษาดูงานในครั้งนี้ ทำให้คณะอนุกรรมการ ฯ และผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ สศช. เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ขยะหรือของเสียจากพลาสติกมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตทดแทนการใช้วัตถุดิบจากทรัพยากรธรรมชาติ โดยผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ทุกชิ้นนอกจากจะสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจแล้ว ยังได้สอดแทรกความคิดสร้างสรรค์เพื่อสร้างความตระหนักให้ผู้ใช้ได้เห็นคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้วยการสร้างเรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เชื่อมโยงกับรูปแบบของผลิตภัณฑ์ เพื่อสื่อสารให้คนทุกวัยรับทราบความสำคัญของแหล่งที่มาของวัสดุที่มีต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับกลุ่มธุรกิจ องค์กรทางสังคม และภาคประชาชน ในการปรับทัศนคติในการผลิตและบริโภค […]

การประชุมคณะกรรมการอำนวยการสามฝ่ายเพื่อขับเคลื่อนความร่วมมือ ด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนระหว่างไทยและสหประชาชาติประจำประเทศไทย

เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2566 นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นประธานร่วมกับนางเอกสิริ ปิณฑะรุจิ อธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ และ นางกีต้า ซับบระวาล ผู้ประสานงานสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNRC) ในการประชุมคณะกรรมการอำนวยการสามฝ่าย (Tripartite Steering Committee) เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการตามกรอบความร่วมมือว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (UNSDCF) วาระปี พ.ศ. 2565 – 2569 ณ วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ           กรอบความร่วมมือ UNSDCF เป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและสหประชาชาติที่เเสดงถึงการดำเนินงานของระบบสหประชาชาติตามบทบาทภารกิจของแต่ละหน่วยงานในการสนับสนุนการพัฒนาประเทศให้บรรลุผลสำเร็จตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 โดยส่งเสริมให้เกิดการพลิกโฉมประเทศสู่การมีเศรษฐกิจมูลค่าสูง มีการพัฒนาทุนมนุษย์ และลดการปล่อยคาร์บอนและก๊าซเรือนกระจก โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรรม เพื่อความเติบโตที่ครอบคลุมและยั่งยืนอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีความสอดคล้องและสนับสนุนความมุ่งหมายของประเทศไทยในการพัฒนาประเทศทั้งยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 และนโยบายเศรษฐกิจ BCG           ในการประชุมฯ ผู้แทนหน่วยงานสหประชาชาติในประเทศไทยได้รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานตามกรอบ UNSDCF และร่วมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นต่อแนวทางการขับเคลื่อนผลลัพธ์ทั้ง 3 ด้านของกรอบความร่วมมือดังกล่าว ประกอบด้วย ผลลัพธ์ที่ 1 […]

การประชุมคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) ครั้งที่ 1/2566

เมื่อวันพุธที่ 8 มีนาคม 2566 เวลา 09.30 น. ได้มีการประชุมคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) ครั้งที่ 1/2566 โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) เป็นประธานการประชุมและมีผู้เข้าร่วมประชุมจากหน่วยงานภาครัฐและภาคีการพัฒนาที่เกี่ยวข้อง ซึ่งที่ประชุมได้รับทราบผลการดำเนินงานตามแผนการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับประเทศไทย (Thailand’s SDG Roadmap) อาทิ การเชื่อมโยงระหว่างเป้าหมายย่อยของ SDGs (SDG Targets) กับเป้าหมายแผนแม่บทย่อย (Y1) ของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ และการเชื่อมโยงเป้าหมายหลัก SDGs ไว้ในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) ซึ่งทำให้การขับเคลื่อน SDGs สามารถดำเนินร่วมไปกับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติได้ การจัดเสวนาวิชาการและนิทรรศการก้าวพอดี ประจำปี 2565 ภายใต้หัวข้อ “พลิกโฉมประเทศไทย ก้าวต่อไปอย่างยั่งยืน” ซึ่งได้สร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับ SDGs ให้แก่สังคม และการร่วมกันจัดทำแผนที่การลงทุนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่นำไปสู่การเพิ่มโอกาสในการลงทุนอย่างยั่งยืน              ขณะเดียวกันที่ประชุมฯ ได้เห็นชอบร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ พ.ศ…. ที่จะนำไปสู่การจัดตั้งกลไกเชิงนโยบายและการกำกับดูแลเครื่องมือการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment: SEA) ระดับชาติที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานขึ้น […]

สภาพัฒน์ร่วมหารือการจัดทำแผนการขับเคลื่อน SDGs จังหวัดกาฬสินธุ์

เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2566 เจ้าหน้าที่จากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) นำโดย ดร.จริญญา สายหยุด รักษาการในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญด้านยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค พร้อมด้วย นางสาวพจนาพร กริชติทายาวุธ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ และนายพันธสิทธิ เจริญพาณิชย์พันธ์ รักษาการในตำแหน่งนักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ ได้เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการอำนวยการและขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) จังหวัดกาฬสินธุ์ ครั้งที่ 2/2566ผ่านระบบประชุมทางไกล โดยมีนายปราชญา อุ่นเพชรวรากร รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นประธานพร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และวิชาการ เข้าร่วมการประชุมกว่า 80 คน        ที่ประชุมฯ ได้รับทราบถึงผลการลงพื้นที่ ณ จังหวัดกาฬสินธุ์ของผู้แทนจาก สศช. เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2566 โดยได้ตกลงร่วมกันที่จะให้จังหวัดกาฬสินธุ์เป็นหนึ่งในพื้นที่ต้นแบบสำหรับการขับเคลื่อน SDGs ในระดับพื้นที่ โดยมุ่งเน้นการดำเนินการที่เป็นรูปธรรม และสร้างความร่วมมือกับภาคีการพัฒนาจากทุกภาคส่วน        ขณะเดียวกันที่ประชุมฯ ยังได้หารือเกี่ยวกับร่างแผนการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของจังหวัดกาฬสินธุ์ โดย สศช. ได้ร่วมแลกเปลี่ยนพร้อมกับให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดทำแผนการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ควรจะคำนึงถึงความสอดคล้องกับข้อมูลตามรายงานตัวชี้วัดการพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด […]

การประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน

เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2566 สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ โดยการสนับสนุนของสำนักเลขาธิการอาเซียน จัดการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนว่าด้วยการเร่งรัดการขับเคลื่อนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ครั้งที่ 2 ณ โรงแรม วี กรุงเทพฯ โดยมีนายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุมร่วมกับนายอาร์เซนิโอ บาลิซาคัน รัฐมนตรีว่าการสำนักงานด้านการพัฒนาและเศรษฐกิจแห่งชาติแห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ และมีนายเกา กิม ฮอน เลขาธิการอาเซียน นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และรัฐมนตรี/ผู้แทนจากประเทศสมาชิกอาเซียนและองค์กรระหว่างประเทศต่าง ๆ เข้าร่วมการประชุม          ที่ประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนฯ ได้มีการหารือกันถึงความก้าวหน้าการดำเนินงานและแนวทางในการร่วมกันขับเคลื่อนเป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของภูมิภาคอาเซียน โดยยึดมั่นต่อวิสัยทัศน์อาเซียน ค.ศ. 2025 วาระการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ 2030 และหลักการไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลังอีกทั้งยังได้รับทราบผลของการประชุมอาเซียนด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยหน่วยงานด้านการวางแผนการพัฒนาประเทศ ครั้งที่ 3 ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2566 ซึ่งมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการยกระดับความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อพัฒนาระบบข้อมูลสำหรับการติดตามประเมินผลความก้าวหน้าของ SDGs รวมถึงการนำหลักการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายและแผนพัฒนาประเทศ เพื่อให้เกิดความสอดคล้องระหว่างนโยบาย โครงการและความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกระดับ ตลอดจนการสร้างความร่วมมือและประสานงานระหว่างหน่วยงานด้านการวางแผนระดับประเทศ เพื่อให้เกิดความสอดคล้องและนำไปสู่การบรรลุเป้าหมาย SDGs […]

สภาพัฒน์ประเดิมพื้นที่นำร่องสำหรับขับเคลื่อน SDGs ระดับพื้นที่ ณ จังหวัดกาฬสินธุ์

เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2566 ดร.ธัชไท กีรติพงค์ไพบูลย์ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ ดร.จริญญา สายหยุด นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ และเจ้าหน้าที่จากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้ลงพื้นที่ ณ จังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อหารือร่วมกับหน่วยงานและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ถึงแนวทางความร่วมมือที่จังหวัดกาฬสินธุ์จะกลายเป็นหนึ่งในพื้นที่นำร่องสำหรับการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในระดับพื้นที่ โดยมีนายธมน เล็กปรีชากุล เจ้าหน้าที่ด้านการข้อมูลและการรายงานผลจากสหประชาชาติ (UN) ประจำประเทศไทย ร่วมภารกิจการลงพื้นที่ดังกล่าวด้วย           การหารือมุ่งเน้นการสร้างความเข้าใจให้แก่หน่วยงานในพื้นที่ถึงวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานที่ต้องการจะขับเคลื่อนการพัฒนาของจังหวัดกาฬสินธุ์ ให้เกิดผลลัพธ์ตามแนวทาง SDGs ขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม โดยใช้ประโยชน์จากการผสานพลังจากภาคีการพัฒนาจากทุกภาคส่วน อาทิ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา ภาคประชาสังคม และองค์กรระหว่างประเทศ มาร่วมกันดำเนินงานและเสริมพลังซึ่งกันและกันโดยอาจเริ่มต้นจากประเด็นความท้าทายที่เร่งด่วนในพื้นที่ก่อน อาทิ ความยากจน สาธารณสุข และการศึกษาส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ทั้งในระดับจังหวัด ซึ่งมีนายปราชญา อุ่นเพชรวรากร รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นประธานที่ประชุมฯ ในช่วงครึ่งวันเช้า และระดับเทศบาลโดยมีนายจารุวัฒน์ บุญเพิ่ม นายกเทศมนตรีเมืองกาฬสินธุ์ เป็นประธานการประชุมฯ ในช่วงบ่าย ได้แจ้งตอบรับเข้าร่วมเป็นพื้นที่นำร่องสำหรับการขับเคลื่อน SDGs ในระดับพื้นที่ พร้อมกับร่วมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินการให้เป็นพื้นที่นำร่อง กองยุทธศาสตร์และประสานความร่วมมือระหว่างประเทศสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

1 2