ผลงานชิ้นที่ 1
ผลงานชิ้นที่ 2
ผลงานชิ้นที่ 3
ผลงานชิ้นที่ 4
ผลงานชิ้นที่ 5
ผลงานชิ้นที่ 6
ผลงานชิ่นที่ 7
ผลงานชิ้นที่ 8
ผลงานชิ้นที่ 9
ผลงานชิ้นที่ 10
ผลงานชิ้นที่ 11
ผลงานชิ้นที่ 12
ผลงานชิ้นที่ 1
เด็กหญิงอริสรา จิระบุญชัยนันท์ : ระดับประถมศึกษาปีที่ 4 – 6
โรงเรียนมีนประสาทวิทยา
แนวความคิด : ทะเลเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของมนุษย์ เป็นแหล่งกำเนิดของอาชีพประมง และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวให้เราได้พักผ่อนหย่อนใจ ถ้ามนุษย์ทิ้งขยะลงในทะเลจะก่อให้เกิดปัญหามากมาย ทำลายทั้งพืชและสัตว์ที่อยู่ใต้ท้องทะเล หนูจึงอยากชวนเพื่อนๆ ให้ช่วยกันอนุรักษ์ท้องทะเลของเรา ดำนํ้าไปเก็บขยะและทำความสะอาดปะการังใต้ท้องทะเลกันเถอะ ช่วยกันคนละไม้คนละมือ เท่านี้ทะเลของเราก็จะกลับมาสวยงามดังเดิม
ผลงานชิ้นที่ 2
เด็กหญิงภูชิตา จำปากุล ระดับประถมศึกษาปีที่ 4 – 6
โรงเรียนปิยะพงษ์วิทยา
แนวความคิด : อยากจะสื่อถึงชุมชนแออัดในสังคมเมือง มองไปทางไหนก็มีแต่อิฐกับปูน หนูจึงอยากจะสร้างอนุสาวรีย์พื้นที่สีเขียว มีชื่อว่า เจ้าหญิงดอกไม้กับเจ้าชายใบหยิก อนุสาวรีย์แห่งนี้จะเป็นสถานที่ให้คนในชุมชนได้ออกกำลังกาย ได้ผ่อนคลายกับกิจกรรมต่างๆ ในวันหยุด เป็นแหล่งรวมตัวของคนรักสุขภาพ เมื่อเข้าไปในนี้ ทุกคนจะมีแต่ความสุข สบายตาและสบายใจ
ผลงานชิ้นที่ 3
เด็กชายศิษฐาวัจน์ โรจนะวิจิตร ระดับประถมศึกษาปีที่ 4 – 6
โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
แนวความคิด : ช้างเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองของเรา เป็นสัตว์คู่บารมีของพระมหากษัตริย์ตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งนับว่าเป็นสัตว์ที่มีเกียรติอย่างสูง แต่ปัจจุบันนี้เราจะเห็นว่า คนมักจะเอาช้างมาเร่ร่อน ใช้เป็นเครื่องมือในการทำมาหากิน เอาช้างไปแสดงตามที่ต่างๆ ตามท้องถนนเพื่อให้คนซื้ออาหารเลี้ยงช้างจนช้างกลายเป็นสัตว์ที่ต้องหาเงินมาเลี้ยงคน แบกภาระของคนบางกลุ่มไว้ให้คนเหล่านั้นสุขสบาย ซึ่งความจริงช้างควรได้อยู่ในผืนป่า ควรได้อิสรภาพและความยุติธรรมในชีวิต ผมอยากจะให้คนเลิกหาผลประโยชน์จากสัตว์ป่าและคืนสันติภาพให้กับช้าง ได้ไปอยู่ในธรรมชาติที่มันควรจะอยู่ และมีชีวิตแบบสัตว์ป่าทั่วๆไป
ผลงานชิ้นที่ 4
เด็กชายศุภกิตติ์ เสมี ระดับประถมศึกษาปีที่ 4 – 6
โรงเรียนมีนประสาทวิทยา
แนวความคิด : ถ้ามนุษย์เรายังมีชีวิตแบบไร้สำนึกยังเป็นต้นเหตุของมลพิษทางนํ้าและอากาศ โรงงานอุตสาหกรรมปล่อยน้ำเสียสู่แม่นํ้าลำคลอง ฝุ่น PM2.5ที่เกิดจากรถยนต์และการก่อสร้าง ต่อไปเราจะมีชีวิตที่สั้นลง เพราะภายในปอดของเรามีแต่ฝุ่นควันและสารพิษต่างๆในร่างกาย อยากจะให้เรื่องราวเหล่านี้เป็นแค่ความทรงจำในอดีตที่ผ่านมา อยากให้คนรุ่นใหม่หันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้นโดยการปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว ปอดของเราจะได้มีอากาศที่บริสุทธิ์ สดใส และเป็นแหล่งท่องเที่ยวของสังคมเมืองได้อีกด้วย
ผลงานชิ้นที่ 5
เด็กชายปวิช ศิริพันธ์ : ระดับประถมศึกษาปีที่ 4 – 6
โรงเรียนปริ้นส์รอยแยลส์วิทยาลัย เชียงใหม่
แนวความคิด : การบริโภคและการผลิตอย่างรับผิดชอบ และการปฏิบัติเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ ความต้องการด้านบริโภคปัจจัย 4 สูงขึ้น ทั้ง บ้าน ยา เสื้อผ้า อาหาร เมื่อความต้องการมากก็เกิดการผลิตที่ทำร้ายทำลายชุมชนเมืองมากขึ้น ทั้งขยะ โรคระบาด ความสะอาด สภาพภูมิอากาศ โดยขาดความรับผิดชอบ อยากให้ทุกคนกลับมาดูแลรักษาบ้านเมืองให้น่าอยู่สืบไป เมื่อความต้องการมากการผลิตจะสูงขึ้น ทรัพยากรถูกทำลายมากขึ้น คนรุ่นใหม่ที่เป็นอนาคตของไทยควรมีใจรับผิดชอบสร้างสรรค์ไม่ทำร้ายทำลายธรรมชาติ
ผลงานชิ้นที่ 6
เด็กหญิงมะลิ แซ่สง : ระดับประถมศึกษาปีที่ 4 – 6
โรงเรียนมูลมังหลวงปู่ชอบ ฐานสโม
แนวความคิด : การศึกษาคือการศึกษาหาความรู้ต่างๆ คือที่มาของความเจริญรุ่งเรืองด้านอาชีพและเศรษฐกิจในโลกอนาคตที่มีความสะดวกสบาย
ผลงานชิ่นที่ 7
เด็กหญิงอิณธิดา สุวรรณวัฒนะ : ระดับประถมศึกษาปีที่ 4 – 6
โรงเรียนสารสาสน์วิเทศไทรน้อยพิทยาคาร
แนวความคิด : สันติภาพและความยุติธรรมกับการพัฒนาที่ยั่งยืน การพัฒนาสังคมอย่างยังยืน จะต้องมีเสรีภาพและสันติภาพช่วยเหลือคนทุกข์ยาก ลำบาก เด็กที่ถูกรังแก ทารุณโหดร้ายช่วยเหลือด้วยความบริสุทธิใจ จริงใจ ไม่แบ่งแยก ดังภาพเขียนที่มีศีรษะเป็นดอกไม้ ไม่มีหัวโขน ไม่แบ่งแยกวัฒนธรรมความเป็นอยู่และศาสนา
ผลงานชิ้นที่ 8
เด็กชายพิระสิษฐ์ หอมหวล ระดับประถมศึกษาปีที่ 4 – 6
โรงเรียนบรรจงรัตน์
แนวความคิด : การศึกษากับความเหลื่อมลํ้า มุมมองของนักเรียนสะท้อนปัญหาด้านการเรียนออนไลน์ในยุคที่ไม่สามารถไปโรงเรียนได้ ในภาพจะมีเด็กนักเรียนเรียนออนไลน์ผ่านจอทีวี แต่ไม่สนใจฟังโดยกำลังเล่นเกมบนไอแพด เรื่องที่ครูกำลังสอนสะท้อนออกมาเป็นภาษาที่เด็กไม่เข้าใจ เพราะสมาธิเด็กหลุดไปอยู่ในโลกของเกม
ผลงานชิ้นที่ 9
เด็กหญิงอชิรญา อัตถศาสตร์ : ระดับประถมศึกษาปีที่ 4 – 6
โรงเรียนวิชัยวิทยา เชียงใหม่
แนวความคิด : สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี นครและชุมชนยั่งยืน การบริโภคและผลิตอย่างรับผิด เป็นการเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างระหว่างความเป็นอยู่และสิ่งที่เราบริโภค
ผลงานชิ้นที่ 10
เด็กหญิงนภัศศยา เบ้าคำ : ระดับประถมศึกษาปีที่ 4 – 6
โรงเรียนอนุบาลพุทไธสง (โอภาสประชานุกูล)
แนวความคิด : การคุ้มครองสิ่งแวดล้อมกับการพัฒนาที่ยั่งยืน ชื่อภาพ “ปลูก” เพราะการมีทรัพยากรป่าไม้ที่ยั่งยืน คือการปลูกจิตสำนึกให้กับเยาวชน เยาวชนคือกำลังหลักในการสร้าง ฟื้นฟู และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติให้คงอยู่ ปลูกเมล็ดพันธุ์แห่งจิตสำนึกให้เป็นต้นกล้า และเติบโตเป็นไม้ใหญ่ที่แข็งแรง เพาะเมล็ดพันธุ์รุ่นใหม่ให้เป็นป่าใหญ่ที่แผ่ร่มเงาต่อไป
ผลงานชิ้นที่ 11
เด็กหญิงนภัสนันท์ รุ่งวิทยนันท์ : ระดับประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 / โรงเรียนนานาชาติ แองโกล สิงคโปร์
แนวความคิด : การร่วมมือกันเพื่อเป้าหมาย เส้นทางของเด็กๆ ฝั่งถนนสีเขียว สื่อถึงความเป็นธรรมชาติ เด็กๆได้รับการถ่ายทอดความรู้ตามสิ่งแวดล้อมที่สืบทอดมา เด็กๆจะมีใจรักและผูกพันกับสิ่งต่างๆรอบตัว (มีรูปหัวใจ) ฝั่งถนนสีฟ้า หมายถึงแสงไฟสีฟ้าที่ส่องสว่างจากอุปกรณ์เทคโนโลยีต่างๆ เด็กๆที่เติบโตท่ามกลางเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วแทบจะเรียนรู้ไปพร้อมๆกับผู้ใหญ่ (มีรูปหลอดไฟ) เด็กๆสามารถเลือกลองเดินทางอื่นๆได้ทุกเส้นทาง ผู้ใหญ่ก็พร้อมให้การสนับสนุนการเรียนรู้ของเด็กๆ เพื่อเติบโตเป็นกำลังสำคัญของชาติ
ผลงานชิ้นที่ 12