การประชุมคณะกรรมการอำนวยการสามฝ่าย (Tripartite Steering Committee Meeting) เพื่อขับเคลื่อนความร่วมมือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนระหว่างไทยและสหประชาชาติประจำประเทศไทย

เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2568 นายวันฉัตร สุวรรณกิตติ รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นประธานร่วมกับ นางสาวพินทุ์สุดา ชัยนาม อธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ และนางสาวมิเกลล่า ฟิลแบรย์-สตอเร่ (Ms. Michaela Friberg-Storey) ผู้ประสานงานสหประชาชาติประจำประเทศไทย (United Nations Resident Coordinator: UNRC) ในการประชุมคณะกรรมการอำนวยการสามฝ่าย (Tripartite Steering Committee Meeting) เพื่อติดตามความก้าวหน้าการดำเนินการตามกรอบความร่วมมือว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (United Nations Cooperation Framework: UNSDCF) วาระปี 2565 – 2569 และเตรียมการสำหรับการจัดทำกรอบความร่วมมือ UNSDCF ฉบับใหม่วาระปี 2570 – 2574 ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพมหานคร            ผู้แทนหน่วยงานสหประชาชาติประจำประเทศไทยได้รายงานผลการดำเนินงานภายใต้กรอบความร่วมมือ UNSDCF วาระปี 2565 – 2569 ใน 3 […]

เด็กและสตรีมีครรภ์ในวงจรขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-waste)

“จากโทรทัศน์เก่าที่ถูกทิ้งไปจนถึงโทรศัพท์ที่หมดอายุการใช้งาน ปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกกำลังเพิ่มขึ้นในระดับที่น่าวิตก ผลการศึกษาวิจัยล่าสุดชี้ให้เห็นว่าความท้าทายจากขยะอิเล็กทรอนิกส์กำลังทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น โดยที่ปัจจุบันมีเพียงไม่ถึงครึ่งหนึ่งของประเทศทั่วโลกที่มีการนำนโยบายจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์มาบังคับใช้อย่างเป็นรูปธรรม สถานการณ์นี้เป็นสัญญาณเตือนถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการพัฒนากฎระเบียบที่มีประสิทธิภาพเพื่อส่งเสริมกระบวนการจัดเก็บและรีไซเคิล รายงาน Global E-waste Monitor ช่วยให้เราสามารถติดตามพัฒนาการอย่างต่อเนื่องและกำหนดทิศทางการตัดสินใจสำคัญในการขับเคลื่อนสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์” – Cosmas Luckyson Zavazava ในยุคที่เทคโนโลยีดิจิทัลก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ขยะอิเล็กทรอนิกส์หรือ E-waste ได้กลายเป็นหนึ่งในปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ท้าทายที่สุดของศตวรรษที่ 21 แต่มีขยะอิเล็กทรอนิกส์เพียง 22.3% เท่านั้นที่ได้รับการจัดการอย่างถูกต้องผ่านกระบวนการรีไซเคิล สะท้อนให้เห็นถึงช่องว่างและความท้าทายในการจัดการขยะประเภทนี้อย่างมีประสิทธิภาพ ขยะอิเล็กทรอนิกส์ไม่เพียงแต่เป็นภัยคุกคามต่อสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังเป็นแหล่งทรัพยากรที่มีค่าซึ่งสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ หากมีการจัดการอย่างเหมาะสม จึงเป็นโอกาสสำคัญสำหรับชุมชนและผู้ประกอบการในการสร้างรายได้จากการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะในประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง ที่ขาดการบังคับใช้กฎหมายที่เหมาะสม ขาดโครงสร้างพื้นฐานและความรู้ด้านการรีไซเคิลที่ปลอดภัย ท่ามกลางสถานการณ์ดังกล่าว การสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับผลกระทบของการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่เหมาะสม และการส่งเสริมแนวปฏิบัติที่ยั่งยืนในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ จึงเป็นกุญแจสำคัญในการบรรเทาผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม บทความนี้จะสำรวจสถานการณ์ปัจจุบันของขยะอิเล็กทรอนิกส์ ผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนเสนอแนวทางจัดการอย่างยั่งยืนที่สามารถสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจและการปกป้องสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน ขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-waste) กำลังเพิ่มขึ้นในอัตราที่เร็วกว่าการรีไซเคิลถึง 5 เท่า ตามข้อมูลจากรายงาน Global E-waste Monitor (GEM) ฉบับที่ 4 ซึ่งจัดทำโดยสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) และสถาบันเพื่อการฝึกอบรมและวิจัยแห่งสหประชาชาติ (UNITAR) ระบุว่า ในปี 2022 ทั่วโลกมีขยะอิเล็กทรอนิกส์มากถึง 62 […]

ปลดล็อกศักยภาพชายแดนไทย จากความท้าทายสู่การเติบโตที่ยั่งยืน

ในยุคที่การเชื่อมโยงระหว่างประเทศมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ประเทศไทยอยู่ในจุดเปลี่ยนสำคัญของการพัฒนาพื้นที่ชายแดน โดย 31 จังหวัดที่มีพรมแดนติดกับประเทศเมียนมา สปป. ลาว กัมพูชาและมาเลเซีย โดยรายงาน “Unlocking Thailand’s Border Potential” ฉบับล่าสุดจากธนาคารโลก (World Bank) ชี้ให้เห็นถึงความท้าทายและโอกาสในการพัฒนาจังหวัดชายแดนของไทย โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ของพื้นที่นี้ในฐานะประตูสู่การค้า การลงทุน และการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมกับประเทศเพื่อนบ้าน ตลอดจนแนวทางการสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนควบคู่ไปกับการแก้ไขปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐาน บริการทางสังคม และการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคชายแดน การพัฒนาภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 จะเป็นกลไกสำคัญที่ทำให้พื้นที่ชายแดนเหล่านี้เต็มไปด้วยศักยภาพในการพัฒนาที่ยั่งยืนและเข้มแข็ง ปัจจุบันจังหวัดชายแดนของไทยยังคงเผชิญกับความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ โดยมี GDP ต่อหัวต่ำกว่าพื้นที่ภายในประเทศถึงร้อยละ 34 และมีความหนาแน่นของประชากรเพียงครึ่งหนึ่ง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาความยากจน ข้อจำกัดด้านโครงสร้างพื้นฐาน การเข้าสู่สังคมวัย และการย้ายถิ่นของเยาวชนสู่เมืองใหญ่ อย่างไรก็ตาม ด้วยตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ที่เป็นประตูการค้าชายแดน ช่วยเปิดโอกาสในการเข้าถึงแรงงานและวัตถุดิบราคาประหยัดจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะจังหวัดชายแดนที่เอื้อต่อการค้าในประเทศกลุ่มภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง หากได้รับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างเหมาะสมจะช่วยเสริมสร้างการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจของไทยกับตลาดสำคัญในภูมิภาค นอกจากนี้ พื้นที่ชายแดนยังมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม แม้จะยังต้องเผชิญกับความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมและความมั่นคง การลงทุนในพื้นที่นี้จึงมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ เสถียรภาพทางสังคม และความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม รายงาน “Unlocking Thailand’s Border Potential” […]

รายงาน ESCAP ประจำปี 2568 ประเมินเอเชีย-แปซิฟิกอาจไม่บรรลุ SDGs ทันตามเวลาเผชิญปัญหาการขาดแคลนข้อมูลและสิ่งแวดล้อม

รายงานความก้าวหน้าเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ประจำปี 2568 : การมีส่วนร่วมของชุมชนในการลดช่องว่างด้านข้อมูลหลักฐาน (Asia-Pacific SDG Progress Report 2025: engaging communities to close the evidence gap) โดยคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (United Nations Economic and Social Commission for Asia and the Pacific: UNESCAP) ซึ่งเผยแพร่อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2025 นำเสนอข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับผลการดำเนินงานและความท้าทายเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก บทความฉบับนี้สรุปข้อค้นพบที่สำคัญจากรายงาน “Asia-Pacific SDG Progress Report 2025: engaging communities to close the evidence gap” เพื่อให้ผู้อ่านทุกคนได้อัพเดตข้อมูลล่าสุดของความก้าวหน้า SDGs ในภูมิภาคของเรา I. ภาพรวมความก้าวหน้าของ SDGs ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก Figure […]

ก้าวสำคัญของสังคมไทยสู่ความเสมอภาค รื้อระบบสองเพศในกฎหมาย “สมรสเท่าเทียม” เพื่อสร้างสังคมใหม่ที่โอบรับทุกความหลากหลาย

ผ่านพ้นการต่อสู้และการเคลื่อนไหวเรียกร้องกันมาอย่างเนิ่นนาน ในที่สุด วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2568 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 24) พ.ศ. 2567 หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “กฎหมายสมรสเท่าเทียม” มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ ทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในภูมิภาคอาเซียนและเป็นประเทศที่ 3 ในทวีปเอเชียที่มีกฎหมายรองรับการสมรสของกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+) นับเป็นก้าวสำคัญที่แสดงถึงความเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนในมิติหนึ่งของสังคมไทยมุ่งสู่การเป็นสังคมที่เคารพสิทธิและความเท่าเทียมอย่างแท้จริง มีความตระหนักรู้ในความหลากหลายและการยอมรับความรักในทุกรูปแบบ การบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้มอบสิทธิให้กับบุคคลที่มีอัตลักษณ์ทางเพศทุกเพศสามารถจดทะเบียนสมรสได้อย่างเท่าเทียมภายใต้กฎหมาย โดยปรับถ้อยคำและนิยามในเอกสารทางกฎหมายให้มีความเป็นกลางทางเพศมากขึ้น เช่น การเปลี่ยนคำว่า “สามี-ภรรยา” เป็น “คู่สมรส” หรือการปรับจาก“ชาย-หญิง” เป็น “บุคคล” เพื่อไม่จำกัดเพศและอัตลักษณ์ของทุกคนที่ต้องการจดทะเบียนสมรส                    คำว่า “แต่งงาน” หรือ “สมรส” ไม่ใช่แค่การแสดงออกทางความรักเพียงอย่างเดียวสำหรับหลายๆ คู่ แต่คำนี้เป็นเสมือนการสร้างรากฐานที่มั่นคงระหว่างคน 2 คน ซึ่งกฎหมายสมรสเท่าเทียมได้มอบสิทธิที่หลากหลายให้กับคู่สมรสคู่ เช่น การตัดสินใจร่วมกันในเรื่องทรัพย์สิน การดูแลบุตร และสิทธิในการรับมรดกในฐานะทายาทตามกฎหมาย สิทธิในการจัดการชีวิตของอีกฝ่ายในยามเจ็บป่วยและฉุกเฉิน เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เคยเป็นข้อจำกัดที่คนในกลุ่ม LGBTQIA+ ต้องเผชิญมาเป็นเวลานาน                    จึงอยากขอเชิญชวนทุกคนมาร่วมสำรวจสิทธิและความคุ้มครองที่พึงจะได้รับจากกฎหมายสมรสเท่าเทียม (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมล่าสุด) […]

ทำไมความรุนแรงต่อสตรียังคงเกิดขึ้นแม้ในยุคที่สังคมพูดถึงความเท่าเทียม : Chapter 3

ความรุนแรงต่อสตรีไม่ใช่เพียงเหตุการณ์เฉพาะบุคคล แต่คือวิกฤตที่สะท้อนความเหลื่อมล้ำทางเพศอันฝังรากลึกในสังคม ทุกวันนี้ ผู้หญิงกว่า 1 ใน 3 ทั่วโลกยังต้องเผชิญความรุนแรงในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งตลอดชีวิต สถานการณ์นี้ไม่เพียงทำลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ แต่ยังกัดกร่อนรากฐานการพัฒนาที่ยั่งยืนของทุกประเทศ การแก้ไขปัญหาจึงต้องเคลื่อนไหวเป็นระบบ ตั้งแต่การปฏิรูปนโยบาย การปรับเปลี่ยนค่านิยมทางสังคม ไปจนถึงการเสริมสร้างอำนาจให้ผู้หญิงลุกขึ้นยืนได้ด้วยตนเอง บทความนี้จะนำเสนอแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อสตรีที่ครอบคลุมทั้ง 3 มิติหลัก ได้แก่ การยกระดับมาตรการทางกฎหมาย การสร้างความตระหนักผ่านการศึกษาและสื่อสารสมัยใหม่ และการเสริมพลังศักยภาพสตรี พร้อมเจาะลึกกรอบงาน RESPECT Framework 7 กลยุทธ์ ที่ช่วยลดความรุนแรงในสังคมได้อย่างเป็นรูปธรรม ด้วยการผสมผสานระหว่างการป้องกันเชิงรุก การสนับสนุนผู้ประสบภัย และการปรับโครงสร้างทางสังคมไปสู่ความเท่าเทียม ความรุนแรงต่อสตรีเป็นปัญหาที่ฝังรากลึกในสังคม การแก้ไขจึงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนและดำเนินการอย่างเป็นระบบ การกำหนดแนวทางแก้ไขและป้องกันที่ มีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญควรครอบคลุม ทั้งในระดับนโยบาย การสร้างความตระหนักในสังคม ตลอดจนการเสริมพลังศักยภาพให้แก่สตรีเพื่อให้การแก้ไขปัญหาเป็นไปอย่างยั่งยืนและครอบคลุมในทุกมิติ ท่ามกลางสถานการณ์ความรุนแรงต่อผู้หญิงที่ยังคงน่ากังวล องค์การอนามัยโลก (WHO) และ UN Women ได้เสนอกรอบงาน RESPECT ซึ่งประกอบด้วย 7 กลยุทธ์หลัก เพื่อป้องกันและลดความรุนแรงทางเพศและความรุนแรงจากคู่ครอง กลยุทธ์แรก มุ่งเน้นการเสริมสร้างทักษะความสัมพันธ์ (Relationship skills strengthening)ผ่านการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารและแก้ไขความขัดแย้งระหว่างคู่สมรส โดยส่งเสริมให้เกิดความสัมพันธ์บนพื้นฐานของความเท่าเทียมและความยินยอมร่วมกัน […]

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจโลกและแนวโน้มปี 2025

รายงาน “World Economic Situation and Prospects 2025” ของสหประชาชาติ เป็นรายงานสถานการณ์เศรษฐกิจโลกและแนวโน้มประจำปี 2025 ได้นำเสนอมุมมองด้านแนวโน้มเศรษฐกิจระดับโลกและระดับภูมิภาคสำหรับปีที่จะถึงนี้ รวมถึงเน้นย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมือระดับโลกและนโยบายที่รอบคอบเพื่อกระตุ้นการเติบโตและวางแนวทางที่มั่นคงและเป็นธรรม ซึ่งจะสามารถเร่งความก้าวหน้าสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในปีนี้บทสำคัญต่างๆ ในรายงานได้เจาะลึกเรื่องแร่ธาตุที่สำคัญสำหรับการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานซึ่งจะสามารถเพิ่มการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ ในขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสให้กับหลายประเทศกำลังพัฒนาในการสร้างงาน สร้างรายได้สาธารณะ ลดความยากจนและความไม่เท่าเทียมกัน โดยรายงานฉบับนี้ประเมินว่าการเติบโตของเศรษฐกิจโลกจะอยู่ที่ 2.8 % ในปี 2025 และ 2.9 % ในปี 2026 แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อที่ลดลงทำให้สภาพตลาดแรงงานดีขึ้นและเกิดการผ่อนคลายทางการเงิน แต่การเติบโตทั่วโลกคาดว่าจะยังคงอยู่ในภาวะซบเซาและต่ำกว่าก่อนเกิดโรคระบาด เศรษฐกิจโลกยังคงเผชิญกับความไม่แน่นอนอย่างมีนัยสำคัญ อาทิ เช่น ความตึงเครียดทางการค้า ภาระหนี้ที่สูง และความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ทำให้มุมมองเศรษฐกิจมีความไม่แน่นอน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความก้าวหน้าของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) โดยเฉพาะสำหรับประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศที่ยังคงประสบปัญหาจากผลกระทบสะสมของวิกฤตที่เกิดขึ้นติดต่อกัน อ่านเอกสารฉบับเต็มภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

รายงานความก้าวหน้าเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ประจำปี 2568: การมีส่วนร่วมของชุมชนในการลดช่องว่างด้านข้อมูลหลักฐาน

รายงาน Asia and the Pacific SDG Progress Report 2025 จัดทำโดยคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (UNESCAP) นำเสนอข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความก้าวหน้าและอุปสรรคในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก โดยเน้นย้ำถึงความสำเร็จและความท้าทายที่ภูมิภาคกำลังเผชิญอยู่ แม้ว่าเอเชียและแปซิฟิกจะมีความก้าวหน้าอย่างโดดเด่นในด้านอุตสาหกรรม นวัตกรรม และโครงสร้างพื้นฐาน (SDG 9) และสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (SDG 3) แต่ความก้าวหน้าไปสู่การบรรลุเป้าหมายอื่น ๆ กลับเป็นไปอย่างล่าช้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการบริโภคและการผลิตที่มีความรับผิดชอบ (SDG 12) การศึกษาที่มีคุณภาพ (SDG 4) และงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ (SDG 8) นอกจากนี้ ความก้าวหน้าในการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ (SDG 13) ยังถดถอยลงอย่างน่าเป็นห่วง อันเนื่องมาจากความเปราะบางต่อภัยพิบัติของภูมิภาคนี้และปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง รายงานยังชี้ให้เห็นถึงช่องว่างของข้อมูลซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานและติดตามความก้าวหน้าของ SDGs โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผลกระทบในกลุ่มชุมชนชายขอบ อย่างไรก็ตาม รายงานฉบับนี้ยังได้นำเสนอตัวอย่างของความร่วมมือในระดับชุมชนที่เป็นนวัตกรรมเพื่อการแก้ปัญหา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของของท้องถิ่นในการมีส่วนร่วมเพื่อการลดช่องว่างของข้อมูลหลักฐาน และทำให้มั่นใจได้ว่าการพัฒนาเพื่อบรรลุเป้าหมาย SDGs นั้นครอบคลุมและไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังได้จริง อ่านเอกสารฉบับเต็มภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

ทำไมความรุนแรงต่อสตรียังคงเกิดขึ้นแม้ในยุคที่สังคมพูดถึงความเท่าเทียม : Chapter 2

ในยุคที่สังคมทั่วโลกต่างพูดถึงความเท่าเทียมทางเพศและสิทธิสตรี ความรุนแรงต่อผู้หญิงยังคงเป็นปัญหาที่ฝังรากลึกและท้าทายการแก้ไขอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีความพยายามในการส่งเสริมความเสมอภาคและสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับสิทธิสตรี แต่สถิติและเหตุการณ์ความรุนแรงต่อผู้หญิงยังคงปรากฏให้เห็นในทุกมุมโลก ทำไมความรุนแรงต่อสตรียังคงเกิดขึ้นแม้ในยุคที่เราพูดถึงความเท่าเทียม คำถามนี้ไม่เพียงสะท้อนถึงความซับซ้อนของปัญหา แต่ยังชี้ให้เห็นถึงปัจจัยทางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และกฎหมายที่ยังคงเป็นอุปสรรคต่อการสร้างสังคมที่ปลอดภัยและเท่าเทียมสำหรับทุกคน บทความนี้จะพาไปสำรวจรากเหง้าของความรุนแรงต่อสตรี ผลกระทบที่เกิดขึ้น และแนวทางในการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน ความรุนแรงต่อสตรีเป็นปัญหาที่ฝังรากลึกในสังคมมาอย่างยาวนาน การทำความเข้าใจถึงสาเหตุและปัจจัยที่เป็นรากเหง้าของปัญหานี้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน การแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อสตรีไม่ใช่เรื่องง่าย จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งการปรับเปลี่ยนค่านิยมทางสังคม การเสริมสร้างศักยภาพทางเศรษฐกิจ การปรับปรุงกฎหมาย และการสร้างความตระหนักรู้ในสังคม เพื่อนำไปสู่การสร้างสังคมที่ปลอดภัยและเท่าเทียมสำหรับทุกคน ความรุนแรงต่อสตรีส่งผลกระทบในวงกว้างและมีความซับซ้อน ไม่เพียงส่งผลต่อผู้ถูกกระทำโดยตรง แต่ยังส่งผลกระทบต่อครอบครัว ชุมชน และสังคมโดยรวม การทำความเข้าใจถึงผลกระทบในมิติต่าง ๆ ทั้งผลกระทบทางร่างกาย จิตใจ สังคมและเศรษฐกิจ รวมถึงผลกระทบระยะยาวที่มีต่อสังคมโดยรวม จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการตระหนักถึงความรุนแรงของปัญหาและความจำเป็นในการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ความรุนแรงต่อสตรีไม่ใช่เพียงปัญหาส่วนตัวของผู้ถูกกระทำ แต่เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสังคมโดยรวม การแก้ไขปัญหานี้ไม่สามารถทำได้โดยบุคคลหรือองค์กรใดองค์กรหนึ่งเท่านั้น แต่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งการปรับเปลี่ยนค่านิยมทางสังคม การเสริมสร้างศักยภาพทางเศรษฐกิจ การปรับปรุงกฎหมาย และการสร้างความตระหนักรู้ในวงกว้าง เพื่อยุติวงจรความรุนแรงและสร้างสังคมที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน การแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อสตรีจึงเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าสำหรับสังคม ไม่เพียงแต่จะช่วยลดความทุกข์ทรมานของผู้ถูกกระทำ แต่ยังส่งผลดีต่อการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจในระยะยาว ทุกการกระทำเล็ก ๆ ที่เราทำวันนี้ อาจเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในอนาคต เพื่อสร้างโลกที่ทุกคนสามารถใช้ชีวิตได้อย่างเท่าเทียมและปลอดภัย  ใน Chapter 3 จะพาทุกคนสำรวจแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อสตรี […]

ทำไมความรุนแรงต่อสตรียังคงเกิดขึ้นแม้ในยุคที่สังคมพูดถึงความเท่าเทียม : Chapter 1

ท่ามกลางกระแสการเรียกร้องความเท่าเทียมทางเพศที่เติบโตขึ้นทั่วโลก และความพยายามผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงผ่านกฎหมายและนโยบายต่าง ๆ เรายังคงเห็นข่าวความรุนแรงต่อสตรีอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นการทำร้ายร่างกาย การคุกคามทางเพศ การทำร้ายทางจิตใจ หรือการเลือกปฏิบัติในรูปแบบต่าง ๆ เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นทั้งในพื้นที่สาธารณะ ที่ทำงาน และแม้กระทั่งในครอบครัว ความขัดแย้งระหว่างการรณรงค์เพื่อความเท่าเทียมกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น สะท้อนให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงทางสังคมนั้นไม่สามารถเกิดขึ้นได้เพียงแค่การประกาศนโยบายหรือออกกฎหมายเท่านั้น การขจัดความรุนแรงต่อสตรีให้หมดสิ้นไปจำเป็นต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงในระดับรากฐาน ทั้งด้านความคิด ความเชื่อ และพฤติกรรมของคนในสังคม บทความนี้จะสำรวจต้นตอของความรุนแรงต่อสตรีในมิติต่าง ๆ พร้อมชี้ให้เห็นว่าการยุติปัญหานี้ไม่ใช่แค่ “หน้าที่ของผู้หญิง” แต่คือความท้าทายของทุกคนในสังคมที่จะร่วมกันทลายวงจรความรุนแรงสร้างสังคมที่ปลอดภัยและเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของทุกคนอย่างแท้จริง แม้โลกจะก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ด้วยความพยายามผลักดันความเท่าเทียมทางเพศ แต่ผู้หญิง 1 ใน 3 ทั่วโลกยังคงต้องเผชิญกับความรุนแรงทางร่างกายหรือทางเพศ ซึ่งตัวเลขนี้ไม่เพียงสะท้อนความล้มเหลวในการปกป้องสิทธิสตรี แต่ยังชี้ให้เห็นถึงวิกฤตที่ซับซ้อนและหยั่งรากลึกในโครงสร้างทางวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการเมือง เมื่อตัวเลขที่สะท้อนความจริงอันน่าตกใจ ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยว่าผู้หญิงและเด็กหญิงประมาณ 800 คน เสียชีวิตทุกวัน จากภาวะแทรกซ้อนที่ป้องกันได้ระหว่างตั้งครรภ์และคลอดบุตร ขณะที่ 38% ของการฆาตกรรมผู้หญิงทั่วโลกเกิดจากมือคู่ครอง ตัวเลขเหล่านี้ไม่ใช่แค่สถิติแต่เป็นชีวิตจริงของผู้หญิงที่ต้องเผชิญความรุนแรงในทุกมิติของชีวิต COVID-19 ตัวเร่งวิกฤตความรุนแรง การระบาดของโควิด-19 ได้เผยให้เห็นความเปราะบางของระบบคุ้มครองสตรี มาตรการล็อกดาวน์ที่มุ่งปกป้องประชาชนจากโรคระบาด กลับกลายเป็นดาบสองคมที่บีบให้ผู้หญิงต้องติดอยู่ในสถานการณ์อันตราย ต้องอยู่บ้านกับผู้กระทำความรุนแรง หลายประเทศรายงานว่าจำนวนผู้หญิงที่ขอความช่วยเหลือจากศูนย์คุ้มครองเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว ความไม่เท่าเทียมในโครงสร้างอำนาจ ในพื้นที่การเมืองซึ่งควรเป็นแบบอย่างของความเท่าเทียม ผู้หญิงมีสัดส่วนเพียง 26% ของสมาชิกรัฐสภาทั่วโลก […]

1 2 20