ผลงานชิ้นที่ 1
ผลงานชิ้นที่ 2
ผลงานชิ้นที่ 3
ผลงานชิ้นที่ 4
ผลงานชิ้นที่ 5
ผลงานชิ้นที่ 6
ผลงานชิ่นที่ 7
ผลงานชิ้นที่ 8
ผลงานชิ้นที่ 9
ผลงานชิ้นที่ 10
ผลงานชิ้นที่ 11
ผลงานชิ้นที่ 12
ผลงานชิ้นที่ 13
ผลงานชิ้นที่ 14
ผลงานชิ้นที่ 1
นางสาววัชรีวรรณ สงวนสินธ์
ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 และปวช.
โรงเรียนสตรีภูเก็ต
แนวความคิด : โลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา คือปัจจัยสำคัญที่ทำให้มนุษย์ต้องประดิษฐ์คิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีให้ก้าวหน้าตามไปด้วย เพื่อให้สิ่งมีชีวิตบนโลกสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ สิ่งที่สำคัญที่สุดจากการใช้ประโยชน์ จากเทคโนโลยี คือต้องไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิต เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าควบคู่กับคุณภาพชีวิตที่ดี คือสิ่งที่ทุกคนบนโลกนี้ต้องการ
ผลงานชิ้นที่ 2
นายวิคเตอร์ รูฟโฟโล
ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 และ ปวช.
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
แนวความคิด ในปัจจุบันท้องทะเลถูกทำลายมากยิ่งขึ้นเพราะขยะที่ถูกทิ้งลงมหาสมุทรเป็นจำนวนมาก จากประชากรมนุษย์ที่เพิ่มมากขึ้นทุกวัน ผลกระทบที่ตามมาของมหาสมุทรที่ถูกทำลาย คือทรัพยากรสิ่งมีชีวิตในท้องทะเลที่ลดลง มีสิ่งมีชีวิตมากมายที่ตายหรือบาดเจ็บเพราะขยะที่มนุษย์ทิ้งลงในมหาสมุทร ภาพนี้จึงสื่อถึงปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นกับทรัพยากรในมหาสมุทรที่ถูกขยะที่มนุษย์ทิ้งทำลาย และกลุ่มคนที่กำลังช่วยกันเก็บขยะตามชายหาด ไม่ว่าจะเป็นนักท่องเที่ยวหรือคนท้องถิ่นก็ช่วยกันได้ เพื่อช่วยกันคืนสภาพของท้องทะเลและรักษาทรัพยากรของมหาสมุทร
ผลงานชิ้นที่ 3
นางสาวจิรัชญา อ้นสำราญ
ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 และปวช.
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
แนวความคิด : การร่วมมือกันเพื่อเป้าหมาย เมื่อทุกคน ทุกฝ่าย ทุกสาขาอาชีพ และทุกองค์กร ร่วมมือ ร่วมแรงร่วมใจ มีความมุ่งมั่นที่จะไปให้ถึงความสำเร็จก็จะร่วมกันฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ แม้จะเป็นเพียงฟันเฟืองเล็กๆ แต่ถ้าพร้อมใจกันก็สามารถเพิ่มประสิทธิภาพประสิทธิผลและนำไปสู่เป้าหมายและความสำเร็จได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไปในอนาคต
ผลงานชิ้นที่ 4
นางสาวณัฐนันท์ แสงอรุณ
ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 และปวช.
โรงเรียนบ้านด้ายเทพกาญจนาอุปถัมภ์
แนวคความคิด : ได้แรงบันดาลใจมาจากเรื่อง SOUL ฉันคิดว่าการปลูกฝังที่ดีบวกกับการเอาใจใส่เด็กๆให้ความรู้ในสิ่งที่เขาชอบตั้งแต่เด็กจะทำให้เกิดคลื่นลูกใหม่ในการพัฒนาโลกใบนี้ให้ดีขึ้นในทุกๆด้าน การศึกษาอาจจะไม่ใช่แค่การเรียนรวมถึงการสอนการใช้ชีวิตด้วย ให้โอกาสในเด็กทำในสิ่งที่เขาถนัด แล้วเราจะได้อัจฉริยะในด้านต่างๆ มาทำให้โลกเราน่าอยู่มากขึ้น
ผลงานชิ้นที่ 5
นายเทพกานต์ บุญเสริม
ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 และ ปวช.
โรงเรียนตะโหมด
แนวความคิด : คนกับการพัฒนาที่ยั่งยืน เปรียบเทียบสังคมเป็นต้นไม้ต้นหนึ่ง โดยสอดแทรกลายไทยที่ตนถนัด โดยเปรียบเทียบตรงกลางต้นไม้เป็นความยากจนและอดอยาก โดยให้พื้นหลังเป็นเปลือกไม้แสดงถึงความลำบากและล้าหลัง แต่ไม่ยอมแพ้ได้เจริญเติบโตต่อไป อาจจะโน้มลงบ้างแต่ก็สู้จนเป็นต้นไม้ที่สวยงาม โดยดอกไม้แทนความเท่าเทียมทางเพศ หงษ์แสดงถึงเสรีภาพส่วนหงษ์ที่อยู่ข้างนอกแสดงความไม่ยอมแพ้ต่อปัญหา หากสังคมมีความเป็นอยู่ที่ดีดอกไม้ก็จะสวยงาม
ผลงานชิ้นที่ 6
นางสาวลุค ไชสำแดง
ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 และ ปวช.
โรงเรียนมูลมังหลวงปู่ชอบ ฐานสโม
แนวคความคิด : ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและในนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ลํ้าสมัยแห่งโลกอนาคตที่เกิดขึ้นมาใหม่ๆ จนแทบตามความก้าวหน้าไม่ทัน แต่ในขณะเดียวกันมนุษย์ก็ได้ดึงเอาทรัพยากรธรรมชาติจากโลกใบนี้เอาไปใช้จนจะหมด ฉะนั้นจึงควรที่จะมีใหม่ มาผลิตหรือชดเชยสิ่งที่มีชีวิตจากธรรมชาติขาดหายไป
ผลงานชิ่นที่ 7
นายพุทธิเมธา ตังคโณบล
ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 และ ปวช.
โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช
แนวคความคิด : กลุ่มเด็กนักเรียนกลุ่มหนึ่งที่ร่วมศึกษาและแสดงความคิดเกี่ยวกับปัญหาความอดอยาก สินค้า OTOP ของชาวบ้านทำให้มีรายได้ในชุมชุนและเป็นการรักษาของเก่าไม่ให้หายไป ปัญหาความยากจน นักธุรกิจหรือผู้นำนำพาเศรษฐกิจเจริญก้าวหน้า ประชาชนมีกินมีใช้ มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยและความเป็นอยู่ที่ดี ครอบครัวที่ร่วมทานอาหารอย่างความสุขในบรรยากาศที่อบอุ่น โดยเป็นการพูดคุยที่เปิดกว้างและไม่กีดกันทางความคิด ซึ่งแสดงถึงความเท่าเทียมทางเพศ
ผลงานชิ้นที่ 8
นายจิรวัฒน์ นาโนนกอก
ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 และ ปวช.
โรงเรียนอุบลรัตน์พิทยาคม
แนวความคิด : ลดการทุจริตในตำแหน่งหน้าที่และการรับสินบนทุกรูปแบบลดความรุนแรงทั้งต่อคนและสัตว์ สัตว์ป่าทุกชนิดไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ ล้วนถูกกำหนดให้มีหน้าที่ในระบบนิเวศ แต่มนุษย์บางคนกลับล่าสัตว์ป่าเหล่านี้ เพราะความสนุกสนานของตนและทำไปเพื่อเงินเพียงเท่านั้น โดยไม่คำนึงถึงคุณค่าของชีวิต
ผลงานชิ้นที่ 9
นางสาวศุภัชญา โพธิพัฒน์
ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 และ ปวช.
โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ บดินทรเดชา
แนวความคิด : ความเหลื่อมลํ้าทางการศึกษาของเด็กในเมืองและเด็กต่างจังหวัดเด็กในเมืองกรุงที่เข้าถึงอุปกรณ์การศึกษาและเด็กต่างจังหวัดที่ไม่เคยได้เห็นเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า ซึ่งภาพนี้ต้องการสื่อว่า เด็กทุกคนควรได้รับการศึกษาที่เท่าเทียมกันและในอนาคตเราจะก้าวไปสู่เมืองแห่งการศึกษาที่เท่าเทียมกันนั้นด้วยกัน โดยไม่ทิ้งเด็กคนไหนไว้ข้างหลัง
ผลงานชิ้นที่ 10
นายปกรณ์ พิมมาตร
ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 และ ปวช.
โรงเรียนสามเงาวิทยาคม
แนวความคิด : หากเราทุกคนมีความรัก ความศรัทธาต่อกัน ความสันติภาพและความยุติธรรมของคนในสังคมก็จะมีความสุข บนพื้นฐานคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนต่อไป
ผลงานชิ้นที่ 11
เด็กหญิงปสุตา ศิริพันธ์
นายภูพิศุทธ์ จณะวัตร
ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 และปวช.
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
แนวความคิด : เป้าหมายการพัฒนา สันติภาพความยุติธรรม กับการพัฒนาที่ยั่งยืน ยึดหลักการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีสังคมที่สงบสุขและไม่แบ่งแยก ศาลยุติธรรม สถาบันที่คนจนและคนรวยมีสิทธิและเสรีภาพเท่าเทียมกัน ภาพศาลยุติธรรมยืนบนตาชั่งที่มีฝั่งคนรวยและคนจน แม้จะรวยหรือจนก็อยู่ในสิทธิเสรีภาพและความยุติธรรมเท่าเทียมกันในสังคม โดยตราชั่งแห่งความยุติธรรมจะอยู่บนบ่าของตำรวจผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ และนกพิราบสื่อถึงสันติภาพและอิสระที่กำลังโบยบินอยู่ในแผ่นดินไทย
ผลงานชิ้นที่ 12
นายกฤษฎา แหวนเงิน
ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 และปวช.
โรงเรียนวังโป่งศึกษา
แนวความคิด : ขจัดความยากจน ขจัดความอดยาก สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี การศึกษาที่มีคุณภาพ ภาพเมืองหลวงหมายถึงความเติบโตทางเศรษฐกิจที่มีความสงบสวยงามเป็นเมืองที่น่าอยู่ เป็นเมืองส่งเสริมให้มีบุคคลต่างๆที่มีความรู้มาพัฒนาประเทศ ปรับปรุงสังคมและแก้ไขปัญหาความยากจน โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาแก้ปัญหา ดังภาพจะเป็นหุ่นยนต์ที่จะเข้ามาแก้ปัญหาความยากจนและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้สูงขึ้น
ผลงานชิ้นที่ 13
นางสาวพิชญ์สินี พิมพ์วงศ์ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 และ ปวช.
โรงเรียนวิชัยวิทยา
แนวความคิด พาสู่โลกที่ดีขึ้นทั้งในด้านการศึกษา เพื่ออนาคตทางการเงินที่ดีขึ้น ไปเจอความหลากหลายต่างๆในสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น
ผลงานชิ้นที่ 14