เด็กและสตรีมีครรภ์ในวงจรขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-waste)
“จากโทรทัศน์เก่าที่ถูกทิ้งไปจนถึงโทรศัพท์ที่หมดอายุการใช้งาน ปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกกำลังเพิ่มขึ้นในระดับที่น่าวิตก ผลการศึกษาวิจัยล่าสุดชี้ให้เห็นว่าความท้าทายจากขยะอิเล็กทรอนิกส์กำลังทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น โดยที่ปัจจุบันมีเพียงไม่ถึงครึ่งหนึ่งของประเทศทั่วโลกที่มีการนำนโยบายจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์มาบังคับใช้อย่างเป็นรูปธรรม สถานการณ์นี้เป็นสัญญาณเตือนถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการพัฒนากฎระเบียบที่มีประสิทธิภาพเพื่อส่งเสริมกระบวนการจัดเก็บและรีไซเคิล รายงาน Global E-waste Monitor ช่วยให้เราสามารถติดตามพัฒนาการอย่างต่อเนื่องและกำหนดทิศทางการตัดสินใจสำคัญในการขับเคลื่อนสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์” – Cosmas Luckyson Zavazava ในยุคที่เทคโนโลยีดิจิทัลก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ขยะอิเล็กทรอนิกส์หรือ E-waste ได้กลายเป็นหนึ่งในปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ท้าทายที่สุดของศตวรรษที่ 21 แต่มีขยะอิเล็กทรอนิกส์เพียง 22.3% เท่านั้นที่ได้รับการจัดการอย่างถูกต้องผ่านกระบวนการรีไซเคิล สะท้อนให้เห็นถึงช่องว่างและความท้าทายในการจัดการขยะประเภทนี้อย่างมีประสิทธิภาพ ขยะอิเล็กทรอนิกส์ไม่เพียงแต่เป็นภัยคุกคามต่อสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังเป็นแหล่งทรัพยากรที่มีค่าซึ่งสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ หากมีการจัดการอย่างเหมาะสม จึงเป็นโอกาสสำคัญสำหรับชุมชนและผู้ประกอบการในการสร้างรายได้จากการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะในประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง ที่ขาดการบังคับใช้กฎหมายที่เหมาะสม ขาดโครงสร้างพื้นฐานและความรู้ด้านการรีไซเคิลที่ปลอดภัย ท่ามกลางสถานการณ์ดังกล่าว การสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับผลกระทบของการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่เหมาะสม และการส่งเสริมแนวปฏิบัติที่ยั่งยืนในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ จึงเป็นกุญแจสำคัญในการบรรเทาผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม บทความนี้จะสำรวจสถานการณ์ปัจจุบันของขยะอิเล็กทรอนิกส์ ผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนเสนอแนวทางจัดการอย่างยั่งยืนที่สามารถสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจและการปกป้องสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน ขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-waste) กำลังเพิ่มขึ้นในอัตราที่เร็วกว่าการรีไซเคิลถึง 5 เท่า ตามข้อมูลจากรายงาน Global E-waste Monitor (GEM) ฉบับที่ 4 ซึ่งจัดทำโดยสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) และสถาบันเพื่อการฝึกอบรมและวิจัยแห่งสหประชาชาติ (UNITAR) ระบุว่า ในปี 2022 ทั่วโลกมีขยะอิเล็กทรอนิกส์มากถึง 62 […]