เขียนและเรียบเรียงโดย: นางสาวมัชฌิมา พรนิมิตร

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) เป็นเป้าหมายร่วมกันของโลก โดยประกอบด้วยเป้าหมายหลัก (Goal) 17 ข้อ สร้างความยั่งยืนอย่างสมดุลใน 3 มิติ ได้แก่ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม เพื่อมุ่งไปสู่โลกที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังภายในปี 2030

ในบรรดาเป้าหมายหลักทั้ง 17 ข้อของ SDGs เป้าหมายที่ 13 การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Action) เน้นในเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อสภาพแวดล้อมซึ่งเป็นหนึ่งในประเด็น “เร่งด่วน” ที่โลกกำลังให้ความสนใจอยู่ในขณะนี้

เมื่อพูดถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สาเหตุสำคัญคือการปล่อยแก๊สเรือนกระจกขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดจากการเผาไหม้ของโรงงานอุตสาหกรรม ยิ่งในช่วงหลัง โรงงานอุตสาหกรรมมีการเผาไหม้มากขึ้นจากการเร่งทำธุรกิจให้สอดคล้องกับการเติบโตของเศรษฐกิจ หรือมีการตัดไม้ทำลายป่าเพราะมนุษย์ต้องการทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้น ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะเรื่องของภาวะโลกร้อน ซึ่งจะกระทบต่อสภาพความเป็นอยู่ของสิ่งมีชีวิตบนโลกต่อไป

วัฏจักรคาร์บอน ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างไร?

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ส่วนหนึ่งมาจากวงจรที่เรียกว่า วัฏจักรคาร์บอน (Carbon cycle) ซึ่งเริ่มจากการสังเคราะห์แสงของพืชที่ต้องใช้คาร์บอนไดออกไซต์เพื่อผลิตนำ้ตาล (Glucose) มาเป็นพลังงาน หรือเรียกว่าการสร้างอาหารให้แก่ตนเอง และเพื่อเป็นพลังงานให้ผู้บริโภคชั้นปฐมภูมิ (primary consumer) หรือ สัตว์ที่กินพืชเป็นอาหาร 

ถ้าจะอธิบายให้ง่ายขึ้น นี่คือการที่สัตว์ไม่สามารถผลิตพลังงานในร่างกายเองได้จึงต้องการพลังงานจากการบริโภคสัตว์อื่นหรือพืช ซึ่งในหลักการของห่วงโซ่อาหาร สัตว์เหล่านี้จะถูกบริโภคต่อโดยสัตว์ที่กินเนื้อหรือสัตว์ที่กินทั้งเนื้อทั้งพืชเป็นการส่งต่อพลังงานจนถึงผู้บริโภคชั้นสุดท้าย (territary consumer) หรือสิ่งมีชีวิตที่อยู่สูงสุดของห่วงโซ่อาหารนั้นๆ ขณะเดียวกัน วัฎจักรดังกล่าวสามารถก่อให้เกิดการผลิตแก๊สเรือนกระจกได้ เนื่องจากสิ่งมีชีวิตเหล่านี้จำเป็นต้องใช้แก๊สออกซิเจนเพื่อหายใจ ซึ่งจะกลายเป็นแก๊สมีเทนซึ่งจะเป็นตัวทำปฏิกิริยากับแก๊สออกซิเจนเพื่อผลิตนำ้และแก๊สคาร์บอนไดออกไซต์ต่อไป 

นอกจากนี้ แก๊สคาร์บอนไดออกไซต์อาจเกิดขึ้นได้ในกรณีที่ผู้ย่อยสลายหรือสัตว์ประเภทที่บริโภคซากพืชซากสัตว์ที่เสียชีวิตไม่สามารถย่อยสลายซากสัตว์ได้หมด เนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ อาทิ สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย ซากสัตว์เหล่านี้จะถูกดินและแร่ธาตุต่าง ๆ ทับถม เมื่อเวลาผ่านไปหลายปี แรงดันและความร้อนที่ถูกกดลงมาจะทำให้ซากสัตว์เหล่านี้กลายเป็นถ่านหินหรือทรัพยากรต่าง ๆ ที่โรงงานอุตสาหกรรมจะนำไปใช้เป็นทรัพยากรในการผลิตสินค้าและบริการต่อไป หรือที่เรารู้จักกันในนาม “การเผาไหม้” ซึ่งจะเป็นการเพิ่มปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซต์ในชั้นบรรยากาศต่อไป

ผลกระทบของแก๊สคาร์บอนไดออกไซต์ที่มีต่อสัตว์ทะเลและมนุษย์

การปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซต์เป็นปัญหาที่อาจส่งผลกระทบต่อสภาพความเป็นอยู่ของสิ่งมีชีวิตบนโลก โดยเฉพาะสัตว์ทะเล เพราะถ้าพิจารณาจากหลักวัฏจักรคาร์บอน (carbon cycle) การปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซต์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศจะส่งผลให้เกิด “ความเป็นกรดในมหาสมุทร” (ocean acidification) เนื่องจากนำ้มีคุณสมบัติในการละลายคาร์บอนไดออกไซต์ ซึ่งจะส่งผลให้นำ้ทะเลกลายเป็นกรดและส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลที่มีเปลือกหรือกระดอง เพราะกระดองหรือเปลือกของสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ถูกสร้างจากสารแคลเซียมคาร์บอเนต ซึ่งสามารถถูกทำลายได้โดยกรด นั่นเท่ากับว่าการที่น้ำทะเลกลายเป็นกรดจะทำให้สิ่งมีชีวิตเหล่านี้ได้รับผลกระทบและสามารถตกอยู่ในอันตรายจากผู้ล่าได้ เนื่องจากจะไม่สามารถสร้างเปลือกและกระดองเพื่อปกป้องตนเองได้นั่นเอง

ด้วยเหตุนี้จะทำให้ปริมาณของสัตว์บางชนิดนั้นน้อยลง ส่งผลให้ไม่มีทรัพยากรเพียงพอแก่ระบบนิเวศในท้องทะเลและอาจทำให้จำนวนประชากรของสัตว์ทะเลมีปัญหาหรือขาดความสมดุล รวมทั้งปะการังในท้องทะเลซึ่งจะได้รับผลกระทบเดียวกันอีกด้วย

ไม่ใช่แค่สัตว์ทะเลที่จะได้รับผลกระทบ แต่มนุษย์ย่อมได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นี้เช่นกัน เพราะเมื่อมนุษย์หายใจจะก่อให้เกิดการรับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เข้าสู่ปอด และเมื่อมนุษย์รับคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปจำนวนหนึ่งในกระแสเลือดจะทำให้เลือดของมนุษย์กลายเป็นกรดได้เช่นเดียวกับนำ้ทะเล เนื่องจากเลือดมีส่วนประกอบของนำ้อยู่ 55% หรือเกินครึ่งของส่วนประกอบอื่นๆภายในเลือด ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพของเราโดยตรง เช่น ปัญหาเกี่ยวกับทางเดินหายใจ หรือหากได้รับปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซต์เป็นจำนวนมากอาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อสมองได้ในภายหลัง

นโยบายที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อลดการปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซต์สู่ชั้นบรรยากาศ

นอกจากปัญหาที่เกิดขึ้นกับสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลและมนุษย์แล้ว การมีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศก็เป็นอีกปัญหาที่สำคัญ โดยในปัจจุบันนี้ หลายโรงงานอุตสาหกรรมได้ทำธุรกิจซึ่งก่อให้เกิดการปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซต์สู่ชั้นบรรยากาศเป็นอย่างมาก และนี่คือประเด็นที่หลายประเทศให้ความสำคัญ เนื่องจากการปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซต์สู่ชั้นบรรยากาศถือเป็น “ความล้มเหลวของการตลาด” (market failure) เพราะบริษัทหรือธุรกิจเหล่านี้ปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซต์ในปริมาณที่สามารถสร้างผลกระทบภายนอกทางลบ (negative externalities) หรือการที่บริษัทได้ผลิตสินค้าและบริการที่จะการส่งผลกระทบต่อบุคคลที่สามหรือสิ่งแวดล้อมได้

ด้วยเหตุนี้ หลาย ๆ ประเทศจึงออกนโยบาย “ภาษีคาร์บอน” ขึ้นเพื่อลดผลกระทบภายนอกทางลบที่จะเกิดขึ้น โดยภาษีคาร์บอนเป็นการเรียกเก็บภาษีโดยรัฐบาลกับบริษัทที่ผลิตแก๊สคาร์บอนไดออกไซต์ โดยคิดเป็นภาษีคาร์บอนต่อ 1 หน่วย

การใช้นโยบายภาษีคาร์บอนเป็นเหมือนกับการสร้างทางเลือกให้กับบริษัท เพราะถ้าบริษัทสามารถเปลี่ยนวิธีในการผลิตได้โดยที่ไม่ต้องปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซต์สู่ชั้นบรรยากาศ บริษัทนั้นก็ไม่มีความจำเป็นต้องเสียภาษี จุดประสงค์ที่แท้จริงของภาษีคาร์บอนจึงเป็นการผลักดันให้ผู้คนเปลี่ยนมาให้ความสนใจกับพลังงานสะอาด (Green energy)

ตัวอย่างเช่น ประเทศสิงคโปร์ มีการยกระดับภาษีคาร์บอนขึ้นในอัตรา 25 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ประมาณ 600 บาท) ต่อการปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซต์ 1 ตันสู่ชั้นบรรยากาศ โดยสิงคโปร์มีเป้าหมายว่าจะลดปริมาณการปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซต์ที่สร้างผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของชั้นบรรยากาศให้เป็น 0 ภายในปี 2050

อย่างไรก็ตาม หากบริษัทนั้น ๆ มีความจำเป็นต้องใช้พลังงานเชื้อเพลิงในการผลิตสินค้าและบริการของบริษัทเป็นอย่างมาก การเพิ่มภาษีคาร์บอนอาจไม่ได้ทำให้บริษัทเหล่านี้หันมาใช้พลังงานสะอาดในการผลิต และอาจทำให้ประเทศสิงคโปร์ไม่สามารถไปถึงเป้าหมายที่ตนเองกำหนดไว้ได้ เนื่องจากหลายบริษัทและหน่วยงานยังมีความจำเป็นที่จะต้องใช้พลังงานจากถ่านหินและเชื้อเพลิงอยู่

นอกจากนี้ภาษีคาร์บอนก็อาจส่งผลให้เกิดปัญหาด้านของเศรษฐกิจตามมา เนื่องจากการเพิ่มภาษีคาร์บอนจะเป็นการเพิ่มต้นทุนในการผลิตของบริษัทและธุรกิจ ซึ่งอาจส่งผลให้บริษัทส่วนมากจ้างพนักงานน้อยลงและทำให้อัตราของจำนวนคนว่างงานเพิ่มขึ้น

โดยรวมแล้ว เรื่องของการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศยังเป็นปัญหาที่ใหญ่และยากที่จะแก้หรือมีความเป็นไปได้ในการช่วยลดปริมาณและทำให้เข้าใกล้กับเป้าหมายได้ แต่สิ่งที่แน่นอนคือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสามารถส่งผลกระทบถึง SDGs ข้ออื่น ๆ ได้ โดยเฉพาะในเรื่องการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ รวมถึงความเหลื่อมล้ำภายในสังคมจากคนจนและอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้น 

ความคืบหน้าของ SDG13 ในปี 2023 ของประเทศสิงคโปร์

จากสถานการณ์ SDG 13 ในประเทศสิงคโปร์ตามที่ได้ยกตัวอย่างไปข้างต้น ประเทศสิงโปร์นั้นยังถือว่าอยู่ในสถานะที่ major challenges remain ซึ่งนั่นหมายความว่าประเทศสิงคโปร์ยังไม่สามารถบรรลุเป้าหมายในการลดการปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซต์ขึ้นสู่บรรยากาศได้แต่มีการประเมินในเว็บไซต์ https://dashboards.sdgindex.org/profiles ได้ประเมินเอาไว้ว่า ประเทศสิงคโปร์นั้นถือว่า on track หรือกำลังเดินมาถูกทางในเป้าหมายการลดจำนวนการปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซต์ 

ที่สำคัญคือ เราเห็นความพยายามของประเทศสิงคโปร์ที่จะลดปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซต์ในชั้นบรรยากาศโดยไม่ได้มีการเมินเฉยแต่อย่างใด จึงถือว่าภาษีคาร์บอน (Carbon tax) เป็นก้าวแรกที่ดีสำหรับการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ 

ความคืบหน้าของ SDG 13 ในปี 2023 และแนวทางการลดปริมาณการปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซต์ในประเทศไทย

เมื่อหันกลับมาดูประเทศไทย สถานการณ์ในขณะนี้ถือว่าอยู่ในขั้น significant challenges remains แต่ก็ยังไม่ดีมากเท่าที่ควร นอกจากนี้ ประเทศไทยยังไม่มีนโยบายหรือข้อบังคับที่ชัดเจนในการลดปัญหาการปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซต์ ประเทศไทยจึงควรแก้ปัญหานี้โดยเร่งด่วน แต่การที่ประเทศไทยจะเร่งใช้ภาษีคาร์บอนตามประเทศสิงคโปร์ก็มีโอกาสที่จะกระทบเศรษฐกิจของประเทศ ข้อเสนอแนวทางที่เป็นไปได้จึงเป็นการพิจารณาการใช้จ่ายและการลงทุนของภาครัฐ (government spending) ซึ่งจะเป็นแรงอุดหนุนในการผลักดันให้บริษัทสามารถที่จะหาพลังงานสะอาด หรือ Green energy ที่จะปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซต์ในปริมาณที่เหมาะสมได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นรัฐบาลอาจต้องมีเงื่อนไขในการใช้จ่ายและลงทุนให้บริษัทเหล่านี้คือการที่บริษัทเหล่านี้จะต้องใช้พลังงานสะอาดในการผลิตสินค้าและบริการเหล่านั้นด้วย

แหล่งอ้างอิงข้อมูล

เป้าหมายของ SDGs goals และรูปภาพ สืบค้นได้จาก https://thailand.opendevelopmentmekong.net/th/topics/sustainable-development-goals/

เป้าหมายของ SDGs 13 สืบค้นได้จาก https://www.sdgmove.com/2016/10/07/goal-13-climate-action/

นโยบายภาษีคาร์บอนในสิงคโปร์ สืบค้นได้จาก https://www.voathai.com/a/singapore-to-increase-carbon-tax-five-fold-by-2024/6450957.html