รายงานการพัฒนาอุตสาหกรรม ปี 2024: เปลี่ยนความท้าทายให้เป็นแนวทางแก้ไขที่ยั่งยืน ยุคใหม่ของนโยบายอุตสาหกรรม

รายงานการพัฒนาอุตสาหกรรม ปี 2024 เรื่อง “เปลี่ยนความท้าทายให้เป็นแนวทางแก้ไขที่ยั่งยืน: ยุคใหม่ของนโยบายอุตสาหกรรม” เป็นแนวทางสำคัญสำหรับประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศพัฒนาน้อยที่สุด (LDCs) โดยเรียกร้องให้มีการริเริ่มนโยบายที่กล้าหาญและสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) รายงานฉบับนี้นำเสนอแนวทางปฏิบัติที่มุ่งเน้นการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล การสร้างงาน และการลดคาร์บอนในภาคอุตสาหกรรม เพื่อชี้นำภูมิภาคเหล่านี้ไปสู่การเติบโตทางอุตสาหกรรมที่ยั่งยืนและทั่วถึง อ่านเอกสารฉบับเต็มได้ ที่นี่

ชวนอ่านงานวิจัย อดีต ปัจจุบันและอนาคตของการตลาดเพื่อความยั่งยืน : เส้นทางที่ผ่านมาและก้าวต่อไปในอนาคต

ชวนอ่านงานวิจัยที่น่าสนใจจาก White, Cakanlar, Sethi and Trudel (2025) ตีพิมพ์ใน Journal of Business Research ที่ศึกษาในหัวข้อ “อดีต ปัจจุบันและอนาคตของการตลาดเพื่อความยั่งยืน : เส้นทางที่ผ่านมาและก้าวต่อไปในอนาคต” (The past, present, and future of sustainability marketing: How did we get here and where might we go?) ท่ามกลางความกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับวิกฤตความยั่งยืนระดับโลก ส่งผลให้เกิดการถกเถียงอย่างจริงจังในทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแวดวงการตลาด ซึ่งมีอิทธิพลต่อปัญหาและทางออกของวิกฤตความยั่งยืน จากจุดเริ่มต้นที่มุ่งเน้นเพียงการอนุรักษ์ทรัพยากรและการตลาดสีเขียว การตลาดเพื่อความยั่งยืนได้พัฒนาและขยายขอบเขตครอบคลุมประเด็นที่หลากหลายมากขึ้น ทั้งในด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน การต่อต้านการบริโภคที่เกินความจำเป็น การจัดการปัญหาการปล่อยคาร์บอน ตลอดจนการคำนึงถึงมิติทางสังคมและจริยธรรม งานวิจัยชิ้นนี้ไม่เพียงแต่ทำแผนที่เส้นทางประวัติศาสตร์ของการตลาดเพื่อความยั่งยืนที่แสดงให้เห็นถึง “เส้นทางที่ผ่านมา” แต่ยังชี้ให้เห็นถึง “ก้าวต่อไป” ซึ่งเป็นทิศทางการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ซึ่งจะนำไปสู่การยกระดับแนวปฏิบัติทางการตลาดเพื่อความยั่งยืนในระยะยาว ที่มารูปภาพ : Kate Raworth […]

Case Study : GREEN (มิตร) ชั่น ภารกิจเพื่อความหลากหลายที่สมดุลและยั่งยืน BY Singha Estate

เมื่อความยั่งยืนไม่ใช่ทางเลือก แต่เป็นหัวใจของธุรกิจยุคใหม่ โลกธุรกิจในศตวรรษที่ 21ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง เมื่อการวัดความสำเร็จขององค์กรไม่ได้อยู่ที่ตัวเลขผลกำไรเพียงอย่างเดียวแต่ยังรวมถึงผลกระทบที่องค์กรมีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม บทความนี้จะพาสำรวจกรณีศึกษาของ บริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน) ที่สะท้อนการปรับตัวครั้งสำคัญ ผ่านแนวคิด GREEN Mission ที่บูรณาการการพัฒนาอย่างยั่งยืนเข้ากับกลยุทธ์ธุรกิจ บทเรียนจากองค์กรชั้นนำแห่งนี้แสดงให้เห็นว่า การสร้างสมดุลระหว่างผลตอบแทนทางธุรกิจ ความโปร่งใส และความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นไปได้อย่างไรในยุคที่ความยั่งยืนไม่ใช่ทางเลือก แต่เป็นหัวใจสำคัญสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว ก้าวสำคัญสู่ความยั่งยืนด้วยวิสัยทัศน์ระดับโลก การนำ SDGs มาเป็นเข็มทิศสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน Singha Estate ได้ก้าวขึ้นมาเป็นตัวอย่างที่น่าสนใจของการนำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)มาเป็นเข็มทิศในการดำเนินงาน กรณีศึกษานี้สะท้อนถึงการวางรากฐานที่แข็งแกร่งผ่านหลักการ 3 เสาหลัก ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญคือการนำหลักธรรมาภิบาลมาเป็นรากฐานสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กร พร้อมทั้งสร้างกลไกการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเป็นระบบ สะท้อนให้เห็นว่าความสำเร็จที่ยั่งยืนต้องเกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ธรรมาภิบาลนำทาง : ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสู่ความยั่งยืน Singha Estate ได้บูรณาการหลักธรรมาภิบาลเข้ากับทุกมิติของการดำเนินธุรกิจ ตั้งแต่การบริหารห่วงโซ่อุปทานที่มีประสิทธิภาพไปจนถึงการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนผ่านนโยบายการจ้างงานและการสนับสนุนผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น การดำเนินงานที่โปร่งใสและมีความรับผิดชอบช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนท้องถิ่นไปจนถึงการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจระดับประเทศ สะท้อนให้เห็นว่าการเติบโตทางธุรกิจและการพัฒนาอย่างยั่งยืนสามารถเดินหน้าไปพร้อมกันได้อย่างสมดุล สร้างสังคมคุณภาพ เชื่อมโยงทุกภาคส่วนสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน Singha Estate ได้นำเสนอมุมมองใหม่ของการพัฒนาสังคมที่เน้นการมีส่วนร่วมอย่างรอบด้าน ด้วยการบูรณาการนโยบายสังคมเข้ากับกลยุทธ์องค์กร ตั้งแต่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียไปจนถึงการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่น สะท้อนให้เห็นถึงโมเดลธุรกิจสมัยใหม่ที่ให้ความสำคัญกับการเติบโตควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน […]

สำรวจสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม 2566 สู่การเตรียมความพร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงในปี 2568

จากรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2566 เผยแพร่ในวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2567 โดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สะท้อนให้เห็นถึงประเด็นท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต ระบบนิเวศและความมั่นคงทางทรัพยากรของประเทศ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือและการบูรณาการจากทุกภาคส่วนเพื่อการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน “Sustainability is not a trend, it’s a must” สะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการดูแลและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทประเทศไทยที่ยังคงเผชิญความท้าทายอย่างต่อเนื่องในด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงขึ้น ความเสี่ยงจากภัยพิบัติ และปัญหามลพิษที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและคุณภาพชีวิตของประชาชน บทความนี้จะพาไปสำรวจภาพรวมสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมไทย พร้อมวิเคราะห์แนวโน้ม ผลกระทบ และแนวทางการแก้ไขที่ทุกภาคส่วนควรร่วมมือกัน สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ ค่าเฉลี่ยอุณหภูมิโลกเพิ่มสูงขึ้น 1.15 ± 0.13 องศาเซลเซียส โดยในปี พ.ศ. 2565 อุณหภูมิมีค่าเฉลี่ยทั้งปี 27.2 องศาเซลเซียส สูงกว่าค่าปกติ 0.1 องศาเซลเซียส ขณะที่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยเฉพาะในภาคพลังงานเพิ่มขึ้น 1.50% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า นอกจากนี้ ยังพบว่าปริมาณฝนรวมเฉลี่ย 2,011.9 มิลลิเมตร สูงกว่าค่าปกติร้อยละ 24 และระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น […]

รายงานการพัฒนาที่ยั่งยืนของแอฟริกา 2024: การเสริมสร้างวาระการพัฒนา 2030 และวาระ 2063

โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจแห่งสหประชาชาติสำหรับแอฟริกา (ECA) และธนาคารพัฒนาแอฟริกา (AfDB) ได้นำเสนอรายงานการพัฒนาที่ยั่งยืนของแอฟริกาประจำปี 2024 (ASDR) เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2024 ในงานที่จัดขึ้นคู่ขนานกับการประชุม UN High-Level Political Forum for Sustainable Development ที่นิวยอร์ก รายงานฉบับใหม่นี้มีข้อเสนอแนะสำคัญหลายประการ ได้แก่ การเพิ่มการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อการพัฒนาแบบผ่อนปรน การเสริมสร้างระบบข้อมูลสภาพภูมิอากาศและระบบเตือนภัยล่วงหน้า รวมถึงการปฏิรูปทางเศรษฐกิจ รายงานนี้ได้ทบทวนความก้าวหน้าของประเทศในแอฟริกาต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 5 ข้อและเป้าหมายย่อย 32 ข้อ เพื่อบรรลุวาระ 2030 และวาระสหภาพแอฟริกา 2063 โดยเป้าหมายที่ได้รับการทบทวนประกอบด้วย การขจัดความยากจน (เป้าหมายที่ 1) การขจัดความหิวโหย (เป้าหมายที่ 2) การต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (เป้าหมายที่ 13) การส่งเสริมสังคมที่สงบสุข (เป้าหมายที่ 16) และการเสริมสร้างความเข้มแข็งของความร่วมมือระดับโลก (เป้าหมายที่ 17) ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า แอฟริกามีแนวโน้มที่จะบรรลุเป้าหมายย่อยที่ประเมินในรายงานนี้น้อยกว่า 3 […]

การกำกับดูแล AI เพื่อมนุษยชาติ

รายงานฉบับนี้นำเสนอแนวทางในการจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับ AI และการแบ่งปันศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงในระดับโลก โดยมีประเด็นสำคัญคือ การเรียกร้องให้สหประชาชาติวางรากฐานสถาปัตยกรรมการกำกับดูแล AI แบบครอบคลุมและกระจายตัวระดับโลกเป็นครั้งแรก โดยอาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศ การเสนอข้อแนะนำ 7 ประการเพื่อแก้ไขช่องว่างในการกำกับดูแล AI ในปัจจุบัน และการเรียกร้องให้รัฐบาลและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายร่วมมือกันในการกำกับดูแล AI เพื่อส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนทั้งหมด รายงานยังรวมถึงกลไกเชิงสถาบันที่ยืดหยุ่นเพื่อเสริมความพยายามที่มีอยู่และส่งเสริมการจัดการกำกับดูแล AI ระดับโลกแบบครอบคลุม ที่มีความคล่องตัว ปรับตัวได้ และมีประสิทธิภาพเพื่อให้ทันกับวิวัฒนาการของ AI รายงานนี้เป็นผลจากการปรึกษาหารืออย่างกว้างขวาง โดยมีผู้เข้าร่วมมากกว่า 2,000 คนจากทุกภูมิภาคทั่วโลก ประกอบด้วยการอภิปรายเชิงลึก 18 ครั้งเกี่ยวกับประเด็นสำคัญกับผู้เชี่ยวชาญระดับสูง การประชุมปรึกษาหารือมากกว่า 50 ครั้งในทุกภูมิภาค และข้อเสนอที่เป็นลายลักษณ์อักษรมากกว่า 250 ฉบับจากองค์กรมากกว่า 150 แห่งและบุคคล 100 คน นอกจากนี้ คณะที่ปรึกษายังได้จัดทำการตรวจสอบความเสี่ยงด้าน AI ระดับโลก ซึ่งเป็นการสำรวจแนวโน้มความเสี่ยงด้าน AI ที่ครอบคลุมที่สุดจนถึงปัจจุบัน และการสำรวจโอกาสด้าน AI เพื่อรวบรวมการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับแนวโน้ม AI ที่กำลังเกิดขึ้น อ่านเอกสารฉบับเต็มได้ ที่นี่

สภาพัฒน์ลงพื้นที่จังหวัดสุโขทัยและพิษณุโลก ขับเคลื่อนการพัฒนาผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของวุฒิอาสาธนาคารสมองกับภาคีเครือข่าย

เมื่อวันที่ 9–11 มีนาคม 2565 นางสาวจินางค์กูร  โรจนนันต์ รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ร่วมด้วย นางสาววรวรรณ  พลิคามิน ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน นายวิชญ์พิพล  ติวะตันสกุล ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์การพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคม สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ พร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่  รวมทั้งวุฒิอาสาธนาคารสมองจังหวัดสุโขทัยและพิษณุโลก ได้ลงพื้นที่จังหวัดสุโขทัยและพิษณุโลก เพื่อหารือแนวทางการขับเคลื่อนงานแบบบูรณาการของวุฒิอาสาธนาคารสมอง ร่วมกับเครือข่ายมหาวิทยาลัยชีวิต สภาประชาสังคมไทย และชุมชนท้องถิ่น ที่ส่งเสริมการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนให้สามารถพึ่งพาตนเองและจัดการตนเองได้ โดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)  จังหวัดสุโขทัย ได้พูดคุยร่วมกับนายจินตศักดิ์ แสงเมือง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลไกรนอก หารือแนวทางการขับเคลื่อนงานแบบบูรณาการร่วมกับวุฒิอาสาฯ จ.สุโขทัย และผู้แทนศูนย์การเรียนรู้เพื่อปวงชน จังหวัดสุโขทัย พร้อมทั้งศึกษาดูงานศูนย์เรียนรู้นวัตกรรมกระบวนการเกษตรเพื่อสุขภาวะผู้สูงอายุ : แปลงสาธิตการเกษตรเพื่อผู้สูงอายุ และศูนย์เศรษฐกิจพอเพียงผู้ใหญ่กฐิน จังหวัดพิษณุโลก ร่วมพูดคุยกับนางสุดใจ  ชมภูมิ รองนายกเทศมนตรีตำบลไทรย้อย และวุฒิอาสาฯ จ.พิษณุโลกและผู้แทนศูนย์ประสานงานองค์กรภาคประชาสังคม จังหวัดพิษณุโลก ถึงกระบวนการขับเคลื่อนงานไปสู่การปฏิบัติที่นำไปสู่ชุมชนเข้มแข็งและจัดการตนเองได้ ณ บ้านผารังหมี ตำบลไทรย้อย อำเภอเนินมะปราง อีกทั้งได้เยี่ยมชมและศึกษาดูงานแหล่งเรียนรู้ ณ วิสาหกิจชุมชนสวนลุงเวทย์ อำเภอวัดโบสถ์ ต่อจากนั้นได้เข้าพบนายวิโรจน์  ยอดเพชร รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกร่าง คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ หารือในประเด็นการบริหารจัดการชุมชนท้องถิ่นที่นำไปสู่การสร้างความเข้มแข็งของชุมชน รวมทั้งการบริหารจัดการภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และได้เยี่ยมชมวิสาหกิจชุมชนศิลปะประดิษฐ์ […]

สภาพัฒน์จัดเวที Kick Off การขับเคลื่อน SDG LAB พื้นที่ขยายผล จังหวัดสมุทรสงคราม

เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม – 1 มิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา กองยุทธศาสตร์การพัฒนาความเสมอภาคความเท่าเทียมทางสังคม สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ “ขับเคลื่อน SDG LAB พื้นที่ขยายผล จังหวัดสมุทรสงคราม” ณ กนกรัตน์รีสอร์ท อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม เพื่อขยายพื้นที่การขับเคลื่อน SDG LAB ที่มีวุฒิอาสาธนาคารสมองเป็นกลไกบูรณาการขับเคลื่อนการพัฒนาในพื้นที่ โดยมีนางสาววรวรรณ พลิคามิน รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นประธานเปิดการประชุม และสำนักงานฯ ได้รับเกียรติจากนายศิริศักดิ์ ศิริมังคะลา รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม ร่วมกล่าวต้อนรับ การประชุมในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 80 คน ประกอบด้วย วุฒิอาสาธนาคารสมอง ภาคีเครือข่ายการพัฒนา ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาชน  กิจกรรมวันแรก มีการบรรยาย เรื่อง ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศกับวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยนายวิชญ์พิพล ติวะตันสกุล ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์การพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคม รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน กล่าวถึง การพัฒนาประเทศของไทยมียุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) เป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศระยะยาวที่ถ่ายระดับมายังแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ […]

สภาพัฒน์จัดประชุมนำเสนอผลการศึกษาขั้นต้น ระบบนิเวศที่เอื้อต่อการพัฒนา ความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคม

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ร่วมกับที่ปรึกษาจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบริษัทไรส์ อิมแพค จำกัด นำเสนอผลการศึกษาขั้นต้น ระบบนิเวศที่เอื้อต่อการพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคม เพื่อสร้างพื้นที่แลกเปลี่ยนข้อมูล องค์ความรู้ และความเห็นต่อร่างระบบนิเวศฯ ในบริบทของประเทศไทย รวมทั้งรับฟังความเห็นต่อข้อเสนอแนะชุดนโยบายเพื่อพัฒนาระบบนิเวศฯ และการพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับบูรณาการความร่วมมือและการแบ่งปันทรัพยากรระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายขับเคลื่อนการลดความเหลื่อมล้ำ และนำไปสู่สังคมแห่งโอกาสและเป็นธรรม ตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทฯ ที่เกี่ยวข้อง และแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13  เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพฯ นางสาววรวรรณ พลิคามิน รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นประธานเปิดการประชุมนำเสนอผลการศึกษาขั้นต้น ระบบนิเวศที่เอื้อต่อการพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคม โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 100 คน ประกอบด้วย วิทยากรและผู้ทรงคุณวุฒิร่วมวิพากษ์ผลการศึกษา คณะอนุกรรมการด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม สศช. ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ภาควิชาการ และภาคประชาสังคมที่มีบทบาทขับเคลื่อนการสร้างสังคมที่เสมอภาคและเท่าเทียม โดยรองเลขาธิการฯ กล่าวว่า นโยบายการลดความเหลื่อมล้ำที่ผ่านมามีลักษณะแยกส่วนและมุ่งเน้นแก้ไขปัญหาที่ระดับบุคคลเป็นหลัก ขาดมุมมองในเชิงระบบและโครงสร้าง ทำให้เกิดช่องว่างในการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานและภาคีที่เกี่ยวข้อง สภาพัฒน์จึงร่วมกับที่ปรึกษาจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ […]

สภาพัฒน์ ร่วมกับมูลนิธิพัฒนาไท จัดประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแนวทางการขับเคลื่อนภาคตะวันออกยั่งยืน มุ่งสร้างสังคมเสมอภาคและเท่าเทียม

เมื่อวันที่ 25 – 26 กรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา กองยุทธศาสตร์การพัฒนาความเสมอภาคความเท่าเทียมทางสังคม สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ร่วมกับมูลนิธิพัฒนาไท (มพท.) จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ “จัดทำแนวทางการขับเคลื่อนภาคตะวันออกยั่งยืน มุ่งสร้างสังคมเสมอภาคและเท่าเทียม” ณ ทวาราวดี รีสอร์ท อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 เป้าหมายและแนวทางการพัฒนาภาค พ.ศ. 2566-2570 รวมทั้งถอดรหัสองค์ประกอบสำคัญในการขับเคลื่อน SDG LAB ภาคตะวันออก ที่ทำให้เกิดระบบนิเวศที่เอื้อต่อการสร้างพลังความร่วมมือในการพัฒนาพื้นที่ โดยมีนางสาววรวรรณ พลิคามิน รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นประธานเปิดการประชุม และสำนักงานฯ ได้รับเกียรติจากนางพัชรี ศาลาศิลป์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี ร่วมกล่าวต้อนรับ ซึ่งการประชุมในครั้งนี้มีการแสดงรำย้อนยุคเพื่อสุขภาพ โดยสมาชิกกลุ่มผู้สูงอายุ เครือข่ายสุขภาวะ จังหวัดปราจีนบุรี และมีการจัดนิทรรศการ “เปิดเส้นทางความยั่งยืน วิถีตะวันออก วิถีแห่งความสุข” โดยวุฒิอาสาฯ และเครือข่ายการพัฒนา 8 จังหวัดภาคตะวันออก เป็นผู้นำเสนอ กิจกรรมวันแรก  ช่วงเช้ามีการบรรยาย […]

1 3 4 5 20