หน้าแรก

มุ่งสู่เป้าหมาย
เพื่อเปลี่ยน… โลกของเรา

SDGs Dashboard

แพลตฟอร์มฐานข้อมูลกลาง SDGs ของประเทศไทย ที่ดำเนินตามระเบียบวิธีของสหประชาชาติ (UN Metadata) หรือระเบียบวิธีที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศ ซึ่งเป็นช่องทางที่แสดงผลการขับเคลื่อน SDGs ที่เป็นปัจจุบัน

ข่าวสารล่าสุด

post on

การประชุมคณะกรรมการอำนวยการสามฝ่าย (Tripartite Steering Committee Meeting) เพื่อขับเคลื่อนความร่วมมือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนระหว่างไทยและสหประชาชาติประจำประเทศไทย

เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2568 นายวันฉัตร สุวรรณกิตติ รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นประธานร่วมกับ นางสาวพินทุ์สุดา ชัยนาม อธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ และนางสาวมิเกลล่า ฟิลแบรย์-สตอเร่ (Ms. Michaela Friberg-Storey) ผู้ประสานงานสหประชาชาติประจำประเทศไทย (United Nations Resident Coordinator: UNRC) ในการประชุมคณะกรรมการอำนวยการสามฝ่าย (Tripartite Steering Committee Meeting) เพื่อติดตามความก้าวหน้าการดำเนินการตามกรอบความร่วมมือว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (United Nations Cooperation Framework: UNSDCF) วาระปี 2565 – 2569 และเตรียมการสำหรับการจัดทำกรอบความร่วมมือ UNSDCF ฉบับใหม่วาระปี 2570 – 2574 ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพมหานคร            ผู้แทนหน่วยงานสหประชาชาติประจำประเทศไทยได้รายงานผลการดำเนินงานภายใต้กรอบความร่วมมือ UNSDCF วาระปี 2565 – 2569 ใน 3 […]

บทความน่าสนใจ

Goal 3Goal 6Goal 8
+5
post on

เด็กและสตรีมีครรภ์ในวงจรขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-waste)

“จากโทรทัศน์เก่าที่ถูกทิ้งไปจนถึงโทรศัพท์ที่หมดอายุการใช้งาน ปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกกำลังเพิ่มขึ้นในระดับที่น่าวิตก ผลการศึกษาวิจัยล่าสุดชี้ให้เห็นว่าความท้าทายจากขยะอิเล็กทรอนิกส์กำลังทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น โดยที่ปัจจุบันมีเพียงไม่ถึงครึ่งหนึ่งของประเทศทั่วโลกที่มีการนำนโยบายจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์มาบังคับใช้อย่างเป็นรูปธรรม สถานการณ์นี้เป็นสัญญาณเตือนถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการพัฒนากฎระเบียบที่มีประสิทธิภาพเพื่อส่งเสริมกระบวนการจัดเก็บและรีไซเคิล รายงาน Global E-waste Monitor ช่วยให้เราสามารถติดตามพัฒนาการอย่างต่อเนื่องและกำหนดทิศทางการตัดสินใจสำคัญในการขับเคลื่อนสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์” – Cosmas Luckyson Zavazava ในยุคที่เทคโนโลยีดิจิทัลก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ขยะอิเล็กทรอนิกส์หรือ E-waste ได้กลายเป็นหนึ่งในปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ท้าทายที่สุดของศตวรรษที่ 21 แต่มีขยะอิเล็กทรอนิกส์เพียง 22.3% เท่านั้นที่ได้รับการจัดการอย่างถูกต้องผ่านกระบวนการรีไซเคิล สะท้อนให้เห็นถึงช่องว่างและความท้าทายในการจัดการขยะประเภทนี้อย่างมีประสิทธิภาพ ขยะอิเล็กทรอนิกส์ไม่เพียงแต่เป็นภัยคุกคามต่อสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังเป็นแหล่งทรัพยากรที่มีค่าซึ่งสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ หากมีการจัดการอย่างเหมาะสม จึงเป็นโอกาสสำคัญสำหรับชุมชนและผู้ประกอบการในการสร้างรายได้จากการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะในประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง ที่ขาดการบังคับใช้กฎหมายที่เหมาะสม ขาดโครงสร้างพื้นฐานและความรู้ด้านการรีไซเคิลที่ปลอดภัย ท่ามกลางสถานการณ์ดังกล่าว การสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับผลกระทบของการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่เหมาะสม และการส่งเสริมแนวปฏิบัติที่ยั่งยืนในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ จึงเป็นกุญแจสำคัญในการบรรเทาผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม บทความนี้จะสำรวจสถานการณ์ปัจจุบันของขยะอิเล็กทรอนิกส์ ผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนเสนอแนวทางจัดการอย่างยั่งยืนที่สามารถสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจและการปกป้องสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน ขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-waste) กำลังเพิ่มขึ้นในอัตราที่เร็วกว่าการรีไซเคิลถึง 5 เท่า ตามข้อมูลจากรายงาน Global E-waste Monitor (GEM) ฉบับที่ 4 ซึ่งจัดทำโดยสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) และสถาบันเพื่อการฝึกอบรมและวิจัยแห่งสหประชาชาติ (UNITAR) ระบุว่า ในปี 2022 ทั่วโลกมีขยะอิเล็กทรอนิกส์มากถึง 62 […]

สื่อมัลติมีเดีย

อินโฟกราฟิก

ศูนย์รวมเอกสาร

Lorem ipsum dolor sit amet consectetur. Quisque amet velit elementum tristique aenean ante tortor at. Ultrices molestie sollicitudin aliquet pellentesque etiam interdum sagittis suscipit ut. Dictum feugiat arcu aliquam et pellentesque massa. Praesent faucibus tempor metus bibendum ac nullam amet.

ดาวน์โหลดเอกสารการประชุม