การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ : ผลกระทบต่อสุขภาพมนุษย์

กลุ่มเปราะบางท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ “คนยากจน คนที่เปราะบาง และคนที่หิวโหย กลับต้องเผชิญกับความเป็นจริงอันเลวร้ายของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในการดำรงชีวิตในแต่ละวัน พูดตรงไปตรงมาก็คือ คนยากจนของโลกกำลังได้รับอันตรายจากปัญหาที่พวกเขาไม่ได้เป็นผู้ก่อ” – Archbishop Desmond Tutu การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วนของสังคม โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อสภาพภูมิอากาศ (Climate risk) มากกว่ากลุ่มคนทั่วไป จึงต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมทางสภาพภูมิอากาศ (Climate justice) ที่ต้องคำนึงถึงความเสมอภาคและสิทธิมนุษยชนเป็นแกนหลักของการตัดสินใจและการดำเนินการเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศร่วมด้วย “คนบางกลุ่มเผชิญภัยคุกคามมากกว่า” ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพมนุษย์อย่างซับซ้อนและหลากหลาย โดยมีปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผลกระทบแตกต่างกันขึ้นอยู่กับความเปราะบาง ปัจจัยทางสังคม เศรษฐกิจ ภูมิศาสตร์ และความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยเฉพาะผู้ที่ถูกจำกัดโดยความยากจน จะเผชิญหน้ากับภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้น โดยผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อสุขภาพนั้น มีความเชื่อมโยงระหว่างความเสี่ยงจากภัย (Hazard) ความเปราะบาง (Vulnerability) และการเผชิญความเสี่ยง (Exposure)ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ ซึ่งมีปัจจัยต่าง ๆ เช่น อายุ เพศ ความสามารถในการเข้าถึงบริการ สถานะทางสังคม และเศรษฐกิจ ตลอดจนระบบสุขภาพ ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบ 2 ประเภท คือ ผลกระทบเชิงสุขภาพ เช่น การเจ็บป่วยจากโรคระบาด การย้ายถิ่นฐาน และความขัดแย้ง […]

สำรวจ “นโยบายภาษีคาร์บอน” ทางออกเพื่อบรรเทาปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) เป็นเป้าหมายร่วมกันของโลก โดยประกอบด้วยเป้าหมายหลัก (Goal) 17 ข้อ สร้างความยั่งยืนอย่างสมดุลใน 3 มิติ ได้แก่ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม เพื่อมุ่งไปสู่โลกที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังภายในปี 2030           ในบรรดาเป้าหมายหลักทั้ง 17 ข้อของ SDGs เป้าหมายที่ 13 การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Action) เน้นในเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อสภาพแวดล้อมซึ่งเป็นหนึ่งในประเด็น “เร่งด่วน” ที่โลกกำลังให้ความสนใจอยู่ในขณะนี้ เมื่อพูดถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สาเหตุสำคัญคือการปล่อยแก๊สเรือนกระจกขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดจากการเผาไหม้ของโรงงานอุตสาหกรรม ยิ่งในช่วงหลัง โรงงานอุตสาหกรรมมีการเผาไหม้มากขึ้นจากการเร่งทำธุรกิจให้สอดคล้องกับการเติบโตของเศรษฐกิจ หรือมีการตัดไม้ทำลายป่าเพราะมนุษย์ต้องการทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้น ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะเรื่องของภาวะโลกร้อน ซึ่งจะกระทบต่อสภาพความเป็นอยู่ของสิ่งมีชีวิตบนโลกต่อไป วัฏจักรคาร์บอน ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างไร?           การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ส่วนหนึ่งมาจากวงจรที่เรียกว่า วัฏจักรคาร์บอน (Carbon cycle) ซึ่งเริ่มจากการสังเคราะห์แสงของพืชที่ต้องใช้คาร์บอนไดออกไซต์เพื่อผลิตนำ้ตาล (Glucose) มาเป็นพลังงาน หรือเรียกว่าการสร้างอาหารให้แก่ตนเอง และเพื่อเป็นพลังงานให้ผู้บริโภคชั้นปฐมภูมิ (primary consumer) […]

Thailand’s SDG Review: The Series EP.8

สำรวจสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำของประเทศไทย ความเหลื่อมล้ำ หมายถึง ภาวะของความไม่เท่าเทียมกันในแง่ต่าง ๆ [1] ทั้งในเชิงของสถานะ สิทธิ และโอกาส หรือในความหมายที่เจาะจงโดยเฉพาะในทางเศรษฐกิจ ซึ่งมักหมายถึงความเหลื่อมล้ำทางรายรับ หรือในความหมายที่กว้างกว่านั้นคือ ความเหลื่อมล้ำในบริบทการใช้ชีวิต ความเหลื่อมล้ำในนิยามอื่น ๆ อาทิ สิทธิ หรือ กฎหมาย ปัญหาความเหลื่อมล้ำในประเทศไทยนั้นพบได้ในหลายมิติ[2] ทั้งความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ ระหว่างกลุ่มคนที่จนที่สุดกับกลุ่มคนที่มีฐานะดีที่สุด มีความแตกต่างของรายได้เกือบ 16 เท่า ในขณะที่ผู้มีรายได้น้อยมีความจำเป็นต้องก่อหนี้สินเพิ่มขึ้นเพื่อการดำรงชีพ กลุ่มผู้มีรายได้สูงซึ่งไม่มีความจำเป็นต้องก่อหนี้จึงมีโอกาสสะสมความมั่งคั่งมากกว่า ส่งผลให้เกิดความไม่เสมอภาคในการถือครองทรัพย์สิน โดยกลุ่มที่มีรายได้สูงร้อยละ 10 มีการถือครองทรัพย์สินเกือบ 1 ใน 3 ของประเทศ บ่งบอกถึง ความเหลื่อมล้ำด้านความมั่งคั่ง อีกทั้งยังพบว่าประเทศไทยยังมี ความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่ จากการเจริญเติบโตและกระจุกตัวทางเศรษฐกิจในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่มีความแตกต่างกับพื้นที่ชนบทหรือพื้นที่นอกเขตเมืองอื่น ๆ ทั้งในแง่ของมูลค่าทางเศรษฐกิจและจำนวนประชากร อันส่งผลต่อเนื่องต่อการจัดสรรทรัพยากรและคุณภาพโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึง ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการสาธารณะที่มีคุณภาพ นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีปัญหา ความเหลื่อมล้ำในการดำเนินธุรกิจ โดยวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมซึ่งมีสัดส่วนกว่าร้อยละ 99 ของกิจการทั้งหมดและอัตราจ้างงานกว่า ร้อยละ 70 […]

Thailand’s SDG Review: The Series EP.7

สำรวจสถานการณ์ความเสมอภาคระหว่างเพศของประเทศไทย เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 5 เป็นการมุ่งเน้นการดำเนินงานเพื่อให้เกิดความเสมอภาคระหว่างเพศ และเพิ่มบทบาทของผู้หญิง โดยการจัดการกับความท้าทายต่าง ๆ เพื่อให้เพศหญิงและเด็กหญิงมีโอกาสเข้าถึงองค์ความรู้ที่หลากหลาย เพื่อพัฒนาขีดความสามารถ และเพิ่มบทบาทของเพศหญิงทั้งในทางสังคม การทำงาน และทางการเมือง อย่างเท่าเทียม รวมถึงการส่งเสริมความเข้าใจและค่านิยมที่เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของทุกคน อาทิ สิทธิในการศึกษาและการทำงาน สิทธิที่จะตัดสินใจเลือกคู่ครองตามวัยที่เหมาะสม พร้อมทั้งยุติการกระทำที่ก่อให้เกิดการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ การล่วงละเมิดทางเพศ รวมไปถึงการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบทั้งทางร่างกายและจิตใจ ภาพรวมสถานะความก้าวหน้าของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 5 ความเสมอภาคระหว่างเพศ ในระดับโลก ทั้งนี้ จากรายงานการพัฒนาที่ยั่งยืนประจำปี 2566 (Sustainable Development Report 2023) โดยเครือข่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (Sustainable Development Solutions Network: SDSN) ได้ประเมินสถานะความก้าวหน้าของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเป้าหมายที่ 5 ความเสมอภาคระหว่างเพศในภาพรวมของโลกว่ามีพัฒนาการที่ดีขึ้นเล็กน้อยแต่ยังคงอยู่ภายใต้ภาวะที่มีความท้าทายสำคัญจำนวนมาก (แสดงผลสีส้ม) โดยมีประเทศที่สามารถบรรลุเป้าหมายในการสร้างความเสมอภาคระหว่างเพศได้แล้วเพียง 7 ประเทศ จากทั้งหมด 166 ประเทศ ได้แก่ เบลเยียม นิวซีแลนด์ นอร์เวย์ สวีเดน อันดอร์รา […]

Thailand’s SDG Review: The Series EP.6

การศึกษาเป็นฟันเฟืองที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ การเข้าถึงการศึกษาอย่างทั่วถึงจะช่วยยกระดับการเติบโตทางเศรษฐกิจ ปิดช่องว่างทางสังคม สร้างความเป็นธรรม และลดความเหลื่อมล้ำในทุกมิติ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเป้าหมายที่ 4 จึงมุ่งเน้นสร้างหลักประกันว่าเด็กชายและหญิงสามารถเข้าถึงการศึกษาตั้งแต่ระดับปฐมวัยไปจนถึงระดับมัธยมศึกษาโดยไม่มีค่าใช้จ่าย สามารถเข้าถึงการศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่มีคุณภาพอย่างถ้วนหน้า ตลอดจนคนทุกช่วงวัยได้รับโอกาสในการเข้าถึงการฝึกอบรมทักษะอาชีพที่เหมาะสมและเท่าเทียม           ในภาพรวม การเข้าถึงการศึกษาและสำเร็จการศึกษาของคนไทยมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยมีสัดส่วนเด็กเข้าศึกษาในระดับปฐมวัยที่เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 84.7 ในปี 2559 เป็นร้อยละ 86.3 ในปี 2562 ในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น มีสัดส่วนผู้สำเร็จการศึกษาเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 91.8 และร้อยละ 90.1 ในปี 2559 เป็นร้อยละ 98.2 และร้อยละ 96.9 ในปี 2562 ตามลำดับ นอกจากนี้ ความเท่าเทียมทางเพศในการเข้าถึงศึกษา ของไทยปรับตัวดีขึ้น สะท้อนได้จากดัชนีความเสมอภาคระหว่างเพศ (Gender Parity Index: GPI) ที่มีแนวโน้มดีขึ้นในทุกระดับการศึกษาตั้งแต่ปี 2559 อย่างไรก็ดี ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของเด็กไทยมีแนวโน้มลดลง เมื่อพิจารณาจากผลคะแนนการทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) โดยในปี 2562 คะแนนเฉลี่ยของระดับประถมศึกษาปีที่ 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในระดับที่ต่ำกว่า […]

Thailand’s SDG Review: The Series EP.5

การมีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่แข็งแรงและสมบูรณ์เป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาประเทศเนื่องจากจะทำให้ประชาชนสามารถใช้ศักยภาพที่มีอยู่ได้อย่างเต็มที่ ดังนั้น ทั่วโลกจึงเห็นพ้องร่วมกันที่จะทำให้ประเด็นการส่งเสริมสุขภาวะที่ดีสำหรับคนทุกช่วงวัยเป็นหนึ่งในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ที่จะต้องบรรลุผลให้ได้ภายในปี พ.ศ. 2573 โดยกำหนดเป้าหมายที่ 3 สร้างหลักประกันการมีสุขภาวะที่ดีและส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคนในทุกช่วงวัย ซึ่งมุ่งเน้นการสร้างองค์ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพอย่างถูกต้อง การสร้างระบบบริการสาธารณสุขที่ทันสมัย มีคุณภาพและทั่วถึง ตลอดจนการเตรียมความพร้อมในการรับมือภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขจากโรคติดต่อและไม่ติดต่อ โรคอุบัติใหม่ อุบัติเหตุและสาธารณภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ          ระบบสาธารณสุขของไทยถือว่ามีความเข้มแข็งมาก โดยสะท้อนได้จากความก้าวหน้าของการดำเนินงานในหลายมิติ อาทิ อัตราการตายของมารดาต่อการเกิดมีชีพที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งข้อมูล ณ เดือนเมษายน 2563 อยู่ที่ 20.24 คน ต่อประชากรแสนคน ลดจาก 26.6 คน ต่อประชากรแสนคนในปี 2559 เช่นเดียวกับอัตราการตายของทารกแรกเกิดที่มีแนวโน้มลดลง โดยปี 2562 อยู่ที่ 3.1 คนต่อการเกิดมีชีพ 1,000 คน ลดลงจาก 3.5 คนต่อการเกิดมีชีพ 1,000 คน ในปี 2559 และจำนวนผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ต่อประชากรที่ไม่มีการติดเชื้อ 1,000 คนลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยปี 2561 อยู่ที่ 0.10 […]

Thailand’s SDG Review: The Series EP.4

สำรวจสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการของไทย           อาหารเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ แต่ในปัจจุบันยังคงมีคนจำนวนไม่น้อยที่ยังประสบกับภาวะทุพโภชนาการ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ยากไร้และกลุ่มเปราะบาง อาทิ ผู้พิการ ผู้สูงอายุ ทารก รวมไปถึงกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่ต้องได้รับความสนใจเป็นพิเศษ เนื่องจากภาวะทุพโภชนาการจะส่งผลต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์ การยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหาร และยกระดับโภชนาการ จึงเป็นประเด็นที่ทั่วโลกให้ความสำคัญและได้รับการกำหนดเป็นเป้าหมายที่ 2 ของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ซึ่งรวมถึงการมีระบบเกษตรที่ยั่งยืนเพื่อทำให้ระบบการผลิตอาหารของมนุษย์ไม่ทำลายสมดุลของระบบนิเวศและทรัพยากรธรรมชาติ และคงไว้ซึ่งความหลากหลายทางพันธุกรรมของพืชและสัตว์ เพื่อจะได้ส่งต่อความอุดมสมบูรณ์ให้กับคนรุ่นต่อไป           สถานการณ์ความหิวโหยของไทยในภาพรวมมีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยสัดส่วนประชากรที่มีรายจ่ายเพื่อการบริโภคเฉลี่ยต่อคนต่อเดือนที่ต่ำกว่าเส้นความยากจนด้านอาหาร (Food Poverty Line) ในปี 2562 ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 0.37 จากเดิมร้อยละ 0.54 ในปี 2559 อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาสถานการณ์ด้านการเข้าถึงอาหารที่มีโภชนาการครบถ้วนกลับเป็นไปในทิศทางที่ตรงกันข้าม เนื่องจากสัดส่วนความชุกของภาวะขาดสารอาหาร (Prevalence of undernourishment) ในปี 2562 อยู่ที่ร้อยละ 8.2 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 7.5 ในปี 2559 […]

Thailand’s SDG Review: The Series EP.3

สถานการณ์ความยากจนของไทยใกล้บรรลุเป้าหมาย SDGs มากหรือน้อยแค่ไหน ความยากจนเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาทุนมนุษย์และคุณภาพชีวิตของประชาชน ตลอดจนการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม การยุติความยากจนจึงเป็นวาระการพัฒนาหลักที่สหประชาชาติและประเทศไทยให้ความสำคัญและดำเนินการขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องเพื่อมุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตและความอยู่ดีมีสุขของประชาชนอย่างครอบคลุมในทุกมิติ โดยมุ่งเน้นการยุติความยากจนในประชาชนกลุ่มเปราะบางเพื่อให้สามารถเข้าถึงทรัพยากรและบริการขั้นพื้นฐาน มีความพร้อมในการรับมือกับภัยพิบัติและมีภูมิคุ้มกันในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมในบริบทโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ในช่วงปี 2559 – 2562 สถานการณ์ความยากจนความยากจนของประเทศไทยปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น โดยสัดส่วนคนจนลดลงจากร้อยละ 8.61 ในปี 2559 เป็นร้อยละ 6.24 ในปี 2562 ซึ่งเป็นผลจากการเติบโตทางเศรษฐกิจและการมาตรการของภาครัฐในการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง อย่างไรก็ตาม ในปี 2563 สัดส่วนคนจนที่พิจารณาจากเส้นความยากจนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 6.24 ในปี 2562 เป็นร้อยละ 6.84 ในปี 2563 อันเป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่กระทบต่อเศรษฐกิจและการจ้างงานอย่างรุนแรง และส่งผลกระทบต่อกลุ่มคนยากจนกลุ่มผู้มีรายได้น้อย และกลุ่มเปราะบางอย่างมีนัยสำคัญ ในด้านการเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐาน อาทิ ไฟฟ้าภายในบ้าน น้ำประปาภายในบ้าน โทรศัพท์เคลื่อนที่ ในปี 2563 ครัวเรือนยากจนร้อยละ 99.01 สามารถเข้าถึงไฟฟ้าภายในบ้าน เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 98.80 ในปี 2562 รวมทั้งการเข้าถึงน้ำประปาภายในบ้าน (ร้อยละ 89.20) […]

Thailand’s SDG Review: The Series EP.2

ความท้าทายและข้อเสนอแนะสู่การบรรลุ SDGs ของไทย        เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ทั้ง 17 เป้าหมายถือเป็นวาระสำคัญที่ประเทศไทยและทั่วโลกต่างเห็นพ้องร่วมกันที่จะทำให้เกิดขึ้นจริงภายใน ค.ศ.2030 (พ.ศ.2573) เนื่องจากเป็นสิ่งที่จะทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ดำเนินไปอย่างสมดุลและเป็นเครื่องรับประกันว่าจะสามารถส่งมอบอนาคตที่ดีมีคุณภาพให้แก่คนรุ่นถัดไปได้        ถึงแม้ข้อมูลจาก “รายงานความก้าวหน้าเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ. 2559 – 2563” จะบ่งชี้ว่าประเทศไทยมีความก้าวหน้าเรื่องการขับเคลื่อน SDGs โดยไม่มีเป้าหมาย (Goal) ใดที่ได้รับการประเมินให้มีระดับคะแนนที่ต่ำกว่าค่าเป้าหมายขั้นวิกฤตที่ร้อยละ 50 ซึ่งมีค่าสีแสดงสถานะเป็นสีแดงแต่เมื่อประเมินในระดับเป้าหมายย่อย (Target) แล้วกลับพบว่ายังคงมีอยู่ถึง 9 เป้าหมายย่อยที่มีระดับคะแนนต่ำกว่าค่าเป้าหมายขั้นวิกฤต หรือ สีแดง ซึ่งล้วนเป็นประเด็นที่ท้าทายสำหรับประเทศไทยอย่างมาก ผลการประเมินในระดับ 169 เป้าหมายย่อยของ SDGs ไทย ช่วงปี 2559 – 2563 โดยทั้ง 9 เป้าหมายย่อยดังกล่าวประกอบด้วย        เป้าหมายย่อยที่ 2.1 […]

Thailand’s SDG Review: The Series EP.1

สำรวจความก้าวหน้า SDGs ของไทยในช่วง 5 ปีแรก ประเทศไทยได้เข้าร่วมกับประเทศสมาชิกสหประชาชาติ (UN) ให้การรับรองวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนค.ศ. 2030 (2030 Agenda for Sustainable Development) ที่กำหนดให้มีเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) จำนวน 17 เป้าหมาย เพื่อเป็นกรอบการพัฒนาร่วมกันของโลกที่จะบรรลุการพัฒนาทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังภายในปี 2573 ในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยสามัญ ครั้งที่ 70 เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2558 ที่ผ่านมาประเทศไทยให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนเรื่อง SDGs มาโดยตลอด ดังสะท้อนได้จากผลการประเมินในช่วง 5 ปีแรกใน “รายงานความก้าวหน้าเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ. 2559 – 2563” ซึ่งระบุว่าไทยมีระดับการพัฒนาที่ก้าวหน้าไปอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมี 10 เป้าหมายจากทั้งหมด 17 เป้าหมายที่ได้รับการประเมินว่ามีคะแนนการบรรลุเป้าหมายที่สัดส่วนมากถึงร้อยละ 75 – 99 ของค่าเป้าหมายที่ทาง UN […]

1 2